พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. อานันทสูตร ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ จักเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39836
อ่าน  346

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 256

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๒. อานันทสูตร

ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ จักเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 256

๒. อานันทสูตร

ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ จักเจริญงอกงามในธรรมวินัยนี้

[๘๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้ไม่มีศรัทธา จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ภิกษุเป็นผู้ทุศีล ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีการสดับน้อย ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้ว่ายาก ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีมิตรชั่ว ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้เกียจคร้าน ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีสติเลอะเลือน ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้ไม่สันโดษ ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นผิด จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 257

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา จักถึงความงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้จึงเป็นฐานะที่มีได้ ภิกษุเป็นผู้มีศีล ฯลฯ ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้ว่าง่าย ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีมิตรดีงาม ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้สันโดษ ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ฯลฯ ภิกษุเป็นผู้มีความเห็นชอบ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้จึงเป็นฐานะที่มีได้ ดูก่อนอานนท์ ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้.

จบอานันทสูตรที่ ๒

อรรถกถาอานันทสูตรที่ ๒

อานันทสูตรที่ ๒ มีเนื้อความง่ายเหมือนกัน.

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๒