พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. กากสูตร ว่าด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39831
อ่าน  330

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 250

ทุติยปัณณาสก์

อากังขวรรคที่ ๓

๗. กากสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 250

๗. กากสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้มักขจัด ๑ คะนอง ๑ ทะเยอทะยาน ๑ กินจุ ๑ หยาบช้า ๑ ไม่มีกรุณา ๑ ไม่แข็งแรง ๑ มักร้อง ๑ เผลอสติ ๑ สั่งสม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกก็ประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการ ฉันนั้นเหมือนกันแล ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ขจัด ๑ คึกคะนอง ๑ ทะเยอทะยาน ๑ กินจุ ๑ หยาบช้า ๑ ไม่มีกรุณา ๑ ไม่แข็งแรง ๑ มักร้อง ๑ เผลอสติ ๑ สั่งสม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ลามกประกอบด้วยอสัทธรรม ๑๐ ประการนี้แล.

จบกากสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 251

อรรถกถากากสูตรที่ ๗

กากสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ธํสี ได้แก่ ผู้กำจัดคุณ ไม่เอื้อถึงคุณของใครๆ แม้เขาเอามือจับก็กำจัดเสีย ยังถ่ายอุจจาระรดบนศีรษะ. บทว่า ปคพฺโภ ได้แก่ ประกอบด้วยความคะนอง ไร้ยางอาย. ตัณหาความอยาก ท่านเรียกว่า ตินติณะ ในบทว่า ตินฺติโณ ประกอบด้วยความอยากนั้น หรือมากด้วยความน่ารังเกียจ. บทว่า ลุทฺโท แปลว่า หยาบช้า. บทว่า อการุณิโก แปลว่า ไร้กรุณา. บทว่า ทุพฺพโล ได้แก่ ไม่มีกำลังมีแรงน้อย. บทว่า โอรวิตา ได้แก่ บินไปร้องไป. บทว่า เนจยิโก ได้แก่ ทำการสะสม.

จบอรรถกถากากสูตรที่ ๗