พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. สปริกกมนสูตร ว่าด้วยธรรมที่ควรงดเว้นและธรรมที่ไม่ควรงดเว้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39926
อ่าน  328

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 426

จตุตถปัณณาสก์

ชาณุสโสณีวรรคที่ ๒

๙. สปริกกมนสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรงดเว้นและธรรมที่ไม่ควรงดเว้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 426

๙. สปริกกมนสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรงดเว้นและธรรมที่ไม่ควรงดเว้น

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ควรงดเว้น มิใช่ธรรมที่ไม่ควรงดเว้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมนี้ควรงดเว้น มิใช่ธรรมที่ไม่ควรงดเว้นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ของบุคคลผู้ฆ่าสัตว์ เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง การงดเว้นจากการลักทรัพย์ของบุคคลผู้ลักทรัพย์ เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามของบุคลผู้ประพฤติผิดในกาม เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง การงดเว้นจากการพูดเท็จของบุคคลผู้พูดเท็จ เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง การงดเว้นจากการพูดส่อเสียดของบุคคลผู้ส่อเสียด เป็นการงดเว้น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 427

อย่างหนึ่ง การงดเว้นจากการพูดคำหยาบของบุคคลผู้พูดคำหยาบ เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง การงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อของบุคคลผู้พูดเพ้อเจ้อ เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง ความไม่อยากได้ของผู้อื่นของบุคคลผู้มีความอยากได้ของผู้อื่น เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง ความไม่ปองร้ายของบุคคลผู้ปองร้าย เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง ความเห็นชอบของบุคคลผู้มีความเห็นผิด เป็นการงดเว้นอย่างหนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงดเว้นย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ธรรมนี้ควรงดเว้น มิใช่ธรรมที่ไม่ควรงดเว้น ด้วยประการอย่างนี้แล.

จบสปริกกมนสูตรที่ ๙

อรรถกถาสปริกกมนสูตรที่ ๙

สปริกกมนสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ปริกฺกมนํ โหติ ได้แก่ ความงดเว้นย่อมมี.

จบอรรถกถาสปริกกมนสูตรที่ ๙