พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. โธวนสูตร ว่าด้วยการล้างของพระอริยะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39864
อ่าน  338

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 347

ตติยปัณณาสก์

สมณสัญญาวรรคที่ ๑

๗. โธวนสูตร

ว่าด้วยการล้างของพระอริยะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 347

๗. โธวนสูตร

ว่าด้วยการล้างของพระอริยะ

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในทักษิณาชนบท มีธรรมเนียมการล้างกระดูกแห่งญาติผู้ตาย ในธรรมเนียมการล้างกระดูกนั้น มีข้าวบ้าง น้ำบ้าง ของขบเคี้ยวบ้าง ของบริโภคบ้าง เครื่องลิ้มบ้าง เครื่องดื่มบ้าง การฟ้อนบ้าง เพลงขับบ้าง การประโคมบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเนียมการล้างนั้นมีอยู่ เรามิได้กล่าวว่า ไม่มี แต่ว่าการล้างนั้นแลเป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่เป็นของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงการล้างอันเป็นของพระอริยะ ซึ่งเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายมีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อม

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 348

พ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การล้างที่เป็นของพระอริยะ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ฯลฯ จากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้นั้น เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความเห็นชอบ ย่อมล้างความเห็นผิด ล้างอกุศลบาปธรรมเป็นอันมาก ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความดำริชอบ ย่อมล้างความดำริผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีวาจาชอบ ย่อมล้างวาจาผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการงานชอบ ย่อมล้างการงานผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีการเลี้ยงชีพชอบ ย่อมล้างการเลี้ยงชีพผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความพยายามชอบ ย่อมล้างความพยายามผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความระลึกชอบ ย่อมล้างความระลึกผิด ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 349

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความตั้งมั่นชอบ ย่อมล้างความตั้งมั่นผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความรู้ชอบ ย่อมล้างความรู้ผิด ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มีความหลุดพ้นชอบ ย่อมล้างความหลุดพ้นผิด ล้างอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย และกุศลธรรมเป็นอันมากย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การล้างที่เป็นของพระอริยะนี้นั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดาอาศัยแล้ว ย่อมพ้นจากความเกิด ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความแก่ ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความตาย ผู้มีความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจเป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากความโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจได้.

จบโธวนสูตรที่ ๗

อรรถกถาโธวนสูตรที่ ๗

โธวนสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า โธวนํ ได้แก่ ล้างกระดูก. จริงอยู่ ในชนบทนั้น ผู้คนทั้งหลาย เมื่อญาติตายก็ไม่เผา แต่ขุดหลุมฝังดิน. ครั้นแล้วจึงนำกระดูกที่ผุแล้วของญาติเหล่านั้นมาล้างแล้วยกขึ้นวางเรียงกัน ตั้งบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น เมื่อคราวนักขัตฤกษ์ นำกระดูกเหล่านั้นมาแล้ว ก็ร้องไห้คร่ำครวญ ต่อนั้นก็เล่นนักขัตฤกษ์กัน.

จบอรรถกถาโธวนสูตรที่ ๗