พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. โกกาลิกสูตร ว่าด้วยพระโกกาลิกภิกษุกล่าวอาฆาตพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  5 พ.ย. 2564
หมายเลข  39843
อ่าน  439

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 277

ทุติยปัณณาสก์

เถรวรรคที่ ๔

๙. โกกาลิกสูตร

ว่าด้วยพระโกกาลิกภิกษุกล่าวอาฆาตพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 277

๙. โกกาลิกสูตร

ว่าด้วยพระโกกาลิกภิกษุกล่าวอาฆาตพระสารีบุตรและพระมหาโมคคัลลานะ

[๘๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุชื่อ โกกาลิกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน โกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 278

แม้ครั้งที่ ๒ โกกาลิกภิกษุก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ เป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันข้าพระองค์พึงเชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธออย่ากล่าวอย่างนั้น เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

แม้ครั้งที่ ๓ โกกาลิกภิกษุได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของข้าพระองค์ เป็นผู้มีพระพุทธพจน์อันข้าพระองค์พึงเชื่อถือได้ก็จริง ถึงอย่างนั้น พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็เป็นผู้มีความปรารถนาลามก ลุอำนาจ แห่งความปรารถนาลามก พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนโกกาลิกะ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ เธอจงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด เพราะสารีบุตรและโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก.

ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป เมื่อโกกาลิกภิกษุหลีกไปแล้ว ไม่นานร่างกายมีตุ่มเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดเกิดขึ้นทั่วตัว แล้วตุ่มเหล่านั้นก็โตเท่าเมล็ดถั่วเขียว แล้วก็โตเท่าเมล็ดถั่วดำ แล้วก็โตเท่าเมล็ดพุทรา แล้วก็โตเท่าเมล็ดกระเบา แล้วก็โตเท่าผลมะขามป้อม แล้วก็โตเท่าผลมะตูมอ่อน แล้วก็โตเท่าผลมะตูแก่ แล้วจึงแตก หนองและเลือดหลั่งไหลออก ได้ยินว่า โกกาลิกภิกษุนั้นนอนบนใบตองกล้วย เหมือนปลากิน

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 279

ยาพิษ ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหมเข้าไปหาพระโกกาลิกะยังที่อยู่ ครั้นแล้วยืนอยู่ที่เวหาส ได้กล่าวกะโกกาลิกภิกษุว่า ดูก่อนโกกาลิกะ ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด เพราะพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นผู้มีศีลเป็นที่รัก โกกาลิกภิกษุถามว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร.

ตุ. เราเป็นตุทิปัจเจกพรหม.

โก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ท่านเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่าเป็นอนาคามีมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนท่านจึงมา ณ ที่นี้อีกในบัดนี้ อนึ่ง ท่านจงเห็นความผิดนี้ของท่านเท่าที่มีอยู่.

ครั้งนั้นแล ตุทิปัจเจกพรหมได้กล่าวกะโกกาสิกะภิกษุด้วยคาถาว่า

ผรุสวาจาเพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่องตัดทอนตนของคนพาล ผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปากของบุคคลผู้เป็นบุรุษพาล ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษไว้ด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะโทษนั้น.

การปราชัยด้วยทรัพย์ในการเล่นการพนัน ด้วยตนเองจนหมดตัวนี้ เป็นโทษมีประมาณน้อย การที่บุคคลยังใจให้ประทุษร้ายในพระอริยเจ้าผู้ดำเนินดีแล้วนี้ เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาป แล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นหนึ่งแสนนิรัพพุทกัป อีก ๓๖ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

ครั้งนั้นแล โกกาลิกภิกษุได้กระทำกาละด้วยอาพาธนั้นเอง แล้วเกิด

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 280

ในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ลำดับนั้น เมื่อปฐมยามแห่งราตรีผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมผู้มีวรรณะสง่างาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุกระทำกาละแล้ว เกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ พระเจ้าข้า ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกราบทูลดังนี้แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วหายไป ในที่นั้นเอง ครั้งนั้น เมื่อราตรีผ่านไปแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อคืนนี้ เมื่อปฐมยามผ่านไปแล้ว ท้าวสหัมบดีพรหมผู้มีวรรณะสง่างาม ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้ามาหาเรายังที่อยู่ อภิวาทเราแล้วนั่ง ณ ที่อันสมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โกกาลิกภิกษุกระทำกาละ แล้วเกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวสหัมบดีพรหมครั้นกล่าวคำนี้แล้วอภิวาทเรา กระทำประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นเอง.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประมาณอายุในปทุมนรก นานเท่าไรหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุ ประมาณอายุในปทุมนรกนานนัก ประมาณอายุในปทุมนรกนั้นยากที่จะกระทำการกำหนดนับได้ว่า ประมาณเท่านี้ปี ประมาณร้อยปีเท่านี้ ประมาณพันปีเท่านี้ หรือประมาณแสนปีเท่านี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 281

