พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ปฐมกรรมสูตร ว่าด้วยความสุดสิ้นแห่งกรรม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 พ.ย. 2564
หมายเลข  39958
อ่าน  439

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 470

ปัญจมปัณณาสก์

ปฐมวรรคที่ ๑

๖. ปฐมกรรมสูตร

ว่าด้วยความสุดสิ้นแห่งกรรม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 470

๖. ปฐมกรรมสูตร (๑)

ว่าด้วยความสุดสิ้นแห่งกรรม

[๑๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล อันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมเวทนียะ) ในอัตภาพถัดไป (อุปปัชชเวทนียะ) หรือในอัตภาพต่อๆ ไป (อปราปรเวทนียะ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ในข้อนั้น ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก ความวิบัติอันเป็นโทษ


(๑) อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๗.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 471

แห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ผู้หยาบช้า มีมือชุ่มด้วยโลหิต ตั้งอยู่ในการฆ่าและการทุบตี ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์มีชีวิตทั้งปวง ๑ เป็นผู้ลักทรัพย์ คือถือเอาวัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น ซึ่งอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ เป็นผู้ประพฤติผิดในกาม คือเป็นผู้ประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา ผู้มีสามี ผู้มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีผู้มีบุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้พูดเท็จ คือเขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางเสนา หรือในท่ามกลางแห่งราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงพูดสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้กล่าวว่ารู้ หรือเมื่อรู้ก็กล่าวว่าไม่รู้ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่าเห็น หรือเมื่อเห็นก็กล่าวว่าไม่เห็น เป็นผู้กล่าวเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง เพราะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 472

เหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ด้วยประการดังนี้ ๑ เป็นผู้พูดส่อเสียด คือฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น ยุยงคนทั้งหลายผู้สามัคคีกันให้แตกกัน หรือส่งเสริมคนทั้งหลายผู้แตกกันแล้ว ชอบความแยกกัน ยินดีความแยกกัน เพลิดเพลินในความแยกกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้แยกกัน ๑ เป็นผู้พูดคำหยาบ คือกล่าววาจาที่หยาบคายกล้าแข็ง เดือดร้อนผู้อื่น เสียดสีผู้อื่น ใกล้ต่อความโกรธ ไม่เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ เป็นผู้พูดเพ้อเจ้อ คือกล่าวไม่ถูกกาล กล่าวไม่จริง กล่าวไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย กล่าววาจาที่ไม่มีหลักฐาน ไม่มีที่อ้างอิง ไม่มีที่สุด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันไม่ควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษ แห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบากอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้อยากได้ของผู้อื่น คืออยากได้วัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉนหนอวัตถุอันเป็นเครื่องอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น พึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีจิตคิดปองร้าย คือมีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงถูกฆ่า จงถูกทำลาย จงขาดสูญ จงพินาศ หรืออย่าได้เป็นแล้ว ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นผิด คือมีความเห็นอันวิปริตว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล การบูชาไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วไม่มี

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 473

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาไม่มี บิดาไม่มี สัตว์ผู้เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และปรโลกให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม ไม่มีในโลก ดังนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นอกุศล ย่อมมีทุกข์เป็นกำไร มีทุกข์เป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นนั่นเอง ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล เพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล หรือเพราะเหตุแห่งความวิบัติอันเป็นโทษแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นอกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแล ย่อมเกิดในปัจจุบัน

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 474

ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในข้อนั้น สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง มีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง ๑ ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ ไม่ถือเอาวัตถุเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น อันอยู่ในบ้านหรืออยู่ในป่า ที่เจ้าของมิได้ให้ ด้วยจิตเป็นขโมย ๑ ละการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม ไม่ถึงความประพฤติล่วงในสตรีที่มารดารักษา บิดารักษา พี่ชายน้องชายรักษา พี่สาวน้องสาวรักษา ญาติรักษา ธรรมรักษา มีสามี มีอาชญาโดยรอบ โดยที่สุดแม้สตรีที่บุรุษคล้องแล้วด้วยพวงมาลัย ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล มีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างไร ดูก่อน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 475

