พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๑. ชาณุสโสณีสูตร ว่าด้วยการอุทิศทานให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39928
อ่าน  545

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 435

จตุตถปัณณาสก์

ชาณุสโสณีวรรคที่ ๒

๑๑. ชาณุสโสณีสูตร

ว่าด้วยการอุทิศทานให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 435

๑๑. ชาณุสโสณีสูตร

ว่าด้วยการอุทิศทานให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว

[๑๖๖] ครั้นนั้นแล ชาณุสโสณีพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูล ถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านโคดมผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าได้นามว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมให้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้ต้องสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้ว ขอญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วจงบริโภคทานนี้ ท่านโคดมผู้เจริญ ทานนั้นย่อมสำเร็จแก่ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วหรือ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วเหล่านั้นย่อมได้บริโภคทานนั้นหรือ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมสำเร็จในฐานะแล ย่อมไม่สำเร็จในอฐานะ.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 436

ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ฐานะเป็นไฉน อฐานะเป็นไฉน.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตปองร้าย มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในนรกนั้น ด้วยอาหารของสัตว์นรก ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นอฐานะ.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น ย่อมตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานนั้น เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ดูก่อนพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพในมนุษยโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในมนุษย์นั้นด้วยอาหารของมนุษย์ ดูก่อนพราหมณ์ แม้ฐานะอันเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 437

สหายของเทวดา เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเทวโลกนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเทวโลกนั้น ด้วยอาหารของเทวดา ดูก่อนพราหมณ์ แม้ฐานะเป็นที่ไม่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล ก็เป็นอฐานะ.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงเปรตวิสัย เขาย่อมเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัย ด้วยอาหารของสัตว์ผู้เกิดในเปรตวิสัย หรือว่ามิตร อำมาตย์ หรือญาติสาโลหิตของเขา ย่อมเพิ่มให้ซึ่งปัตติทานมัยจากมนุษยโลกนี้ เขาเลี้ยงอัตภาพอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ย่อมตั้งอยู่ในเปรตวิสัยนั้น ด้วยปัตติทานมัยนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะอันเป็นที่เข้าไปสำเร็จแห่งทานแก่สัตว์ผู้ตั้งอยู่นี้แล เป็นฐานะ.

ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ที่เข้าถึงฐานะนั้นมีอยู่ ญาติสาโลหิตเหล่านั้นย่อมบริโภคทานนั้น.

ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ก็ถ้าญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น และญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วแม้เหล่าอื่นของทายกนั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าจะบริโภคทานนั้น.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสาโลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะมิใช่โอกาสที่จะมีได้ อีกประการหนึ่ง แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.

ชา. ท่านโคดมผู้เจริญ ย่อมตรัสกำหนดแม้ในอฐานะหรือ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 438

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เรากล่าวกำหนดแม้ในอฐานะ ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้าง เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของช้างด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีป แก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดช้างนั้น ด้วยกรรมนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของม้า ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของโค ฯลฯ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัข เขาย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดสุนัขนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของสุนัขด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ ผู้นั้นย่อมได้ข้าว น้ำ มาลา และเครื่องอลังการต่างๆ ในกำเนิดสุนัขนั้น ด้วยกรรมนั้น.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 439

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกมนุษย์ เขาย่อมได้เบญจกามคุณ อันเป็นของมนุษย์ในมนุษยโลกนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ ไม่มีความอยากได้ของผู้อื่น มีจิตไม่ปองร้าย มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของมนุษย์ ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นของมนุษย์ในมนุษยโลกนั้น ด้วยกรรมนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ บุคคลนั้นย่อมให้ข้าว น้ำ ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา เขาย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่บุคคลเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ผู้นั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของพวกเทวดา ด้วยกรรมนั้น และข้อที่ผู้นั้นเป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน มาลา ของหอม เครื่องลูบไล้

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 440

ที่นอน ที่พัก และเครื่องประทีปแก่สมณพราหมณ์ บุคคลนั้นย่อมได้เบญจกามคุณอันเป็นทิพย์ในเทวโลกนั้น ด้วยกรรมนั้น ดูก่อนพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีแล้ว ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผลนี้ เป็นของควรเพื่อให้ทานโดยแท้ เป็นของควรเพื่อกระทำศรัทธาโดยแท้.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อนี้เป็นอย่างนี้ๆ ดูก่อนพราหมณ์ แม้ทายกก็เป็นผู้ไม่ไร้ผล.

