พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

เสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕ ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเสพ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  6 พ.ย. 2564
หมายเลข  39950
อ่าน  408

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 456

จตุตถปัณณาสก์

เสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕

ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเสพ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 456

เสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕ (๑)

ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเสพ

[๑๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ พูดผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ มีความอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตปองร้าย ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ไม่ควรเสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย ธรรม ๑๐ ประการ ควรเสพ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูดคำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่คิดปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ควรเสพ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรคบ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรคบ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ไม่ควรเข้าไปนั่งใกล้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ควรเข้าไปนั่งใกล้ ฯลฯ.


(๑) วรรคที่ ๕ ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 457

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรบูชา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรบูชา ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรสรรเสริญ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรสรรเสริญ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรเคารพ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรเคารพ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ผู้ไม่ควรยำกรง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรยำเกรง ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ไม่ควรให้ยินดี ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นผู้ควรให้ยินดี ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมไม่บริสุทธิ์ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมบริสุทธิ์ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะไม่ได้ ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมครอบงำมานะได้ ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 458

ไม่เจริญด้วยปัญญา ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมเจริญด้วยปัญญา ฯลฯ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพสิ่งที่มิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อ ๑ มีความอยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตคิดปองร้าย ๑ มีความเห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพสิ่งมิใช่บุญเป็นอันมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือบุคคลเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ จากการลักทรัพย์ ๑ จากการประพฤติผิดในกาม ๑ จากการพูดเท็จ ๑ จากการพูดส่อเสียด ๑ จากการพูดคำหยาบ ๑ จากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ มีจิตไม่คิดปองร้าย ๑ มีความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล ย่อมประสพบุญเป็นอันมาก.

จบเสวิตัพพาเสวิตัพพวรรคที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์