พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. อากังขสูตร ว่าด้วยภิกษุสําเร็จความหวังเพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39825
อ่าน  621

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 223

ทุติยปัณณาสก์

อากังขวรรคที่ ๓

๑. อากังขสูตร

ว่าด้วยภิกษุสําเร็จความหวังเพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 223

อากังขวรรคที่ ๓

๑. อากังขสูตร

ว่าด้วยภิกษุสำเร็จความหวังเพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้น

[๗๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นที่รัก ที่ชอบใจ ที่เคารพและที่ยกย่องของสพรหมจารีทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารทั้งหลายไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 224

ด้วยความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราบริโภคจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารของชนเหล่าใด ขอสักการะของชนเหล่านั้นพึงมีผลมากมีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็น ผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า ญาติสาโลหิตเหล่าใด ผู้ละไปแล้ว กระทำกาละแล้วมีจิตเลื่อมใส ย่อมตามระลึกถึง ขอการระลึกถึงแห่งญาติสาโลหิตเหล่านั้นพึงมีผลมากมีอานิสงส์มากไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขารตามมีตามได้ไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว ระหาย เหลือบ ยุง ลม แดดและสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน ถ้อยคำอันหยาบช้า พึงเป็นผู้อดกลั้นต่อทุกขเวทนาอันมีในสรีระที่เกิดขึ้นแล้ว กล้าแข็ง เผ็ดร้อน อันไม่ชื่นใจ ไม่พอใจ อันนำชีวิตไปไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้เป็นผู้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำความไม่ยินดีและความยินดี และขอความไม่ยินดีและความยินดีไม่พึงครอบงำเรา เราพึงครอบงำความไม่ยินดีและความยินดีอันเกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียว และขอภัยความหวาดเสียวไม่พึงครอบงำเราได้

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 225

เราพึงเป็นผู้ครอบงำภัยและความหวาดเสียวที่เกิดขึ้นแล้วอยู่ไซร้ ภิกษุนั้น พึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันมีในจิตยิ่ง เป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันไซร้ ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฯลฯ เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราพึงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะไม่ได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไซร้ ภิกษุเหล่านั้นพึงเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ประกอบความสงบใจในภายใน ไม่เหินห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่เรือนว่างเปล่าเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยปาติโมกข์อยู่เถิด จงเป็นผู้สำรวมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่เถิด จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษทั้งหลายอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดังนี้ เรา อาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

จบอากังขสูตรที่ ๑

อากังขวรรคที่ ๓

อรรถกถาอากังขสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ อากังขสูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ ผู้มีศีลบริบูรณ์ อธิบายว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีล. ในคำว่า สมฺปนฺนสีลา นี้ ความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ ย่อม

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 226

มีได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยการเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ และด้วยการเห็นคุณแห่งศีลสมบัติ เหตุแม้ทั้งสองนั้น ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺปนฺนสีลา พระสุมัตเถระ ผู้อยู่วัดทีปวิหารกล่าวว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกจาตุปาริสุทธิศีลขึ้น ทรงแสดงศีลที่สำคัญให้พิสดารในที่นั้น ด้วยบทว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุตา นี้. ส่วน พระจูฬนาคเถระ ผู้ทรงพระไตรปิฎกอันเตวาสิกของท่านกล่าวว่า แม้ในบททั้งสองพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสปาติโมกขสังวร ด้วยว่าปาติโมกขสังวรนั่นแลคือศีล ส่วนอีก ๓ ก็เป็นศีล เหตุนั้น จึงกล่าวไม่เห็นด้วยว่า ชื่อฐานะที่กล่าวแล้วมีอยู่ แล้วกล่าวว่า เพียงรักษาทวาร ๖ เท่านั้น ก็ชื่อว่า อินทริยสังวรศีล เพียงทำปัจจัยให้เกิดขึ้นโดยธรรมโดยชอบ ก็ชื่อว่า อาชีวปาริสุทธิศีล. เพียงพิจารณาในปัจจัยที่ได้แล้วว่า นี้มีอยู่แล้วบริโภค ก็ชื่อว่าปัจจยสันนิสสิตศีล โดยตรงปาติโมกขสังวรเท่านั้นชื่อว่าศีล ปาฏิโมกขสังวรของภิกษุใดขาดแล้ว. ภิกษุนี้ไม่พึงถูกกล่าวว่าจักรักษาศีลที่เหลือได้ เหมือนบุรุษศีรษะขาดแล้ว จะรักษามือเท้าไว้ได้. ส่วนปาติโมกขสังวรของภิกษุใดไม่เสีย ภิกษุนี้ก็อาจทำศีลที่เหลือให้เป็นปกติได้อีก เหมือนบุรุษศีรษะไม่ขาด ก็รักษาชีวิตไว้ได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกปาติโมกขสังวรด้วยบทว่า สมฺปนฺนสีลา นี้แล้ว ตรัสคำไวพจน์ของบทว่า สมฺปนฺนสีลา นั้นนั่นแลว่า สมฺปนฺนปาฏิโมกฺขา เมื่อทรงแสดงบทว่า สมฺปนฺนปาฏิโมกฺขา นั้นให้พิสดาร จึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุตา เป็นต้น คำว่า ปาฏิโมกฺขสํวรสํวุตา เป็นต้นในคำนั้น มีใจความที่กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

