พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อธิกรณสูตร ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39841
อ่าน  351

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 269

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๗. อธิกรณสูตร

ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 269

๗. อธิกรณสูตร

ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

[๘๗] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภพระกาฬกภิกขุ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 270

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ ไม่กล่าวสรรเสริญการระงับอธิกรณ์ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ก่ออธิกรณ์ ไม่กล่าวสรรเสริญการระงับอธิกรณ์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ไม่กล่าวสรรเสริญการสมาทานในการศึกษา แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา ไม่กล่าวสรรเสริญการสมาทานในการศึกษานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความปรารถนา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความปรารถนานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มักโกรธ ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มักโกรธ ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโกรธนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความลบหลู่นี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดความ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 271

โอ้อวดนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีมายา ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดมายา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีมายา ไม่กล่าวสรรเสริญการกำจัดมายานี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้เพ่งเล็งธรรมทั้งหลาย ไม่กล่าวสรรเสริญการเพ่งเล็งธรรม แม้ข้อภิกษุไม่เป็นผู้เพ่งเล็งธรรมทั้งหลาย ไม่กล่าวสรรเสริญการเพ่งเล็งธรรมนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ ไม่กล่าวสรรเสริญการหลีกออกเร้น แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ ไม่กล่าวสรรเสริญการหลีกออกเร้นนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่เป็นผู้กระทำการปฏิสันถารเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำปฏิสันถาร แม้ข้อที่ภิกษุไม่กระทำการปฏิสันถารเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ไม่กล่าวสรรเสริญการกระทำปฏิสันถารนี้ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาพึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนี้อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ดังนี้ แม้ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ไม่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 272

สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู ย่อมพิจารณาเห็นซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกที่ยังละไม่ได้ของเธอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาพึงบังเกิดขึ้นแก่ม้าตัวโง่เขลาอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอมนุษย์ทั้งหลายพึงตั้งเราไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนยเถิด พึงให้เรากินอาหารสำหรับม้าอาชาไนยเถิด และพึงขัดสีเราให้เหมือนม้าอาชาไนยเถิด ดังนี้ แม้ถึงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ไม่ตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ไม่ให้กินอาหารเหมือนม้าอาชาไนย ไม่ขัดสีให้เหมือนม้าอาชาไนย ข้อนี้เพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญูพิจารณาเห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ตรง ความคด ซึ่งยังละไม่ได้ของม้านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาพึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนั้นอย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ดังนี้ แม้ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็ไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู ย่อมพิจารณาเห็นอกุศลธรรมอันลามกซึ่งยังละไม่ได้ของภิกษุนั้น ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ก่ออธิกรณ์ กล่าวสรรเสริญการระงับอธิกรณ์ แม้ข้อที่ภิกษุไม่เป็นผู้ก่ออธิกรณ์ กล่าวสรรเสริญการระงับอธิกรณ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 273

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา กล่าวสรรเสริญการสมาทานในการศึกษา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ใคร่ในการศึกษา กล่าวสรรเสริญการสมาทานในการศึกษานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีควานปรารถนาน้อย กล่าวสรรเสริญการกำจัดความปรารถนา แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย กล่าวสรรเสริญการกำจัดความปรารถนานี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธ กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโกรธ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธ กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโกรธนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ กล่าวสรรเสริญการกำจัดความลบหลู่ แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่ลบหลู่ กล่าวสรรเสริญการกำจัดความลบหลู่นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโอ้อวด แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่โอ้อวด กล่าวสรรเสริญการกำจัดความโอ้อวดนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่มีมายา กล่าวสรรเสริญการกำจัดมายา ข้อที่ภิกษุเป็นผู้ไม่มีมายา กล่าวสรรเสริญการกำจัดมายานี้ ย่อม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 274

เป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้เพ่งเล็งธรรมทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญการเพ่งเล็งธรรมทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุเป็นผู้เพ่งเล็งธรรมทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญการเพ่งเล็งธรรมทั้งหลายนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ กล่าวสรรเสริญการหลีกออกเร้น แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้หลีกออกเร้นอยู่ กล่าวสรรเสริญการหลีกออกเร้นนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้กระทำการปฏิสันถารเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญการกระทำปฏิสันถาร แม้ข้อที่ภิกษุเป็นผู้กระทำปฏิสันถารเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญการกระทำปฏิสันถารนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นที่รัก ที่เคารพ ที่ยกย่อง ที่เสมอกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงความปรารถนาไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนี้อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู ย่อมพิจารณาเห็นอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามกที่ละได้แล้วของเธอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนความปรารถนาไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ม้าอาชาไนยตัวเจริญอย่างนี้ว่า โอหนอ มนุษย์ทั้งหลายพึงตั้งเราไว้ใน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 275

ตำแหน่งม้าอาชาไนย ให้เรากินอาหารสำหรับม้าอาชาไนย และพึงขัดสีเราให้เหมือนขัดสีม้าอาชาไนยเถิด แม้ถึงอย่างนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็ย่อมตั้งม้านั้นไว้ในตำแหน่งม้าอาชาไนย ย่อมให้กินอาหารสำหรับม้าอาชาไนย ย่อมขัดสีให้เหมือนขัดสีม้าอาชาไนย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมนุษย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู ย่อมเห็นความโอ้อวด ความโกง ความไม่ตรง ความคด ซึ่งละได้แล้วของม้านั้น แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงความปรารถนาไม่พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนี้ อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายพึงสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเรา ดังนี้ ถึงอย่างนั้น เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายก็สักการะ เคารพ นับถือ บูชาภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายผู้เป็นวิญญู ย่อมพิจารณาเห็นอกุศลธรรมอันลามกที่ละได้แล้วของเธอ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบอธิกรณสูตรที่ ๗

อรรถกถาอธิกรณสูตรที่ ๗

อธิกรณสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อธิกรณิโก โหติ ได้แก่ เป็นผู้กระทำอธิกรณ์. บทว่า น ปิยตาย ได้แก่ ไม่เป็นไปเพื่อเป็นที่น่ารัก. บทว่า น ครุตาย ได้แก่ ไม่เป็นไปเพื่อความน่าเคารพ. บทว่า น สาญฺาย ได้แก่ ไม่เป็นไปเพื่อสมานธรรม. บทว่า น เอกีภาวาย ได้แก่ ไม่เป็นไปเพื่อไม่มีช่องว่าง. บทว่า ธมฺมานํ น นิสามกชาติโย ได้แก่ ไม่เป็นผู้พิจารณาโลกุตรธรรม ๙ เป็นสภาพ ไม่เป็นผู้ทรงจำเป็นสภาพ. บทว่า น ปฏิสลฺลาโน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 276

ได้แก่ ไม่เป็นผู้หลีกเร้น. บทว่า สาเยฺยานิ ได้แก่ มีความอวดดี. บทว่า กุเฏยฺยานิ ได้แก่ มีความโกง. บทว่า ชิมฺเหยฺยานิ ได้แก่ มีความไม่ตรง. บทว่า วงฺเกยฺยานิ ได้แก่ มีความคด.

จบอรรถกถาอธิกรณสูตรที่ ๗