พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. อิฏฐสูตร ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39827
อ่าน  454

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 232

ทุติยปัณณาสก์

อากังขวรรคที่ ๓

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 232

๓. อิฏฐสูตร

ว่าด้วยธรรม ๑๐ ประการที่น่าปรารถนา หาได้ยากในโลก

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ๑๐ ประการเป็นไฉน คือโภคสมบัติ ๑ วรรณะ ๑ ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑ พรหมจรรย์ ๑ มิตร ๑ ความเป็นพหูสูต ๑ ปัญญา ๑ ธรรม ๑ สัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล เป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการเป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือความเกียจคร้าน ความไม่ขยันหมั่นเพียร เป็นอันตรายแก่โภคสมบัติ ๑ การไม่ประดับ การไม่ตกแต่งร่างกาย เป็นอันตรายแก่วรรณะ ๑ การกระทำสิ่งไม่เป็นที่สบาย เป็นอันตรายแก่ความไม่มีโรค ๑ ความเป็นผู้ไม่มีมิตรดี เป็นอันตรายแก่ศีลทั้งหลาย ๑ การไม่สำรวมอินทรีย์ เป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ ๑ การแกล้งกล่าวให้คลาดเคลื่อนจากความจริง เป็นอันตรายแก่มิตรทั้งหลาย ๑ การไม่ทำการสาธยาย เป็นอันตรายแก่ความเป็นพหูสูต ๑ การไม่ฟังด้วยดี ไม่สอบถาม เป็นอันตรายแก่ปัญญา ๑ การไม่ประกอบ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 233

ความเพียร การไม่พิจารณา เป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย ๑ การปฏิบัติผิด เป็นอันตรายแก่สัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่ธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรม อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก คือความไม่เกียจคร้าน ความขยันหมั่นเพียร เป็นอาหารของโภคสมบัติ ๑ การประดับ การตกแต่งร่างกาย เป็นอาหารของวรรณะ ๑ การกระทำสิ่งเป็นที่สบาย เป็นอาหารของความไม่มีโรค ๑ ความเป็นผู้มีมิตรดี เป็นอาหารของศีลทั้งหลาย ๑ การสำรวมอินทรีย์ เป็นอาหารของพรหมจรรย์ ๑ การไม่แกล้งกล่าวให้คลาดจากความจริง เป็นอาหารของมิตรทั้งหลาย ๑ การกระทำการสาธยาย เป็นอาหารของความเป็นพหูสูต ๑ การฟังด้วยดี การสอบถาม เป็นอาหารของปัญญา ๑ การประกอบความเพียร การพิจารณา เป็นอาหารของธรรมทั้งหลาย ๑ การปฏิบัติชอบ เป็นอาหารของสัตว์ทั้งหลาย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ เป็นอาหารของธรรม ๑๐ ประการนี้แล ซึ่งเป็นธรรมอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ หาได้ยากในโลก.

จบอิฏฐสูตรที่ ๓

อรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓

อิฏฐสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 234

บทว่า อญฺโ ได้แก่ วรรณะแห่งสรีระ. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โลกุตรธรรม ๙.

จบอรรถกถาอิฏฐสูตรที่ ๓