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระองค์อาจเพื่อจะทำการเปรียบเทียบได้หรือ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อาจอยู่ภิกษุ แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนหนึ่งเกวียนเมล็ดงาของชนชาวโกศลมีอัตรา ๒๐ (๑) ขารี เมื่อล่วงไปแสนปี บุรุษนำเอาเมล็ดงาเมล็ดหนึ่งออกจากเกวียนนั้น ดูก่อนภิกษุ เมล็ดงาหนึ่งเกวียนของชาวโกศลซึ่งมีอัตรา ๒๐ ขารีนั้น พึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยทำนองนี้เร็วกว่า นั่นยังไม่ถึงหนึ่งอัพพุทะในนรกเลย ดูก่อนภิกษุ ๒๐ อัพพุทะในนรกจึงเป็น ๑ นิรัพพุทะ ๒๐ นิรัพพุทะเป็น ๑ อพัพพะ ๒๐ อพัพพะเป็น ๑ อหหะ ๒๐ อหหะเป็น ๑ อฏฏะ ๒๐ อฏฏะเป็น ๑ กุมุทะ ๒๐ กุมุทะเป็น ๑ โสคันธิกะ ๒๐ โสคันธิกะเป็น ๑ อุปปละ ๒๐ อุปปละเป็น ๑ ปุณฑรีกะ ๒๐ ปุณฑรีกะเป็น ๑ ปทุมะ ดูก่อนภิกษุ โกกาลิกภิกษุเกิดในปทุมนรก เพราะยังจิตให้อาฆาตในสารีบุตรและโมคคัลลานะ ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดาได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ผรุสวาจาเพียงดังจอบ ซึ่งเป็นเครื่องตัดทอนตนของคนพาล ผู้กล่าวคำชั่ว ย่อมเกิดขึ้นที่ปากของบุคคลผู้เป็นบุรุษพาล ผู้ใดสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียนหรือติเตียนคนที่ควรสรรเสริญ ผู้นั้นชื่อว่าสะสมโทษด้วยปาก ย่อมไม่ประสบความสุขเพราะโทษนั้น การปราชัยด้วยทรัพย์ ในการเล่นการพนันด้วยตนเองจนหมดตัว เป็นโทษมีประมาณน้อย การที่บุคคลยังใจให้ประทุษร้ายในพระอริยเจ้า ผู้ดำเนินดีแล้วนี้


(๑) ๑ ขารีเท่ากับ ๒๔๖ ทะนาน.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 282

เป็นโทษมากกว่า บุคคลตั้งวาจาและใจอันเป็นบาปแล้วติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกสิ้นหนึ่งแสนนิรัพพุทกัป ๓๖ นิรัพพุทะ และ ๕ อัพพุทะ.

จบโกกาลิกสูตรที่ ๙

อรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๙

โกกาลิกสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โกกาลิโก ภิกฺขุ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ภิกษุโกกาลิกะนี้คือใคร และเหตุไรจึงเข้าไปเฝ้า เล่ากันว่า โกกาลิกภิกษุนี้ เป็นบุตรของโกกาลิกเศรษฐีในนครโกกาลิกะ รัฐโกกาลิกะ บวชแล้วอยู่ประจำในวิหารที่บิดาสร้างไว้ แต่ภิกษุผู้เป็นศิษย์ของพระเทวทัตชื่อว่า จูฬโกกาลิกะ. ก็โกกาลิกะบุตรพราหมณ์นั้นชื่อว่า มหาโกกาลิกะ. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี พระอัครสาวกทั้งสองก็จาริกไปในชนบทพร้อมกับภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เมื่อวันใกล้เข้าพรรษา ประสงค์จะอยู่อย่างวิเวก จึงส่งภิกษุเหล่านั้นกลับไป ตนเองถือบาตรและจีวรถึงนครนั้น ในชนบทนั้น ครั้นถึงวิหารนั้น ก็ไปวิหารนั้น. ในวิหารนั้น พระโกกาลิกะก็ทำวัตรปฏิบัติแก่พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ท่านพระอัครสาวกก็สัมโมทนากับพระโกกาลิกะนั้นรับคำว่า ผู้มีอายุ เราจะอยู่ที่นี้ ๓ เดือน ท่านอย่าบอกเรื่องของเราแก่ใครๆ แล้วก็อยู่จำพรรษา ครั้นจำพรรษาแล้ว ก็ปวารณาในวันปวารณาก็บอกลาโกกาลิกภิกษุว่า ผู้มีอายุ เราจะไปละ โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า ผู้มีอายุ วันนี้อยู่เสียอีกวันหนึ่ง พรุ่งนี้ค่อยไป. วันรุ่งขึ้นก็เข้าพระนครบอกผู้คนทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ ท่านไม่รู้กันดอกหรือว่า

