พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๒. ทุติยอธรรมสูตร ว่าด้วยบุคคลพึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและตามสิ่งที่เป็นประโยชน์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39871
อ่าน  339

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 360

ตติยปัณณาสก์

ปัจโจโรหณิวรรคที่ ๒

๒. ทุติยอธรรมสูตร

ว่าด้วยบุคคลพึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและตามสิ่งที่เป็นประโยชน์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 360

๒. ทุติยอธรรมสูตร

ว่าด้วยบุคคลพึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและตามสิ่งที่เป็นประโยชน์

[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉนและสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 361

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความดำริผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความดำริชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการเจรจาผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะการเจรจาชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการงานผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะการงานชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็น ประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการเลี้ยงชีพผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะการเลี้ยงชีพชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายามชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 362

เพราะความพยายามผิดเป็นปัจจัยเป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความพยายามชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความระลึกผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความระลึกชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งมั่นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งมั่นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความตั้งมั่นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความตั้งมั่นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความรู้ผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความรู้ชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความหลุดพ้นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 363

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด คำที่เรากล่าวดังนี้ เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุนี้.

จบทุติยอธรรมสูตรที่ ๒