พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทุติยอธรรมสูตร ว่าด้วยธรรมที่บุคคลควรทราบ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39923
อ่าน  325

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 414

จตุตถปัณณาสก์

ชาณุสโสณีวรรคที่ ๒

๖. ทุติยอธรรมสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บุคคลควรทราบ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 414

๖. ทุติยอธรรมสูตร

ว่าด้วยธรรมที่บุคคลควรทราบ

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตครั้นตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว เสด็จ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 415

ลุกขึ้นจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลีกไปแล้วไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นได้พูดกันดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งเป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบ สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ได้ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหารเสีย ใครหนอแลพึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารได้ ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระมหากัจจายนะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่อง ท่านพระมหากัจจายนะคงสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ พวกเราพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถข้อนี้กะท่านพระมหากัจจายนะเถิด ท่านพระมหากัจจายนะจักพยากรณ์แก่เราทั้งหลายด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำเนื้อความนั้นไว้ด้วยประการนั้น ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจายนะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจายนะว่า ดูก่อนท่านกัจจายนะผู้มีอายุ พระผู้พระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 416

เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงหลีกไปแล้วไม่นาน กระผมทั้งหลายได้พูดกันดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแลพึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ดังนี้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ กระผมทั้งหลายได้มีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระมหากัจจายนะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญแล้วและเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่องแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะคงสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถข้อนี้กะท่านพระมหากัจจายนะเถิด ท่านพระมหากัจจายนะจักพยากรณ์แก่เราทั้งหลายด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้น ขอท่านพระมหากัจจายนะโปรดจำแนกเถิด.

ท่านพระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษต้องการแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ล่วงเลยรากไปเสีย ล่วงเลยลำต้นไปเสีย พึงสำคัญกิ่งและใบว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 417

เป็นแก่นไม้ที่ตนพึงแสวงหา แม้ฉันใด ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาประทับอยู่เฉพาะหน้าท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายผ่านพ้นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเสียแล้ว ย่อมสำคัญอรรถอันนั้นว่าควรถามข้าพเจ้า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้มีจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ตรัสบอก ทรงให้เป็นไป ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็น ก็แลกาลนั้นเป็นกาลควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ท่านทั้งหลายเข้าไปเฝ้าแล้ว พึงทูลถามอรรถอันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงพยากรณ์ด้วยประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นเถิด.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ดูก่อนท่านพระกัจจาตนะผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้มีจักษุ มีพระญาณ มีธรรม เป็นผู้ยิ่งใหญ่ เป็นผู้ตรัสบอก ทรงให้เป็นไป ทรงแสดงประโยชน์ ประทานอมตธรรม เป็นเจ้าของธรรม เป็นพระตถาคต ทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ ทรงเห็นธรรมที่ควรเห็นโดยแท้ ก็แลกาลนั้นเป็นกาลควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าที่กระผมทั้งหลายเข้าไปเฝ้าแล้วพึงทูลถามอรรถนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงพยากรณ์ด้วยประการใด กระผมทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้น ก็แต่ว่าท่านพระมหากัจจายนะ พระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่อง ท่านพระมหากัจจายนะย่อมสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ได้ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจายนะไม่ทำความหนักใจแล้ว จงจำแนกเถิด.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 418

ท่านพระมหากัจจายนะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้นท่านทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจายนะแล้ว ท่านพระมหากัจจายนะได้กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ได้ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ก็สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เป็นไฉน สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การลักทรัพย์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 419

อกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การพูดเท็จเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนา

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 420

เครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการพูดเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย การอยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การไม่อยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะการอยากได้ของผู้อื่นเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะความไม่อยากได้ของผู้อื่นเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความปองร้ายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความไม่ปองร้ายเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความปองร้ายเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะความไม่ปองร้ายเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อยที่เกิดขึ้นเพราะความเห็นผิดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อยย่อมถึงความเจริญเต็มที่เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์.

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงแสดงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 421

ธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราย่อมรู้อรรถแห่งอุเทศอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกโดยพิสดารนี้ได้โดยพิสดาร ด้วยประการอย่างนี้ ก็แลท่านทั้งหลายจำนงอยู่ พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพึงทูลถามอรรถนั้นเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายทรงพยากรณ์ด้วยประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้นเถิด.

ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระมหากัจจายนะ ชื่นชมอนุโมนาภาษิตของท่านพระมหากัจจายนะแล้ว ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศโดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พูดกันว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ ฯลฯ พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดังนี้ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารแก่เราทั้งหลาย เสด็จลุกจากอาสนะเข้าไปสู่พระวิหาร ใครหนอแล พึงจำแนกอรรถแห่งอุเทศอันพระผู้มี-

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 422

พระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านั้นแลได้มีความเห็นร่วมกันว่า ท่านพระมหากัจจายนะนี้แล พระศาสดาทรงสรรเสริญและเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้เป็นวิญญูยกย่อง ท่านพระมหากัจจายนะ คงสามารถเพื่อจำแนกอรรถแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยย่อ ไม่ทรงจำแนกอรรถโดยพิสดารนี้โดยพิสดารได้ ไฉนหนอ เราทั้งหลายพึงเข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วพึงถามอรรถข้อนั้นกะท่านพระมหากัจจายนะเถิด ท่านพระมหากัจจายนะจักพยากรณ์แก่เราทั้งหลายด้วยประการใด เราทั้งหลายจักทรงจำอรรถนั้นไว้ด้วยประการนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลายได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ถามอรรถข้อนั้นกะท่านพระมหากัจจายนะ ท่านพระมหากัจจยนะได้จำแนกอรรถด้วยดีแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้ พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดีแล้ว ดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหากัจจายนะเป็นบัณฑิต มหากัจจายนะเป็นผู้มีปัญญามาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากเธอทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วถามอรรถข้อนั้น แม้เราพึงพยากรณ์อรรถข้อนั้นอย่างที่มหากัจจายนะพยากรณ์แล้วนั้นแหละ นั่นเป็นอรรถแห่งอุเทศนั้นและเธอทั้งหลายพึงทรงจำอรรถนั้นไว้อย่างนั้นเถิด.

จบทุติยอธรรมสูตรที่ ๖