พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. ปุณณิยสูตร ว่าด้วยธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ แจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยส่วนเดียว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39837
อ่าน  349

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 257

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๓. ปุณณิยสูตร

ว่าด้วยธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ แจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยส่วนเดียว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 257

๓. ปุณณิยสูตร

ว่าด้วยธรรมเทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ แจ่มแจ้งแก่พระตถาคตโดยส่วนเดียว

[๘๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัยเครื่องให้พระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งกะพระตถาคตในกาลบาง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 258

คราว ไม่แจ่มแจ้งในกาลบางคราว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุณณิยะ ภิกษุมีศรัทธา แต่ไม่เข้าไปหา พระธรรมเทศนาจึงไม่แจ่มแจ้งกะพระตถาคตก่อน แต่ในกาลใด ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา ในกาลนั้น พระธรรมเทศนาจึงจะแจ่มแจ้งกะพระตถาคต ดูก่อนปุณณิยยะ ภิกษุมีศรัทธาและเข้าไปหา แต่ไม่เข้านั่งใกล้ ฯลฯ เข้านั่งใกล้ แต่ไม่สอบถาม ฯลฯ สอบถาม แต่ไม่เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฯลฯ เงี่ยโสตลงฟังธรรม แต่ฟังแล้ว ไม่ทรงจำธรรมไว้ ฯลฯ ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ แต่ไม่พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ควรจำไว้ ฯลฯ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ แต่ไม่เป็นผู้รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ฯลฯ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำ ไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง ฯลฯ เป็นผู้มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง แต่ไม่เป็นผู้ชี้แจงเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง พระธรรมเทศนาจึงไม่แจ่มแจ้งกะพระตถาคตก่อน ดูก่อนปุณณิยะ แต่ในกาลใด ภิกษุเป็นผู้มีศรัทธา เข้าไปหา เข้านั่งใกล้ สอบถาม เงี่ยโสตลงฟังธรรม ฟังแล้วทรงจำธรรมไว้ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม มีวาจางาม เจรจาถ้อยคำไพเราะ สละสลวย ไม่หยาบคาย ให้รู้เนื้อความได้แจ่มแจ้ง เป็นผู้ชี้แจงเพื่อนพรหมจรรย์ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ในกาลนั้น พระธรรมเทศนาจึงแจ่มแจ้งกะพระตถาคต ดูก่อนปุณณิยะ พระธรรม-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 259

เทศนาประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล จึงแจ่มแจ้งกะพระตถาคตโดยส่วนเดียว.

จบปุณณิยสูตรที่ ๓

อรรถกถาปุณณิยสูตรที่ ๓

ในปุณณิยสูตรที่ ๓ บทว่า โน จ ปยิรูปาสิตา แปลว่า ไม่บำรุง.

จบอรรถกถาปุณณิยสูตรที่ ๓