พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. โกกนุทสูตร ว่าด้วยพระอานนท์ตอบปัญหาโกกนุทปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39853
อ่าน  372

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 315

ทุติยปัณณาสก์

อุบาสกวรรคที่ ๕

๖. โกกนุทสูตร

ว่าด้วยพระอานนท์ตอบปัญหาโกกนุทปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 315

๖. โกกนุทสูตร

ว่าด้วยพระอานนท์ตอบปัญหาโกกนุทปริพาชก

[๙๖] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อยู่ที่ตโปทาราม ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นแล้วในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่อสรงน้ำ ครั้นสรงน้ำที่แม่น้ำตโปทาแล้วกลับขึ้นมา มีจีวรผืนเดียว ได้ยืนผึ่งตัวอยู่ แม้โกกนุทปริพาชกลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ได้ไปยังแม่น้ำตโปทาเพื่ออาบน้ำ โกกนุทปริพาชกได้เห็นท่านพระอานนท์เดินมาแต่ไกลเที่ยว ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโส ใครอยู่ในที่นี้ ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนอาวุโส เราเป็นภิกษุ.

โก. ดูก่อนอาวุโส ภิกษุพวกไหน.

อา. ดูก่อนอาวุโส เราเป็นพวกสมณศากยบุตร.

โก. ข้าพเจ้าพึงถามข้อข้องใจบางอย่างกะท่าน หากท่านจะให้โอกาสเพื่อแก้ปัญหา.

อา. เชิญท่านถามเถิด อาวุโส เราฟังแล้วจักกล่าวแก้.

โก. ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ.

อา. ดูก่อนอาวุโส เรามิได้ความเห็นอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 316

โก. ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้หรือว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ.

อา. ดูก่อนอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น.

โก. ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ฯลฯ ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ.

อา. ดูก่อนอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น.

โก. ถ้าอย่างนั้น ท่านผู้เจริญย่อมไม่รู้ ไม่เห็นน่ะซิ.

อา. ดูก่อนอาวุโส เราไม่รู้ไม่เห็นหามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่.

โก. ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านถูกข้าพเจ้าถามว่า ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้หรือว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น เมื่อถูกถามว่า ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้หรือว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น เมื่อถูกถามว่า ท่านผู้เจริญมีความเห็นอย่างนี้หรือว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ฯลฯ ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่าง

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 317

หนึ่ง ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่าหรือหนอ ก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เรามิได้มีความเห็นอย่างนั้น เมื่อถูกถามว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านผู้เจริญย่อมไม่รู้ ไม่เห็นละซิ ก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส เราย่อมไม่รู้ไม่เห็นหามิได้ เรารู้อยู่ เห็นอยู่ ดูก่อนอาวุโส ก็อรรถแห่งภาษิตนี้จะพึงเห็นได้อย่างไรเล่า.

อา. ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ว่า โลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อนี้ว่า โลกไม่เที่ยง สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ข้อนี้ว่า โลกมีที่สุด ฯลฯ โลกไม่มีที่สุด ฯลฯ ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น ฯลฯ ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีก ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี ฯลฯ สัตว์เมื่อตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ก็เป็นทิฏฐิอย่างหนึ่ง ดูก่อนอาวุโส ทิฏฐิก็ดี เหตุที่ตั้งทิฏฐิก็ดี ที่ตั้งมั่นแห่งทิฏฐิก็ดี ที่ตั้งขึ้นโดยรอบแห่งทิฏฐิก็ดี ความเพิกถอนทิฏฐิก็ดี มีประมาณเท่าใด เราย่อมรู้ ย่อมเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้น มีประมาณเท่านั้น เรารู้ทิฏฐิเป็นต้นนั้น จึงกล่าวว่า เรารู้อยู่ เราเห็นทิฏฐิเป็นต้นนั้น จึงกล่าวว่า เราเห็นอยู่ เราจะกล่าวว่า เราไม่รู้ไม่เห็นอย่างไรได้ ดูก่อนอาวุโส เรารู้อยู่ เห็นอยู่.

โก. ท่านผู้มีอายุชื่อไร และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายย่อมเรียกท่านผู้มีอายุว่าอย่างไร.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 318

อา. ดูก่อนอาวุโส เรามีชื่อว่า อานนท์ และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เรียกเราว่า อานนท์.

