จะตั้งต้นอย่างไร_สนทนาธรรม ไทย - ฮินดี วันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

 
khampan.a
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39907
อ่าน  927

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


"จะตั้งต้นอย่างไร?"

ถอดจากคำสนทนาของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

สนทนาธรรม ไทย - ฮินดี

วันเสาร์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๔

(ดอกบัวที่ มศพ.)



~
เหตุให้เกิดปัญญา คือ เมื่อฟังแล้วต้องคิดไตร่ตรอง ว่า อะไรถูก อะไรผิด

~ คำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลึกซึ้งไหม? เพื่อให้ไม่ลืมว่า คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ลึกซึ้งมาก เพราะฉะนั้น ทุกคำของพระองค์ ประโยชน์ คือ ให้เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ใช่ไหม?

~ ก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุกคน พูดเรื่องอื่นหมด วิชามากมาย ครูเยอะแยะ แต่ไม่มีใครพูดถึงเรื่องสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้ ลึกซึ้งกว่าอย่างอื่นทั้งหมด ใช่ไหม? เพราะถ้าไม่เข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ไม่มีประโยชน์เลย ทุกขณะเป็นสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่เข้าใจสักขณะเดียว

~ สิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ลึกซึ้ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความลึกซึ้ง จึงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว ตรัสว่า ธรรมลึกซึ้ง ยากที่จะรู้ได้

~ ทุกขณะมีสิ่งที่มีจริงแต่ละขณะ แต่ไม่รู้ เพราะฉะนั้น เมื่อไม่รู้จักธรรม จะไม่รู้จักคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสแม้แต่เรื่องปฏิจจสมุปบาท (สิ่งที่มีจริงที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น) แต่เมื่อเริ่มเข้าใจสิ่งที่มีจริงเดี๋ยวนี้ จะเข้าใจทุกคำที่พระองค์ตรัส แม้เดี๋ยวนี้เป็นปฏิจจสมุปบาทอย่างไร

~ เดี๋ยวนี้ ไม่รู้ ใช่ไหม? ไม่รู้ เป็นปฏิจจสมุปบาทหรือเปล่า? จะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร เพราะไม่รู้ เพราะฉะนั้น ความไม่รู้ เป็นเหตุให้เกิดการกระทำต่างๆ

~ ต้องตรงต่อความจริง จึงจะเข้าใจธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

~ ถ้าไม่มีเดี๋ยวนี้ จะพิจารณา จะเข้าใจอะไรไหม? เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ใช่ไหม? เพราะไม่มีอย่างอื่นเลย เดี๋ยวนี้มีแต่สิ่งที่กำลังมี แล้วไม่เข้าใจ จึงต้องเริ่มเข้าใจสิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ ต้องไม่ลืมว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมี เพื่อรู้สิ่งที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ แสดงความลึกซึ้ง ว่า แม้สิ่งที่กำลังมี ก็ไม่รู้ จนกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะบำเพ็ญพระบารมีจนตรัสรู้ความจริงจึงทรงแสดงความจริงให้คนอื่นได้รู้ด้วย นี่คือการเริ่มเห็นคุณและเริ่มมีความเคารพในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ต้องเริ่มฟัง เริ่มคิด เริ่มไตร่ตรองในคำที่ได้ยิน

~ ได้ยินไม่เกิด มีได้ยินไหม?

~ ใครทำให้ได้ยินเกิดได้ไหม?

~ สิ่งที่มีจริงทั้งหมดที่เกิดขึ้นปรากฏว่ามีลักษณะต่างๆ กันแต่ละหนึ่งที่มีจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า เป็นธรรม

~ ทุกครั้งที่ได้ยินและพูดคำว่าธรรม หมายความว่า พูดถึงสิ่งที่มีจริง หนึ่ง ซึ่งเป็นจริงอย่างนั้นเท่านั้น ไม่เป็นอย่างอื่น

~ ได้ยิน เป็นได้ยิน เป็นอื่นได้ไหม? ก่อนฟังธรรม เป็นเราได้ยิน ฟังธรรมแล้ว ได้ยินเป็นเราหรือเปล่า? เพราะฉะนั้น ได้ยินเป็นได้ยิน ไม่มีใครไปทำให้ได้ยินเกิดขึ้น ได้ยินเป็นได้ยินเกิดขึ้น ไม่มีใครทำให้ได้ยินเกิดขึ้น

~ ก่อนได้ยิน มีได้ยินไหม? ได้ยินเมื่อกี้ กับ ได้ยินเดี๋ยวนี้ เป็นได้ยินเดียวกันหรือเปล่า? เพราะฉะนั้น ได้ยินเมื่อกี้อยู่ไหน หาอีกให้กลับมาอีกได้ไหม ทุกอย่างที่กำลังมีเดี๋ยวนี้ เกิดขึ้นแล้วก็หมดไป ใช่ไหม?

