๓. ตติยอธรรมสูตร ว่าด้วยพระอานนท์แสดงจําแนกธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยพิสดาร
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 363
ตติยปัณณาสก์
ปัจโจโรหณิวรรคที่ ๒
๓. ตติยอธรรมสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงจําแนกธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยพิสดาร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 363
๓. ตติยอธรรมสูตร
ว่าด้วยพระอานนท์แสดงจำแนกธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดยพิสดาร
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร.
ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นพูดกันดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแลพึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 364
มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระอานนท์นี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่องแล้ว ท่านพระอานนท์ย่อมสามารถเพื่อจะจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถอันนี้กะท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์จักพยากรณ์ด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้น ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูก่อนผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายได้พูดกันดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแล พึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ดูก่อนผู้มีอายุ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 365
กระผมทั้งหลายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระอานนท์นี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่องแล้ว ท่านพระอานนท์ย่อมสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอแล เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถอันนี้กะท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์จักพยากรณ์ด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้น ขอท่านพระอานนท์จงจำแนกเถิด.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเสมือนบุรุษต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ก็ล่วงเลยรากไปเสีย ล่วงเลยลำต้นไปเสีย พึงสำคัญกิ่งและใบว่าเป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา แม้ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายผ่านพ้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสียแล้ว ย่อมสำคัญอรรถอันนั้นว่าควรถามข้าพเจ้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ตรัสบอก ทรงให้เป็นไป ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็แหละกาลนั้น เป็นกาลสมควรที่ท่านทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว แล้วพึงทูลถามอรรถอันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านทั้งหลายด้วยประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นเถิด.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 366
ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้มีพระจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ตรัสบอก ทรงให้เป็นไป ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็แหละกาลนั้น เป็นกาลสมควรที่กระผมทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเทียว แล้วพึงทูลถามอรรถอันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่กระผมทั้งหลายด้วยประการใด กระผมทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นโดยแท้ ก็แต่ว่าท่านพระอานนท์ พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่องแล้ว ท่านพระอานนท์ย่อมสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ขอท่านพระอานนท์ไม่ทำความหนักใจแล้วจงจำแนกเถิด.
ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ก็ได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงแสดงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็ในอุเทศนั้น สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน และสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 367
เป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายามชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความตั้งมั่นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งมั่นชอบเป็นสิ่งเป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความหลุดพ้นผิดเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ความหลุดพ้นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 368
เพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราย่อมรู้อรรถแห่งอุเทศอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ด้วยประการอย่างนี้ ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็แลท่านทั้งหลายหวังอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามอรรถอันนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงพยากรณ์ด้วยประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นเถิด.
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ชื่นชมโมทนาภาษิตของท่านพระอานนท์ ลุกจากอาสนะ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พูดกันว่า ดูก่อนอาวุโส
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 369
ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแล พึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นแล ได้มีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระอานนท์นี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้ว และเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่องแล้ว ท่านพระอานนท์ย่อมสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถอันนั้นกะท่านพระอานนท์ ท่านพระอานนท์จักพยากรณ์แก่เราทั้งหลายด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำไว้ด้วยประการนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามอรรถอันนั้นกะท่านพระอานนท์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์ได้จำแนกอรรถด้วยดีแก่ข้าพระองค์เหล่านั้น ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีแล้วๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นบัณฑิต อานนท์เป็นผู้มีปัญญามาก แม้หากว่าเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามอรรถอันนั้น แม้เราเองก็พึงพยากรณ์อรรถนั้นเหมือนอย่างที่อานนท์พยากรณ์แล้วนั่นแหละ นั่นเป็นอรรถของอุเทศนั้น และเธอทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.
จบตติยอธรรมสูตรที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 370
อรรถกถาตติยอธรรมสูตรที่ ๓
ตติยอธรรมสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุทฺเทสํ อุทฺทิสิตฺวา ได้แก่ ตั้งบทมาติกา. บทว่า สตฺถุ เจว สํวณฺณิโต ความว่า ท่านพระอานนท์ อันพระศาสดาผู้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ในฐานะ ๕ ประการ ทรงสรรเสริญแล้ว. บทว่า สมฺภาวิโต ความว่า อันเหล่าเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ยกย่องแล้ว ด้วยการยกย่องโดยคุณ. บทว่า ปโหติ แปลว่า ย่อมสามารถ.
บทว่า อติสิตฺวา แปลว่า ล่วงเลย. บทว่า ชานํ ชานาติ แปลว่า ทรงรู้ข้อที่ควรรู้. บทว่า ปสฺสํ ปสฺสติ แปลว่า ทรงเห็นข้อที่ควรเห็น. บทว่า จกฺขุภูโต ได้แก่ ทรงเหมือนมีจักษุบังเกิดแล้ว. บทว่า าณภูโต ได้แก่ ทรงมีความรู้เป็นสภาพ. บทว่า ธมฺมภูโต ได้แก่ ทรงมีธรรมเป็นสภาพ. บทว่า พฺรหฺมภูโต ได้แก่ ทรงเป็นผู้ประเสริฐสุดเป็นสภาพ. บทว่า วตฺตา ได้แก่ ทรงสามารถดำเนินการเอง. บทว่า ปวตฺตา ได้แก่ ทรงใช้ให้ผู้อื่นดำเนินการ. บทว่า อตฺถสฺส นิพฺเพตา ได้แก่ ทรงชักข้อความมาแสดง. บทว่า ยถา โน ภควา แปลว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์แก่พวกเราโดยประการใด.
จบอรรถกถาตติยอธรรมสูตรที่ ๓