พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. อภัพพสูตร ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีอยู่ในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39830
อ่าน  416

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 244

ทุติยปัณณาสก์

อากังขวรรคที่ ๓

๖. อภัพพสูตร

ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีอยู่ในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 244

๖. อภัพพสูตร

ว่าด้วยธรรม ๓ ประการมีอยู่ในโลก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ๓ ประการเป็นไฉน คือชาติ ๑ ชรา ๑ มรณะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ นี้แลไม่พึงมีในโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่พึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยอันพระตถาคตทรงประกาศไว้แล้วไม่พึงรุ่งเรืองในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรม ๓ ประการนี้มีอยู่ในโลก ฉะนั้น พระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 245

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงบังเกิดในโลก ธรรมวินัยที่พระตถาคตทรงประกาศไว้จึงรุ่งเรืองในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 246

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความทุศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการแล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความไม่มีหิริ ๑ ความไม่มีโอตตัปปะ ๑ ความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว ก็ไม่อาจละความไม่เอื้อเฟื้อ ความ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 247

เป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่มีความละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เป็นผู้ประมาท ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มีมิตรชั่ว ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้เกียจคร้าน ก็ไม่อาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้ทุศีล ก็ไม่อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ก็ไม่อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ก็ไม่อาจละความกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตหดหู่ ก็ไม่อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้มีวิจิกิจฉา ก็ไม่อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลไม่ละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็ไม่อาจละชาติ ชรา มรณะได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละชาติ ชรา มรณะได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือราคะ ๑ โทสะ ๑ โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละชาติ ชรา มรณะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือสักกายทิฏฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพพตปรามาส ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละราคะ โทสะ โมหะได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 248

ได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือการกระทำไว้ใจโดยอุบายไม่แยบคาย ๑ การเสพทางผิด ๑ ความหดหู่แห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้มีสติหลงลืม ๑ ความไม่มีสัมปชัญญะ ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายไม่แยบคาย การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ๑ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความฟุ้งซ่าน ๑ ความไม่สำรวม ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็น

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 249

ผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ๑ ความเกียจคร้าน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการแล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ ความเป็นผู้ว่ายาก ๑ ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ๓ ประการเป็นไฉน คือความเป็นผู้ไม่มีความละอาย ๑ ความเป็นผู้ไม่มีความเกรงกลัว ๑ ความประมาท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลละธรรม ๓ ประการนี้แล้ว จึงอาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความละอาย มีความเกรงกลัว ไม่ประมาทอยู่ ก็อาจละความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มีมิตรชั่วได้ บุคคลเป็นผู้มีมิตรดี ก็อาจจะละความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ความเป็นผู้ไม่รู้ความประสงค์ ความเกียจคร้านได้ บุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร ก็อาจละความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน ความไม่สำรวม ความเป็นผู้ทุศีลได้ บุคคลเป็นผู้มีศีล ก็อาจละความเป็นผู้ไม่ใคร่เห็นพระอริยะ ความเป็นผู้ไม่ใคร่ฟังธรรมของพระอริยะ ความเป็นผู้มีจิตคิดแข่งดีได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่คิดแข่งดี ก็อาจละความเป็นผู้มีสติหลงลืม ความไม่มีสัมปชัญญะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตอันไม่ฟุ้งซ่าน ก็อาจละการกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันไม่แยบคาย

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 250

การเสพทางผิด ความหดหู่แห่งจิตได้ บุคคลเป็นผู้มีจิตไม่หดหู่ ก็อาจละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสได้ บุคคลเป็นผู้ไม่มีวิจิกิจฉา ก็อาจละราคะ โทสะ โมหะได้ บุคคลละราคะ โทสะ โมหะแล้ว ก็อาจละชาติ ชรา มรณะได้.

จบอภัพพสูตรที่ ๖

อรรถกถาอภัพพสูตรที่ ๖

อภัพพสูตรที่ ๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอภัพพสูตรที่ ๖