พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. สัมมัตตสูตร ว่าด้วยภิกษุอาศัยสัมมัตตะ ๑๐ จึงบรรลุสวรรค์และมรรคผล

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39861
อ่าน  377

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 340

ตติยปัณณาสก์

สมณสัญญาวรรคที่ ๑

๔. สัมมัตตสูตร

ว่าด้วยภิกษุอาศัยสัมมัตตะ ๑๐ จึงบรรลุสวรรค์และมรรคผล


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 340

๔. สัมมัตตสูตร

ว่าด้วยภิกษุอาศัยสัมมัตตะ ๑๐ จึงบรรลุสวรรค์และมรรคผล

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล เพราะอาศัยสัมมัตตะอย่างไร จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมมีความดำริชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 341

เลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งมั่นชอบ ผู้มีความตั้งมั่นชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอาศัยสัมมัตตะ จึงมีการบรรลุสวรรค์และมรรคผล ไม่มีการพลาดจากสวรรค์และมรรคผล ด้วยประการอย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งมั่นผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฏฐิอันชั่วช้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชสะเดา พืชบวบขม หรือพืชน้ำเต้าขม อันบุคคลเพาะแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดินและรสน้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสขม เป็นรสเผ็ดร้อน เป็นรสไม่น่ายินดี ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของไม่ดี แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นผิด มีความดำริผิด มีวาจาผิด มีการงานผิด มีการเลี้ยงชีพผิด มีความพยายามผิด มีความระลึกผิด มีความตั้งมั่นผิด มีความรู้ผิด มีความหลุดพ้นผิด สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่ไม่น่าปรารถนา

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 342

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่เกื้อกูล เป็นทุกข์ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฏฐิที่ชั่วช้า ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งมั่นชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ความเกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร เพราะเป็นทิฏฐิที่เจริญ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนพืชอ้อย พืชข้าวสาลี หรือพืชองุ่น อันบุคคลเพาะลงแล้วในแผ่นดินที่ชุ่มชื้น ย่อมเข้าไปจับรสดินและรสน้ำอันใด รสดินและรสน้ำทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นรสที่น่ายินดี เป็นรสหวาน เป็นรสอันน่าชื่นใจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะพืชเป็นของดี แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุริสบุคคลผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มีการเลี้ยงชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีความระลึกชอบ มีความตั้งมั่นชอบ มีความรู้ชอบ มีความหลุดพ้นชอบ สมาทานกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ให้บริบูรณ์ตามความเห็นอย่างไรแล้ว เจตนา ความปรารถนา ความตั้งใจ และสังขารเหล่าใด ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นไปเพื่อผลอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เกื้อกูล เป็นสุข ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะทิฏฐิเป็นของเจริญ ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบสัมมัตตสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 343

อรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ ๔

สัมมัตตสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ยถาทิฏฺิสมตฺตํ สมาทินฺนํ ได้แก่ สมาทานให้สมบูรณ์ การยึดไว้หมด ตามสมควรแก่ทิฏฐิ. บทว่า เจตนา ได้แก่ เจตนาที่บังเกิดในทวารทั้ง ๓ ยึดมั่นแล้ว. บทว่า ปฏฺนา ได้แก่ ความปรารถนา ที่ปรารถนาไว้อย่างนี้ว่า ขอเราพึงเป็นเห็นปานนี้. บทว่า ปณิธิ ได้แก่ การตั้งจิตว่า เราจักเป็นเทวะหรือเทพองค์หนึ่ง. บทว่า สงฺขารา ได้แก่ สังขารที่ประกอบพร้อมแล้ว.

จบอรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ ๔