พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. สคารวสูตร ว่าด้วยฝั่งนี้และฝั่งโน้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39920
อ่าน  326

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 411

จตุตถปัณณาสก์

ชาณุสโสณีวรรคที่ ๒

๓. สคารวสูตร

ว่าด้วยฝังนี้และฝังโน้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 411

๓. สคารวสูตร

ว่าด้วยฝั่งนี้และฝั่งโน้น

[๑๕๘] ครั้งนั้นแล สคารวพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นฝั่งนี้ อะไรเป็นฝั่งโน้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปาณาติบาตเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากปาณาติบาตเป็นฝั่งโน้น อทินนาทานเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากอทินนาทานเป็นฝั่งโน้น กาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารเป็นฝั่งโน้น มุสาวาทเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากมุสาวาทเป็นฝั่งโน้น ปิสุณาวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากปิสุณาวาจาเป็นฝั่งโน้น ผรุสวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากผรุสวาจาเป็นฝั่งโน้น สัมผัปปลาปวาจาเป็นฝั่งนี้ เจตนาเครื่องเว้นจากสัมผัปปลาปวาจาเป็นฝั่งโน้น อภิชฌาเป็นฝั่งนี้ อนภิชฌาเป็นฝั่งโน้น พยาบาทเป็นฝั่งนี้ อพยาบาทเป็นฝั่งโน้น มิจฉาทิฏฐิเป็นฝั่งนี้ สัมมาทิฏฐิเป็นฝั่งโน้น ดูก่อนพราหมณ์ นี้แลเป็นฝั่งนี้ นี้แลเป็นฝั่งโน้น.

"ในหมู่มนุษย์ เหล่าชนที่ไปถึงฝั่งโน้นมีประมาณน้อย ส่วนหมู่สัตว์นอกนี้เลาะไปตามฝั่งทั้งนั้น ส่วนชนเหล่าใดประพฤติตามธรรม ในธรรมอันพระตถาคตตรัสแล้วโดยชอบ ชนเหล่านั้นจักข้ามพ้นวัฏฏะ อันเป็นบ่วงมารที่ข้ามพ้นได้แสนยาก แล้วจักถึงฝั่ง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 412

โน้น คือนิพพาน บัณฑิตละธรรมดำเสียแล้ว พึงยังธรรมขาวให้เจริญ บัณฑิตละกามทั้งหลายแล้ว เป็นผู้ไม่มีกังวล ออกจากความอาลัย อาศัยธรรมไม่มีความอาลัย พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวกที่ยินดีได้แสนยาก บัณฑิตพึงชำระตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมองจิตทั้งหลาย บัณฑิตเหล่าใดอบรมจิตโดยชอบในองค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ทั้งหลาย ไม่ถือมั่นแล้ว ยินดีในนิพพานเป็นที่สละความถือมั่น บัณฑิตเหล่านั้นสิ้นอาสวะมีความรุ่งเรือง ดับสนิทแล้วในโลก."

จบสคารวสูตรที่ ๓