พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. อาชินสูตร ว่าด้วยอาชินปริพาชก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39873
อ่าน  371

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 370

ตติยปัณณาสก์

ปัจโจโรหณิวรรคที่ ๒

๔. อาชินสูตร

ว่าด้วยอาชินปริพาชก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 370

๔. อาชินสูตร

ว่าด้วยอาชินปริพาชก

[๑๑๖] ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อว่า อาชินะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 371

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เพื่อนพรหมจรรย์ของข้าพเจ้าทั้งหลายชื่อว่าบัณฑิต เพราะคิดจิตตุปบาทได้ ๕๐๐ ดวง ซึ่งเป็นเครื่องชักถามอัญญเดียรถีย์ทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ทั้งหลายเป็นผู้ถูกข่มขี่แล้ว รู้ตัวว่าถูกข่มขี่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทรงจำเหตุแห่งความเป็นบัณฑิตได้หรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กาลนี้เป็นกาลควร ข้าแต่พระสุคต กาลนี้เป็นกาลควรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงภาษิต ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะอันไม่เป็นธรรมด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะอันไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบิณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม ให้ยินดีด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 372

เสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมและวาทะที่ไม่เป็นธรรมด้วยวาทะที่ไม่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะไม่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันไม่เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่ไม่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรม บริษัทผู้ไม่ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะอันเป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมข่มขี่บีบคั้นวาทะที่เป็นธรรมด้วยวาทะที่เป็นธรรม และย่อมยังบริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมให้ยินดีด้วยวาทะที่เป็นธรรม บริษัทผู้ประกอบด้วยธรรมนั้น ย่อมสรรเสริญเสียงเอ็ดอึงเพราะวาทะที่เป็นธรรมนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ ดูก่อนท่านผู้เจริญ ท่านผู้นี้เป็นบัณฑิตหนอ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 373

เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความดำริผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความดำริชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเจรจาผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเจรจาชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การงานชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเลี้ยงชีพผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การเลี้ยงชีพชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความพยายามผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความพยายามชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความระลึกผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความระลึกชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 374

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความตั้งมั่นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความตั้งมั่นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรู้ผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความรู้ชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความหลุดพ้นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความหลุดพ้นผิดเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์เพราะความหลุดพ้นชอบเป็นปัจจัย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลก็ควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้นั้น เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยเหตุนี้.

จบอาชินสูตรที่ ๔

อรรถกถาอาชินสูตรที่ ๔

อาชินสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อาชิโน ได้แก่ ปริพาชก มีชื่ออย่างนี้. บทว่า จิตฺตฏฺานสตานิ ได้แก่ จิตตุปบาท ๑๐๐ ดวง. บทว่า เยหิ แปลว่า ความประกอบอยู่ด้วยจิตตุปบาท ๑๐๐ ดวงเหล่าใด. บทว่า อุปารทฺธาว ชานนฺติ อุปารทฺธสฺมา ความว่า อัญญเดียรถีย์ ผู้พลาดแล้ว ถือเอาผิดแล้ว ย่อม

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 375

รู้อย่างนี้ว่าเราเป็นผู้พลาดแล้ว เราเป็นผู้ถือเอาผิดแล้ว เราถูกเขายกโทษขึ้นแล้ว ดังนี้. บทว่า ปณฺฑิตวตฺถูนิ แปลว่า เหตุเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นบัณฑิต.

จบอรรถกถาอาชินสูตรที่ ๔