ชา. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบชาณุสโสณีสูตรที่ ๑๑

จบชาณุสโสณีวรรคที่ ๒

อรรถกถาชาณุสโสณีสูตรที่ ๑๑

ชาณุสโสณีสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อุปกปฺปตุ แปลว่า บรรลุ. บทว่า าเน ได้แก่ ในโอกาส. บทว่า โน อฏฺาเน ได้แก่ มิใช่ฐานะหามิได้. กรรมที่ให้บังเกิดในนรกนั่นแล ชื่อว่าอาหารของเหล่าสัตว์นรก ด้วยว่าเหล่าสัตว์นรกนั้น ดำเนินไปได้ในนรกนั้น ก็ด้วยกรรมนั้นนั่นแล. ส่วนอาหารของเหล่าสัตว์เดียรัจฉาน ก็พึงทราบ คือใบหญ้าเป็นต้น. ของเหล่ามนุษย์ ก็คือข้าวสุก

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 441

ขนมสดเป็นต้น ของทวยเทพ ก็คือสุทธาโภชน์อาหารทิพย์เป็นต้น ของเหล่าสัตว์ที่เกิดในปิตติวิสัยแดนเปรต ก็คือน้ำลาย น้ำมูกเป็นต้น. บทว่า ยํ วา ปนสฺส อิโต อนุปฺปเวจฺฉนฺติ ความว่า เหล่ามิตรเป็นต้น ให้ทานส่งอุทิศผลบุญอันใดไปจากโลกนี้ เหล่าสัตว์ที่เกิดในปิตติวิสัยแดนเปรตเท่านั้น ย่อมเป็นอยู่ได้ด้วยผลบุญอันนั้น ที่บุคคลอื่นอุทิศไปให้. ผลบุญที่คนเหล่านั้นอุทิศให้ ไม่สำเร็จแก่สัตว์เหล่าอื่น.

บทว่า ทายโกปิ อนิปฺผโล ความว่า ทานที่ถวายนั้น มุ่งหมายสัตว์ใด จะสำเร็จหรือไม่ก็ตามที ส่วนทายกก็ไม่อาจจะไร้ผล ทายกย่อมได้ผลแห่งทานนั้นโดยแท้. ในบทว่า อฏฺาเนปิ ภวํ โคตโม ปริกปฺปํ วทติ ชาณุสโสณีพราหมณ์ถามว่า เมื่อญาตินั้นไม่เกิดขึ้นในที่มิใช่โอกาส ท่านพระโคดม ยังบัญญัติว่า ผลทานยังจะสำเร็จอยู่อีกหรือ. จริงอยู่ พราหมณ์มีลัทธิถือว่า ผลทานที่ให้อย่างนี้ ทายกผู้ให้ย่อมไม่ได้. ครั้นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าพระทัยปัญหาของชาณุสโสณีพราหมณ์นั้น เพื่อทรงแสดงว่า ธรรมดาทายกบังเกิดในสถานที่ๆ อาศัยผลบุญเลี้ยงชีวิต แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่อมได้ผลแห่งทานทั้งนั้น จึงตรัสว่า อิธ พฺราหฺมณ เป็นต้น. บทว่า โส ตตฺถ ลาภี โหติ ความว่า ทายกนั้นแม้บังเกิดในกำเนิดช้าง กำเนิดสัตว์เดียรัจฉานนั้น ก็ได้ตำแหน่งช้างมงคลหัตถี. แม้ในสัตว์มีม้าเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๑

จบอรรถกถาชาณุสโสณีวรรคที่ ๒

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 442

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้

๑. ปฐมปัจโจโรหณีสูตร ๒. ทุติยปัจโจโรหณีสูตร ๓. สคารวสูตร ๔. โอริมสูตร ๕. ปฐมอธรรมสูตร ๖. ทุติยอธรรมสูตร ๗. ตติยอธรรมสูตร ๘. ติวิธสูตร ๙. สปริกกมนสูตร ๑๐. จุนทสูตร ๑๑. ชาณุสโสณีสูตร