พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ปุคคลวรรคที่ ๑ ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39917
อ่าน  348

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 404

จตุตถปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๑

ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 404

จตุตถปัณณาสก์

ปุคคลวรรคที่ ๑

ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ มีความดำริผิด ๑ มีการเจรจาผิด ๑ มีการงานผิด ๑ มีการเลี้ยงชีพผิด ๑ มีความพยายามผิด ๑ มีความระลึกผิด ๑ มีความตั้งมั่นผิด ๑ มีความรู้ผิด ๑ มีความหลุดพ้นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ไม่ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ มีความดำริชอบ ๑ มีการเจรจาชอบ ๑ มีการงานชอบ ๑ มีการเลี้ยงชีพชอบ ๑ มีความพยายามชอบ ๑ มีการระลึกชอบ ๑ มีความตั้งมั่นชอบ ๑ มีความรู้ชอบ ๑ มีความหลุดพ้นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ควรเสพ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรคบ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรคบ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรนั่งใกล้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรนั่งใกล้ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 405

ผู้ไม่ควรบูชา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็น ผู้ไม่ควรสรรเสริญ ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นผู้ควรสรรเสริญ ... .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรยำเกรง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่เจริญด้วยปัญญา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ฯลฯ.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 406

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ มีความดำริผิด ๑ มีการเจรจาผิด ๑ มีการงานผิด ๑ มีการเลี้ยงชีพผิด ๑ มีความพยายามผิด ๑ มีความระลึกผิด ๑ มีความตั้งมั่นผิด ๑ มีความรู้ผิด ๑ มีความหลุดพ้นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสบสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ มีความดำริชอบ ๑ มีการเจรจาชอบ ๑ มีการงานชอบ ๑ มีการเลี้ยงชีพชอบ ๑ มีความพยายามชอบ ๑ มีความระลึกชอบ ๑ มีความตั้งมั่นชอบ ๑ มีความรู้ชอบ ๑ มีความหลุดพ้นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสบบุญเป็นอันมาก.

จบปุคคลวรรคที่ ๑

จตุตถปัณณาสก์

อรรถกถาปุคคลวรรคที่ ๑

สูตรที่ ๑ เป็นต้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปุคคลวรรคที่ ๑