ถามว่า เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มว่า ถ้าภิกษุพึงจำนง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 227

ดังนี้. ตอบว่า เพื่อทรงแสดงอานิสงส์แห่งศีล. จริงอยู่ ถ้าภิกษุพวกบวชใหม่หรือผู้มีปัญญาทราม จะพึงคิดอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งสอนว่า พวกเธอจงบำเพ็ญศีล จงบำเพ็ญศีล อะไรหนอ เป็นอานิสงส์ อะไรเป็นคุณพิเศษ อะไรเป็นความเจริญในการบำเพ็ญศีล. ตรัสอย่างนี้ ก็เพื่อทรงแสดงอานิสงส์ ๑๐ ประการแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ถ้ากระไรภิกษุเหล่านั้น แม้ฟังอานิสงส์ ซึ่งมีความเป็นที่รักเป็นที่พอใจของเหล่าเพื่อนพรหมจารีเป็นเบื้องต้น มีความสิ้นอาสวะเป็นเบื้องปลายแล้ว จะพึงทำศีลให้บริบูรณ์. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากงฺเขยฺย เจ ได้แก่ ผิว่าพึงปรารถนา. บทว่า ปิโย จสฺสํ ได้แก่ พึงเป็นผู้ที่เพื่อนพรหมจารีมองดูด้วยสายตาน่ารัก พึงมีการบำรุงโดยเกิดความรัก. บทว่า มนาโป ได้แก่ เป็นที่เจริญใจแห่งเพื่อนพรหมจารีเหล่านั้น หรือใจของเพื่อนพรหมจารีเหล่านั้นจดจ่อถึง อธิบายว่า อันเพื่อนพรหมจารีแผ่ถึงด้วยเมตตาจิต. บทว่า ครุ ได้แก่ เป็นที่ตั้งแห่งความหนัก (เคารพ) แห่งเพื่อนพรหมจารีเสมือนฉัตรหิน. บทว่า ภาวนีโย ได้แก่ อันเพื่อนพรหมจารีชมเชยอย่างนี้ว่า ท่านย่อมรู้ข้อที่ควรรู้ เห็นข้อที่ควรเห็นมานาน. บทว่า สีเล เสฺววสฺส ได้แก่ พึงเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในจตุปาริสุทธิศีล ท่านอธิบายว่า พึงเป็นผู้ประกอบด้วยการกระทำอันไม่พร่อง คือบริบูรณ์.

บทว่า อชฺฌตฺตํ เจโตสมถมนุยุตฺโต ได้แก่ ประกอบในความสงบจิตของตน. บทว่า อนิรากตชฺฌาโน ได้แก่ มีฌานอันไม่ถูกนำออกภายนอก หรือมีฌานอันไม่เสียหายแล้ว. บทว่า วิปสฺสนาย ได้แก่ อนุปัสสนา ๗ อย่าง. บทว่า พฺรูเหตา สุฺาคารานํ ได้แก่ เพิ่มพูนสุญญาควรเรือนว่าง. ก็ในคำว่า พฺรูเหตา สุญฺญาคารานํ นี้ ภิกษุรับกรรมฐาน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 228

จะโดยเป็นสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน เข้าไปยังสุญญาคารนั่งอยู่ตลอดทั้งวันทั้งคืน พึงทราบว่า เป็นผู้เพิ่มพูนสุญญาคาร. นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. ส่วนความพิสดาร ผู้ประสงค์จะพึงดูได้ในวรรณนาอากังเขยยสูตร อรรถกถามัชฌิมนิกาย.

