พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. ทุติยวัตถุกถาสูตร ว่าด้วยฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39824
อ่าน  344

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 220

ทุติยปัณณาสก์

ยมกวรรคที่ ๒

๑๐. ทุติยวัตถุกถาสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 220

๑๐. ทุติยวัตถุกถาสูตร

ว่าด้วยฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ ประการ

[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นจำนวนมากกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตนั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือสนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เสด็จไปยังหอฉัน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ก็แหละกถาอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนาค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตนั่งประชุมกันที่หอฉัน สนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือสนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อม พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายสนทนาดิรัจฉานกถาเป็นอันมาก คือสนทนาเรื่องพระราชา เรื่องโจร ฯลฯ เรื่องความเจริญและความเสื่อมนี้ ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 221

เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้ ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้ ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความปรารถนาน้อยและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สันโดษและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สันโดษและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สันโดษแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สงัดและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สงัดและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สงัดแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะและกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะและกล่าวกถาปรารภความไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียรและกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ปรารภความเพียรและกล่าวกถาปรารภความเพียรแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมาธิแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและกล่าวกถาปรารภความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 222

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ตนเองเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะและกล่าวกถาปรารภความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะแก่ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะควรสรรเสริญ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะที่ควรสรรเสริญ ๑๐ อย่างนี้แล.

จบทุติยวัตถุกถาสูตรที่ ๑๐

จบยมกวรรคที่ ๒

อรรถกถาทุติยวัตถุกถาสูตรที่ ๑๐

ทุติยวัตถุกถาสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปาสํสานิ านานิ ได้แก่ เหตุที่นำความสรรเสริญมาให้. คำที่เหลือทุกแห่ง มีใจความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยวัตถุกถาสูตรที่ ๑๐

จบยมกวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อวิชชาสูตร ๒. ตัณหาสูตร ๓. นิฎฐาสูตร ๔. อเวจจสูตร ๕. ปฐมสุขสูตร ๖. ทุติยสุขสูตร ๗. ปฐมนฬกปานสูตร ๘. ทุติยนฬกปานสูตร ๙. ปฐมวัตถุกถาสูตร ๑๐. ทุติยวัตถุกถาสูตร.