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 283

ท่านพระอัครสาวกทั้งสองมาอยู่ในที่นี้ ใครๆ จะไม่นิมนต์ท่านด้วยปัจจัยบ้างหรือ. ชาวพระนครจึงกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า พระเถระอยู่ไหนเล่า เหตุไรท่านจึงไม่บอกพวกเรา. โกกาลิกภิกษุกล่าวว่า ผู้มีอายุ จะต้องบอกทำไม พวกท่านไม่เห็นพระเถระ ๒ รูปนั่งอยู่เหนือเถระอาสน์ดอกหรือ นั้นแหละ พระอัครสาวก. ชาวพระนครเหล่านั้น รีบเร่งประชุมรวบรวมเนยใสน้ำผึ้งเป็นต้น และผ้าทำจีวรทั้งหลาย โกกาลิกภิกษุคิดว่า ท่านพระอัครสาวก มีความมักน้อยอย่างยิ่ง จักไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นด้วยปยุตตวาจา (วาจาพูด เลียบเคียงหาลาภ). เมื่อท่านไม่ยินดี ก็จะบอกให้ให้แก่ภิกษุประจำวัด แล้วจึงให้เขาถือลาภนั้นไปยังสำนักพระเถระ. พระเถระเห็นแล้วก็ปฏิเสธว่า ปัจจัยไม่สมควรแก่เรา ทั้งไม่สมควรแก่โกกาลิกภิกษุ ดังนี้แล้วก็กลับไป. โกกาลิกภิกษุเกิดอาฆาตว่า อะไรเล่า ท่านพระอัครสาวกเมื่อตนเองไม่รับก็ไม่ให้แก่เรา แล้วหลีกไปเสีย. พระอัครสาวกทั้งสองแม้นั้นมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ก็พาบริษัทของตนจาริกไปในชนบทอีก กลับมายังนครนั้น ในรัฐนั้นนั่นแหละตามลำดับ พวกชาวเมืองจำพระเถระได้ ก็จัดแจงทานพร้อมบริขารสร้างมณฑปกลางพระนครถวายทาน แล้วน้อมบริขารถวายพระเถระ. พระเถระก็มอบแก่ภิกษุสงฆ์. พระโกกาลิกะเห็นดังนั้นคิดว่า พระอัครสาวกนี้แต่ก่อนเป็นผู้มักน้อย บัดนี้ กลายเป็นผู้มีความปรารถนาเลว ชะรอยเมื่อก่อนจะทำทีว่ามักน้อย สันโดษและสงัด จึงเข้าไปหาพระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ พวกท่านแต่ก่อนทำเหมือนว่ามักน้อย แต่บัดนี้กลายเป็นภิกษุชั่วไปเสียแล้ว คิดว่าจำเราจักทำลายที่พึ่งของพระเถระเหล่านั้น ที่ต้นตอ จึงรีบออกไปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ภิกษุโกกาลิกะนี้นี่แหละพึงทราบว่า เข้าไปเฝ้าด้วยเหตุนี้.

