พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. อวิชชาวิชชาสูตร ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39862
อ่าน  368

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 343

ตติยปัณณาสก์

สมณสัญญาวรรคที่ ๑

๕. อวิชชาวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 343

๕. อวิชชาวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชาและวิชชา

[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงอกุศลธรรมทั้งหลาย ความไม่ละอายบาป ความไม่กลัวบาป เป็นของมีมาตามอวิชชานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีอวิชชาไม่เห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นผิด ผู้มีความเห็นผิด ย่อมมีความดำริผิด ผู้มีความดำริผิด ย่อมมีวาจาผิด ผู้มีวาจาผิด ย่อมมีการงานผิด ผู้มีการงานผิด ย่อมมีการเลี้ยงชีพผิด ผู้มีการเลี้ยงชีพผิด ย่อมมีความพยายามผิด ผู้มีความพยายามผิด ย่อมมีความระลึกผิด ผู้มีความระลึกผิด ย่อมมีความตั้งมั่นผิด ผู้มีความตั้งมั่นผิด ย่อมมีความรู้ผิด ผู้มีความรู้ผิด ย่อมมีความหลุดพ้นผิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาเป็นประธานแห่งการเข้าถึงกุศลธรรมทั้งหลาย หิริและโอตตัปปะเป็นของมีมาตามวิชชานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวิชชาเห็นแจ้ง ย่อมมีความเห็นชอบ ผู้มีความเห็นชอบ ย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 344

มีความดำริชอบ ผู้มีความดำริชอบ ย่อมมีวาจาชอบ ผู้มีวาจาชอบ ย่อมมีการงานชอบ ผู้มีการงานชอบ ย่อมมีการเลี้ยงชีพชอบ ผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมมีความพยายามชอบ ผู้มีความพยายามชอบ ย่อมมีความระลึกชอบ ผู้มีความระลึกชอบ ย่อมมีความตั้งมั่นชอบ ผู้มีความตั้งมั่นชอบ ย่อมมีความรู้ชอบ ผู้มีความรู้ชอบ ย่อมมีความหลุดพ้นชอบ.

อวิชชาวิชชาสูตรที่ ๕

อรรถกถาอวิชชาวิชชาสูตรที่ ๕

อวิชชาวิชชาสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อวิชชา ชื่อว่าเป็นหัวหน้า เพราะอรรถว่า ดำเนินไปก่อน. บทว่า อนฺวเทว ได้แก่ ติดตามไป.

จบอรรถกถาอวิชชาวิชชาสูตรที่ ๕