พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39876
อ่าน  369

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 379

ตติยปัณณาสก์

ปัจโจโรหณิวรรคที่ ๒

๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร

ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 379

๗. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร

ว่าด้วยพิธีปลงบาปของพระอริยะ

[๑๑๙] ก็โดยสมัยนั้นแล พราหมณ์ชื่อว่าชาณุสโสณี สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดไปยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นชาณุสโสณีพราหมณ์ ผู้สนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในที่ไม่ไกล ครั้นแล้วได้ตรัสถามชาณุสโสณีพราหมณ์ว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงสนานเกล้าในวันอุโบสถ นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ถือกำหญ้าคาสดมายืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง วันนี้เป็นวันอะไรของสกุลพราหมณ์ ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นวันปลงบาปของสกุลพราหมณ์.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการไรเล่า.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พราหมณ์ทั้งหลายในโลกนี้ ในวันอุโบสถ สนานเกล้า นุ่งห่มผ้าไหมทั้งคู่อันใหม่ ทาแผ่นดินด้วยโคมัยอันสด ลาดด้วยหญ้าคาที่เขียวสดแล้ว สำเร็จการนอนระหว่างกองทรายและเรือนไฟ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมลุกขึ้นประนมอัญชลีนมัสการไฟ ๓ ครั้งในราตรีนั้น ด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอปลงบาปกะท่านผู้เจริญ ดังนี้ และย่อมยังไฟให้อิ่มหนำ ด้วยเนยใส น้ำมันและเนยข้นอันเพียงพอ และโดยล่วงราตรีนั้นไป ก็

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 380

เลี้ยงพราหมณ์ทั้งหลายให้อิ่มหนำด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการอย่างอื่น.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีอย่างไรเล่า ขอประทานพระวโรกาส ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงแสดงธรรมโดยประการที่เป็นพิธีปลงบาป ในวินัยของพระอริยะแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

ชาณุสโสณีพราหมณ์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาทิฏฐิเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ อริยสาวกนั้นครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาทิฏฐิย่อมปลงบาปจากมิจฉาทิฏฐิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสังกัปปะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสังกัปปะย่อมปลงบาปจากมิจฉาสังกัปปะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวาจาเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวาจาย่อมปลงบาปจากมิจฉาวาจา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉากัมมันตะเป็นสิ่งที่ชั่วช้า

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 381

ทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉากัมมันตะย่อมปลงบาปจากมิจฉากัมมันตะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาอาชีวะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาอาชีวะย่อมปลงบาปจากมิจฉาอาชีวะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวายามะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวายามะย่อมปลงบาปจากมิจฉาวายามะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสติเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสติย่อมปลงบาปจากมิจฉาสติ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาสมาธิเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาสมาธิย่อมปลงบาปจากมิจฉาสมาธิ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาญาณะเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาญาณะย่อมปลงบาปจากมิจฉาญาณะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากแห่งมิจฉาวิมุตติเป็นสิ่งที่ชั่วช้าทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพ ครั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ย่อมละมิจฉาวิมุตติย่อมปลงบาปจากมิจฉาวิมุตติ ดูก่อนพราหมณ์ พิธีปลงบาปในวินัยแห่งพระอริยะ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้แล.

ชาณุสโสณีพราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ส่วนพิธีปลงบาปในวินัยของพระอริยะย่อมมีโดยประการอย่างอื่น ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พิธีปลงบาปของพราหมณ์ทั้งหลาย ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพิธีปลงบาป

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 382

ในวินัยแห่งพระอริยะนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญ โปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗

ปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปจฺโจโรหณี ได้แก่ การลอยบาป. บทว่า ปตฺถริตฺวา ได้แก่ ลาด. บทว่า อนฺตรา จ เวลํ อนฺตรา จ อคฺยาคารํ ได้แก่ ระหว่างกองทรายและเรือนไฟ.

จบอรรถกถาปฐมปัจโจโรหณีสูตรที่ ๗