พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร ว่าด้วยธรรมที่ทําให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควรทําให้แจ้ง

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39916
อ่าน  337

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 402

ตติยปัณณาสก์

อริยมรรควรรคที่ ๕

๑๐. สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทําให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควรทําให้แจ้ง


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 402

๑๐. สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดง ธรรมที่ควรทำให้แจ้งและธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิ ฯลฯ มิจฉาวิมุตติ นี้เรียกว่า ธรรมที่ไม่ควรทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรทำให้แจ้งเป็นไฉน สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง.

จบสัจฉิกาตัพพธรรมสูตรที่ ๑๐

จบอริยมรรควรรคที่ ๕

อรรถกถาอริยมรรควรรคที่ ๕

อริยมรรควรรคที่ ๕ มีเนื้อความง่ายเหมือนกันแล.

จบอรรถกถาอริยมรรควรรคที่ ๕

จบตติยปัณณาสก์

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 403

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้.

๑. อริยมรรคสูตร ๒. กัณหมรรคสูตร ๓. สัทธรรมสูตร ๔. สัปปุริสธรรมสูตร ๕. อุปปาเทตัพพธรรมสูตร ๖.อาเสวิตัพพธรรมสูตร ๗. ภาเวตัพพธรรมสูตร ๘. พหุลีกาตัพพธรรมสูตร ๙. อนุสสริตัพพธรรมสูตร ๑๐. สัจฉิกาตัพพธรรมสูตร.

จบตติยปัณณาสก์