โก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าสนทนาอยู่กับท่านอาจารย์ผู้ใหญ่ ไม่รู้เลยว่าเป็นท่านพระอานนท์ ก็ถ้าว่าข้าพเจ้าพึงรู้ว่า นี้คือท่านพระอานนท์ไซร้ ข้าพเจ้าก็ไม่พึงกล่าวโต้ตอบถึงเท่านี้ ขอท่านพระอานนท์จงอดโทษแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

จบโกกนุทสูตรที่ ๖

อรรถกถาโกกนุทสูตรที่ ๖

ใน โกกนุทสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปุพฺพาปยมาโน ได้แก่ ทำตัวให้ปราศจากน้ำเช่นกับก่อนอาบ. ศัพท์ว่า เกฺวตฺถ อาวุโส ตัดบทว่า โก เอตฺถ อาวุโส. บทว่า ยาวตา อาวุโส ทิฏฺิ ความว่า ชื่อว่าทิฏฐิ ๖๒ อย่าง มีอยู่เท่าใด. บทว่า ยาวตา ทิฏฺิฏฺานํ ความว่า ฐานแห่งทิฏฐิ ๘ อย่าง มีประมาณอย่างนี้ คือขันธ์เป็นฐานทิฏฐิก็มี อวิชชาก็มี ผัสสะก็มี สัญญาก็มี วิตกก็มี อโยนิโสมนสิการก็มี ปาปมิตรก็มี ปรโตโฆสะ การชักชวนของคนอื่นก็มี ชื่อว่าเหตุแห่งทิฏฐิ. บทว่า อธิฏฺานํ ได้แก่ ที่ตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ คำนี้เป็นชื่อของทิฏฐิที่ตั้งมั่นครอบงำเป็นไป.

บทว่า ทิฏฺิปริยุฏฺานํ ได้แก่ ความกลุ้มรุมแห่งทิฏฐิที่ท่านกล่าวไว้ อย่างนี้ว่า คือ ๑. ทิฏฐิคือทิฏฐิคตะ (ความเห็น) ๒. ทิฏฐิคหนะ ชัฏคือทิฏฐิ ๓. ทิฏฐิกันตาระ กันดารคือทิฏฐิ ๔. ทิฏฐิวิสูกะ ข้าศึกคือทิฏฐิ ๕. ทิฏฐิวิปผันทิตะ ความดิ้นรนคือทิฏฐิ ๖. ทิฏฐิสังโยชน์ สังโยชน์

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 319

คือทิฏฐิ ๗. ทิฏฐิสัลละ ลูกศรคือทิฏฐิ ๘. ทิฏฐิสัมพาธะ ความคับแคบคือทิฏฐิ ๙.ทิฏฐิปลิโพธะ เครื่องกังวลคือทิฏฐิ ๑๐. ทิฏฐิพันธนะ เครื่องผูกคือทิฏฐิ ๑๑. ทิฏฐิปปาตะ เหวคือทิฏฐิ ๑๒. ทิฏฐานุสัย อนุสัยคือทิฏฐิ ๑๓. ทิฏฐิสันตาปะ เครื่องเผาคือทิฏฐิ ๑๔. ทิฏฐิปริฬาหะ เครื่องเร่าร้อนคือทิฏฐิ ๑๕. ทิฏฐิคันถะ เครื่องร้อยคือทิฏฐิ ๑๖. ทิฏฐุปาทาน อุปาทานคือทิฏฐิ ๑๗. ทิฏฐาภินิเวสะ ความยึดมั่นคือทิฏฐิ ๑๘. ทิฏฐิปรามาส ความจับต้องคือทิฏฐิ. คำว่า สมุฏฺฐานํ เป็นไวพจน์ของทิฏฐิฐานะนั่นแล. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ขันธ์เป็นปัจจัย เพราะอรรถว่ายึดฐานะแห่งทิฏฐิตั้งขึ้น. ทุกบทพึงให้พิสดาร. ก็โสดาปัตติมรรค ชื่อว่าทิฏฐิสมุคฆาตะ เพราะถอนทิฏฐิทุกอย่างได้เด็ดขาด. บทว่า ตมหํ ได้แก่ เรารู้ทิฏฐินั้นได้ทุกอย่าง. บทว่า กฺยาหํ วกฺขามิ แปลว่า เรากล่าวเพราะเหตุไร.

จบอรรถกถาโกกนุทสูตรที่ ๖