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 284

พระผู้มีพระภาคเจ้า เห็นโกกาลิกภิกษุนั้นรีบร้อนมา ทรงพิจารณาอยู่ทราบว่า ภิกษุนี้มาเพื่อประสงค์จะด่าพระอัครสาวก เราจะห้ามได้ไหมหนอ ทรงเห็นว่า ห้ามไม่ได้ เธอทำผิดในพระเถระทั้งสองมาแล้ว จักบังเกิดในปทุมนรกโดยส่วนเดียว ทรงห้ามถึง ๓ ครั้งว่า อย่าพูดอย่างนี้เลย เพื่อทรงเปลื้องวาทะที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า โกกาลิกภิกษุติเตียนพระสารีบุตรและโมคคัลลานะแล้วก็ยังไม่ทรงห้าม และเพื่อจะทรงแสดงว่า อริยุปวาทมีโทษมาก. บทว่า มาเหวํ ในคำนั้นแปลว่า อย่าพูดอย่างนี้เลย

บทว่า สทฺธายิโก ได้แก่ เรียกความเชื่อถือ นำมาซึ่งความเลื่อมใส หรือมีวาจาที่ควรเชื่อได้. บทว่า ปจฺจยิโก ได้แก่ มีวาจาที่น่านับถือ. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ ถูกอานุภาพของกรรมเตือนก็หลีกไป จริงอยู่ กรรมที่ถึงโอกาสแล้ว อะไรๆ ก็ห้ามไม่ได้. บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส ได้แก่ หลีกไปไม่นาน.

บทว่า สพฺโพ กาโย ผุฏฺโ อโหสิ ความว่า ทั่วตัวไม่เว้นโอกาสเพียงปลายผม ก็ได้ถูกต่อมทั้งหลายชำแรกกระดูกผุดขึ้นเต็มไป. ก็เพราะเหตุที่กรรมเห็นปานนั้น ไม่อาจให้วิบากเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยพุทธานุภาพ ก็ย่อมให้ผลเมื่อพอพ้นอุปจารที่เฝ้า ฉะนั้น ต่อมทั้งหลายจึงผุดขึ้น เมื่อโกกาลิกภิกษุนั้นหลีกไปไม่นาน. บทว่า กาฬายกมตฺติโย แปลว่า ถั่วดำ. บทว่า เวลุวสราฏุกมตฺติโย แปลว่า เท่าผลมะตูมอ่อน. บทว่า ปภิชฺชิํสุ แปลว่า แตกแล้ว. เมื่อต่อมเหล่านั้นแตกแล้ว ทั่วตัวก็ได้เป็นเหมือนขนุนสุก. โกกาลิภิกษุนั้น มีตัวอันสุกแล้ว นอนบนใบตองใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันเหมือนปลากลืนยาพิษ.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 285

ครั้งนั้นผู้คนทั้งหลายที่มาฟังธรรมก็พากันพูดว่า ชิ โกกาลิกะ ชิ โกกาลิกะ ทำไม่ถูกเลย อาศัยปากของตนอย่างเดียวก็ถึงความย่อยยับ อารักขเทพยดาทั้งหลายฟังเสียงของผู้คนเหล่านั้น ก็ได้กระทำเสียงตำหนิเหมือนกัน อากาสเทวดาฟังอารักขเทวดา ก็ตำหนิดังนั้นเหมือนกัน เหตุนั้นจึงเกิดเสียงตำหนิเป็นอันเดียวกันโดยอุบายอย่างนี้ จนถึงอกนิฏฐภพ.

บทว่า ตุทิ ได้แก่ อุปัชฌาย์ของพระโกกาลิกะ ชื่อ ตุทิเถระ บรรลุอนาคามิผล บังเกิดในพรหมโลก ท่านได้ยินเสียงตำหนิตั้งแต่ภุมมัฎฐกเทวดาต่อๆ กันไปจนถึงพรหมโลกว่า โกกาลิกะ กล่าวตู่พระอัครสาวกด้วยอันติมวัตถุ กระทำกรรมไม่ถูก คิดว่า น่าสงสารเมื่อเราเห็นเขาอยู่ ก็อย่าพินาศไปเสียเลย จำเราจักสั่งสอนเขา เพื่อให้จิตเลื่อมใสในพระอัครสาวกทั้งสองดังนี้ แล้วจึงมายืนอยู่ตรงหน้าโกกาลิกะภิกษุนั้น. ท่านหมายเอาตุทิพรหมผู้นั้น จึงกล่าวคำนี้ว่า "ตุทิปจฺเจกพฺรหฺมา."

บทว่า เปสลา หมายความว่า มีศีลเป็นที่รัก. พระโกกาลิกะนอนลืมตาพร่าพรายกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านเป็นใคร. บทว่า ปสฺส ยาวญฺจ เต ความว่า พระโกกาลิกะกล่าวว่า จงดู ท่านทำผิดไว้มีประมาณเท่าใด เมื่อไม่เห็นฝีหัวใหญ่ที่หน้าผากของตน สำคัญว่า พึงตักเตือนเราด้วยต่อมขนาดเมล็ดพันธุ์ผักกาด.