ในบทว่า ลาภี พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสความบริบูรณ์ในคุณมีศีลเป็นต้น เป็นนิมิตแห่งลาภ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงสอนสาวกทั้งหลายอย่างนี้ว่า มุนีเป็นประหนึ่งตัดถ้อยคำอันแสวงหาอาหารเสียแล้ว ไม่พึงกล่าวปยุตตวาจาแสวงหาอาหาร. ภิกษุนั้น จักกล่าวเรื่องความบริบูรณ์ในคุณมีศีลเป็นต้น เป็นนิมิตแห่งลาภได้อย่างไร. ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยของบุคคล. แท้จริง ภิกษุเหล่าใด จะพึงมีอัธยาศัยอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยเท่านั้น ของภิกษุเหล่านั้นที่ว่า ถ้าเราไม่พึงลำบากด้วยปัจจัย ๔ ไซร้ เราก็จะพึงนำศีลทั้งหลายให้บริบูรณ์ได้. อนึ่ง ชื่อว่าปัจจัย ๔ เป็นอานิสงส์พร้อมทั้งกิจคือหน้าที่ของศีล จริงอย่างนั้น ผู้คนที่เป็นบัณฑิต นำทรัพย์ที่เก็บไว้ในคลังเป็นต้นออกมา มิใช่บริโภคแม้ด้วยตนเอง ย่อมถวายเหล่าท่านผู้มีศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ ก็เพื่อทรงแสดงอานิสงส์พร้อมทั้งกิจคือหน้าที่ของศีล.

ในวาระที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. คำว่า เยสาหํ ตัดบทว่า เยสํ อหํ. บทว่า เตสนฺเต การา ความว่า ขอสักการะ คือปัจจยทานที่เหล่าเทวดาหรือมนุษย์ทำในเราเหล่านั้น จงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เหตุนั้น สักการะเหล่านั้น ชื่อว่ามีผลมาก ก็โดยผลที่เป็นโลกิยสุข ชื่อว่ามีอานิสงส์มาก ก็โดยผลที่เป็นโลกุตรสุข. อีกนัยหนึ่ง คำทั้งสอง

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 229

นี้ ก็มีใจความอย่างเดียวกันนั่นเอง. ภิกษาทัพพีหนึ่งก็ดี บรรณศาลาที่เขาสร้างบนเนื้อที่เพียง ๔ ศอกก็ดี ที่เขาถวายแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ย่อมป้องกันจากทุคติวินิบาตได้หลายพันกัป ยังจะเป็นปัจจัยแก่อมตธาตุ คือพระนิพพานในที่สุดด้วย. ก็คำมีว่า ขีโรทนํ อหมทาสิํ เป็นต้น เป็นเรื่องตัวอย่างในคำนี้. หรือทั้งเปตวัตถุ เรื่องเปรต ทั้งวิมานวัตถุ เรื่องวิมาน เป็นเครื่องสาธกได้ทั้งสิ้น.

ในวาระที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. บทว่า เปตา ได้แก่ ผู้ไปสู่ภพมัจจุราช. บทว่า าติ ได้แก่ ฝ่ายพ่อผัวแม่ผัว. บทว่า สาโลหิตา ได้แก่ เนื่องด้วยสายเลือดเดียวกัน มีปู่เป็นต้น. บทว่า กาลกตา ได้แก่ ตาย. บทว่า เตสนฺตํ ได้แก่ จิตที่เลื่อมใสในเรานั้น หรือความระลึกถึงด้วยทั้งจิตที่เลื่อมใสนั้นของญาติสาโลหิตเหล่านั้น. จริงอยู่ บิดาหรือมารดาของภิกษุใด ทำกาละมีจิตเลื่อมใสว่า พระเถระญาติของพวกเราเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ระลึกถึงภิกษุนั้น ความเลื่อมใสแห่งจิตนั้นก็ดี เพียงความระลึกถึงนั้นก็ดี ของบุคคลนั้นย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มากทั้งนั้น.

บทว่า อรติรติสโห ได้แก่ เป็นผู้อดทน ครอบงำ ท่วมทับ ความไม่ยินดีในเนกขัมมปฏิบัติ และความยินดีในกามคุณทั้งหลาย. ในบทว่า ภยเภรวสโห นี้ ความสะดุ้งจิตก็ดี อารมณ์ก็ดี ชื่อว่า ภัย อารมณ์อย่างเดียว ชื่อ เภรวะ.

จบอรรถกถาอากังขสูตรที่ ๑