~ ต้องเป็นคนตรง ต้องตรงต่อความจริง เปลี่ยนไม่ได้

~ ธรรมทั้งหลาย เป็นอนัตตา เปลี่ยนไม่ได้ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง ทุกคำตรัสถึงความจริงของทุกคำเปลี่ยนไม่ได้ ต้องเข้าใจความจริง จึงจะรู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

~ ต้องมั่นคง ธรรมคือสิ่งที่มีจริง ไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่สิ่งหนึ่งสิ่งใด นี่เป็นสิ่งที่จะต้องมั่นคง ก่อนที่จะศึกษาและเข้าใจธรรมต่อไปได้ มิฉะนั้น จะไม่เข้าใจธรรม

~ ถ้าไม่มีธรรม จะมีอะไรไหม? แต่ไม่รู้ว่าธรรมแต่ละหนึ่ง รวมๆ กัน จึงเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ความจริงแต่ละหนึ่งๆ จนกระทั่งรู้ว่าแต่ละหนึ่ง ไม่สามารถที่จะเป็นอะไรได้ นอกจากเป็นสิ่งที่มีปัจจัยเกิดแล้วดับแล้วไม่กลับมาอีกเลย นี่เป็นสิ่งที่มีจริงที่รู้ได้พิสูจน์ได้ รู้ความจริงได้ในชีวิตประจำวัน

~ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรม ๔๕ พรรษาเพื่อให้เข้าใจสิ่งที่กำลังนี้เดี๋ยวนี้ตามปกติในชีวิตจริงๆ ประจำวัน

~ ฟังคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อเข้าใจสิ่งที่กำลังมีจริงๆ เดี๋ยวนี้

~ ต้องฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอีกนานเท่าไหร่? ตายพรุ่งนี้ได้ไหม? แล้วเข้าใจธรรมหรือยัง? พอหรือยังชาตินี้? เพราะฉะนั้น ความจริงต้องเป็นความจริง ตรงต่อความจริง เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้สามารถเข้าใจความจริงของสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ได้

~ เริ่มต้นใหม่ทุกครั้งที่ฟังธรรม

~ จะตั้งต้นอย่างไร? หมายความว่า คำที่เคยไม่รู้ จะตั้งต้นรู้ เมื่อได้เข้าใจและพูดถึงเรื่องนั้น เพราะฉะนั้น วันนี้ เราเข้าใจอะไรเพราะเราพูดถึงเรื่องนั้น เป็นการเริ่มต้นที่จะเข้าใจคำที่ไม่รู้ ใช่ไหม? เพราะฉะนั้น การเริ่มต้น คือ ทุกอย่างที่ไม่รู้นั่นแหละ เราก็เริ่มต้นจากการสนทนากัน จนกระทั่งมีความเข้าใจขึ้น

~ ความหมายของปฏิจจสมุปบาท คือ สภาพธรรมที่มีปัจจัยเกิดขึ้นด้วยดี ต้องเป็นไปตามปัจจัย

~ ต้องเข้าใจสิ่งที่มีเดี๋ยวนี้ก่อน แล้วจะค่อยๆ รู้ว่าสิ่งนี้เกิดไม่ได้ ถ้าไม่มีปัจจัยที่ทำให้เกิดเฉพาะสิ่งนี้

~ เพียงอ่านเพียงจำ แต่ไม่เข้าใจ ไม่ใช่การนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

~ ต้องศึกษาด้วยความเคารพ ด้วยความละเอียด ด้วยความเข้าใจชัดเจนขึ้น เพิ่มขึ้น จึงรู้พระคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งขึ้น นี่เป็นหนทางเดียวที่จะดำรงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ที่รู้คุณ เป็นผู้กตัญญูต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และทำให้บุคคลอื่นได้เข้าใจธรรมต่อไป

~ ต้องไม่ลืมว่าเคารพพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการศึกษาอย่างละเอียด เพื่อเข้าใจความจริงที่ลึกซึ้งขึ้น จนสามารถที่จะเข้าใจความหมายของคำว่าตรัสรู้ (รู้อย่างแจ่มแจ้ง)


...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ยินดีในความดีของคุณสุคิน ผู้แปลการสนทนา
จากภาษาไทยเป็นภาษาฮินดี
และยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
Jans
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
jaturong
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สัตบงกช
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
palsawangpattanagul
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
เมตตา
วันที่ 6 พ.ย. 2564

ขอบพระคุณและยินดีในกุศลจิต ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
มังกรทอง
วันที่ 7 พ.ย. 2564

ได้ยิน เป็นได้ยิน เป็นอื่นได้ไหม? ก่อนฟังธรรม เป็นเราได้ยิน ฟังธรรมแล้ว ได้ยินเป็นเราหรือเปล่า? เพราะฉะนั้น ได้ยินเป็นได้ยิน ไม่มีใครไปทำให้ได้ยินเกิดขึ้น ได้ยินเป็นได้ยินเกิดขึ้น ไม่มีใครทำให้ได้ยินเกิดขึ้น น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
natthayapinthong339
วันที่ 7 พ.ย. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Lai
วันที่ 9 พ.ย. 2564

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