ครั้งนั้น ตุทิพรหมรู้ว่าโกกาลิกะนี้ไม่พอใจ จักไม่เชื่อใครๆ เหมือนปลาที่กลืนยาพิษ จึงกล่าวกะโกกาลิกะนั้นว่า ปุริสสฺส หิ เป็นต้น บทว่า กุารี ในคาถานั้น ได้แก่ วาจาหยาบเสมือนขวาน. บทว่า ฉินฺทติ ได้แก่ ย่อมตัดที่รากทีเดียว กล่าวคือกุศลมูล. บทว่า นินฺทิยํ ได้แก่ บุคคลทุศีลที่พึงติเตียน. บทว่า ปสํสติ ได้แก่ ชมเชยประโยชน์สูงสุด จึงกล่าวว่า

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 286

"พระขีณาสพ." บทว่า ตํ วา นินฺทติ โย ปสํสิโย ความว่า ก็หรือว่าผู้ใดอันเขาพึงสรรเสริญเป็นพระขีณาสพ โกกาลิกะนี้ก็ยังโจทผู้นั้น กล่าวว่าภิกษุนี้ทุศีล.

บทว่า วิจินาติ มุเขน โส กลิํ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าพบโทษนั้นด้วยปาก. บทว่า กลินา เตน ความว่า ย่อมไม่พบความสุขเพราะโทษนั้น. จริงอยู่ การสรรเสริญผู้ที่ควรติเตียนและการติเตียนผู้ที่ควรสรรเสริญ มีวิบากเสมอกัน. บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา ความว่า ชื่อว่าการพ่ายแพ้ทางทรัพย์ในการพนันทั้งหลายอันใด โดยทรัพย์ของตนทั้งหมดพร้อมแม้ทั้งตน ความพ่ายทรัพย์อันนี้ เป็นโทษเล็กน้อย. บทว่า โย สุคเตสุ ความว่า ผู้ใดคิดร้ายในบุคคลผู้ปฏิบัติชอบ ความคิดร้ายของบุคคลนั้น นี้มีโทษมากกว่าโทษนั้น.

บัดนี้ ตุทิพรหมเมื่อจะแสดงว่า ความคิดร้ายนั้นมีโทษมากกว่า จึงกล่าวคำว่า สตํ สหสฺสานํ เป็นต้น. บทว่า สตํ สหสฺสานํ ได้แก่ แสนหนึ่งด้วยการนับนิรัพพุทะ. บทว่า ฉตฺติํสติ ได้แก่ อีก ๓๖ นิรัพพุทะ. บทว่า ปญฺจ จ ได้แก่ ๕ อัพพุทะด้วยการนับอัพพุทะ. บทว่า ยมริยครหี ความว่า ผู้ติเตียนพระอริยะ ย่อมเข้าถึงนรกอันใดนั้นเป็นอายุประมาณในนรกนั้น. บทว่า กาลมกาสิ ความว่า กระทำกาละเมื่ออุปัชฌาย์หลีกไป.

บทว่า ปทุมนิรยํ ความว่า ชื่อว่าปทุมนรกที่แยกออกต่างหาก ย่อมไม่มี แต่บังเกิดในที่แห่งหนึ่งในอเวจีมหานรกนั่นแหละ.

ก็คำว่า อัพพุทะนี้เป็นชื่อของสถานที่ ที่สัตว์จะพึงไหม้ ด้วยการนับ

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 287

อัพพุทะในอเวจีนรกนั้นเอง. แม้ในนรกชื่อว่านิรัพพุทะเป็นต้นก็นัยนี้ อนึ่ง ในนรกเหล่านี้ พึงทราบแม้การนับปีอย่างนี้.

เหมือนอย่างร้อยแสนเป็นโกฏิหนึ่ง ฉันใด ร้อยแสนโกฏิ ชื่อว่าปโกฏิหนึ่งก็ฉันนั้น ร้อยแสนปโกฏิ ชื่อว่าโกฏิปโกฏิหนึ่ง. ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ ชื่อว่านหุตหนึ่ง. ร้อยแสนนหุต เป็นนินนหุตหนึ่ง ร้อยแสนนินนหุต เป็นอัพพุทะหนึ่ง. แต่อัพพุทะนั้นไป เอา ๒๐ คูณ เป็นนิรัพพุทะ. ในบททุกบทก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาโกกาลิกสูตรที่ ๙