๘. พยสนสูตร ว่าด้วยภิกษุกล่าวโทษพระอริยะ พึงถึงความพินาศ ๑๐ อย่าง
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 276
ทุติยปัณณาสก์
เถรวรรคที่ ๔
๘. พยสนสูตร
ว่าด้วยภิกษุกล่าวโทษพระอริยะ พึงถึงความพินาศ ๑๐ อย่าง
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 276
๘. พยสนสูตร
ว่าด้วยภิกษุกล่าวโทษพระอริยะ พึงถึงความพินาศ ๑๐ อย่าง
[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความพินาศ ๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ความพินาศ ๑๐ อย่างเป็นไฉน คือภิกษุนั้นไม่บรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ ๑ เสื่อมจากธรรมที่บรรลุแล้ว ๑ สัทธรรมของภิกษุนั้นย่อมไม่ผ่องแผ้ว ๑ เป็นผู้เข้าใจว่าตนได้บรรลุในสัทธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ๑ ต้องอาบัติเศร้าหมองอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ย่อมถูกโรคอย่างหนัก ๑ ถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่าน ๑ เป็นผู้หลงใหลกระทำกาละ ๑ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดด่าบริภาษเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย กล่าวโทษพระอริยะ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความฉิบหาย ๑๐ อย่างนี้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.
จบพยสนสูตรที่ ๘
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 277
อรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘
พยสนสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ในคำว่า อกฺโกสกปริภาสโก อริยุปวาที สพฺรหฺมจารีนํ นี้พึงประกอบ สพฺรหฺมจารี กับ อกฺโกสนบท และ ปริภาสกบท. บทว่า เป็นผู้ด่าสพรหมจารี เป็นผู้บริภาษสพรหมจารี. ผู้ว่าร้ายด้วยอันติมวัตถุว่า เราจักฆ่าคุณของพระอริยะทั้งหลาย ย่อมชื่อว่า อริยุปวาที. บทว่า สทฺธมฺมสฺส น โวทายนฺตี ความว่า สัทธรรม คือศาสนาที่นับได้ว่าไตรสิกขาของภิกษุนั้น ย่อมไม่ถึงความผ่องแผ้ว. โรคเท่านั้นพึงทราบว่า อาตังกะ เพราะกระทำให้ชีวิตลำบาก ในคำว่า โรคาตงฺกํ นี้.
จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ ๘