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เขาอยู่ในสภา ในบริษัท ในท่ามกลางญาติ ในท่ามกลางอำมาตย์ หรือในท่ามกลางราชสกุล ถูกผู้อื่นนำไปเป็นพยานซักถามว่า มาเถิดบุรุษผู้เจริญ ท่านรู้สิ่งใดจงกล่าวสิ่งนั้น บุคคลนั้นเมื่อไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ หรือเมื่อรู้ก็บอกว่ารู้ เมื่อไม่เห็นก็บอกว่าไม่เห็น หรือเมื่อเห็นก็บอกว่าเห็น ไม่เป็นผู้พูดเท็จทั้งรู้ เพราะเหตุแห่งตนบ้าง เพราะเหตุแห่งผู้อื่นบ้าง หรือเพราะเหตุเห็นแก่อามิสเล็กน้อยบ้าง ๑ ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ไม่ฟังข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายคนหมู่นี้ หรือฟังข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายคนหมู่โน้น เป็นผู้สมานคนที่แตกกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่สามัคคีกันแล้ว ชอบคนที่พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าววาจาที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน ๑ ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าววาจาที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ ๑ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ อิงธรรม อิงวินัย พูดแต่คำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบากอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่อยากได้ของผู้อื่น ไม่อยากได้วัตถุอันเป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่นว่า ไฉน

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 476

หนอ วัตถุที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจแห่งผู้อื่นของบุคคลอื่น พึงเป็นของเรา ดังนี้ ๑ เป็นผู้ไม่มีจิตคิดปองร้าย ไม่มีความดำริในใจอันชั่วร้ายว่า ขอสัตว์เหล่านี้จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความมุ่งร้ายกัน ไม่มีทุกข์ มีสุข รักษาตนเถิด ดังนี้ ๑ เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความเห็นไม่วิปริตว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การเซ่นสรวงมีผล การบูชามีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดีทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มีอยู่ โลกหน้ามีอยู่ มารดามีอยู่ บิดามีอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้เป็นอุปปาติกะมีอยู่ สมณพราหมณ์ผู้ดำเนินไปโดยชอบ ผู้ปฏิบัติชอบ ผู้ทำโลกนี้และโลกหน้าให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีอยู่ในโลก ดังนี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ย่อมมีสุขเป็นกำไร มีสุขเป็นวิบาก อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแก้วมณี ๔ เหลี่ยมที่บุคคลโยนขึ้นข้างบน ตกลงมาทางเหลี่ยมใดๆ ก็ย่อมตั้งอยู่ตามเหลี่ยมที่ตั้งลงมานั้นนั่นเอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางกาย ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล เพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงานทางวาจา ๔ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติแห่งการงาน

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 477

ทางใจ ๓ อย่าง อันมีความตั้งใจเป็นกุศล ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบปฐมกรรมสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมกรรมสูตรที่ ๗ (๑)

ปฐมกรรมสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สญฺเจตนิกานํ ได้แก่ ที่จงใจ หมายใจ กระทำแล้ว. บทว่า อุปจิตานํ ได้แก่ ที่ก่อสร้าง ให้ขยายตัวขึ้น. บทว่า อปฺปฏิสํวิทิตฺวา ได้แก่ ยังไม่เสวยวิบากแห่งความแก่นั้น. บทว่า พยนฺตีภาวํ ได้แก่ ความที่กรรมยังไม่หมดไป คือเหตุรอบทางที่กรรมเหล่านั้นกำหนดไว้. บทว่า ตญฺจ โข ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า ทิฏฐธรรมเวทนียกรรมย่อมให้ผลนั้นแลในปัจจุบัน. บทว่า อุปปชฺเช ความว่า อุปปัชชเวทนียกรรมย่อมให้ผลในภพต่อไป. บทว่า อปเร วา ปริยาเย ความว่า ส่วนอปราปรเวทนียกรรม เมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏฏ์ ย่อมให้ผลถึงแสนอัตภาพทีเดียว ด้วยบทนี้ ทรงแสดงความดังนี้ว่า ในกรรมที่เหมาะสมแก่วิบากที่ได้แล้ว ในเมื่อสัตว์ยังดำเนินไปในสังสารวัฏฏ์ ไม่มีประเทศแห่งแผ่นดินที่สัตว์ดำรงอยู่แล้วจะพึงพ้นจากบาปกรรมไปได้. บทว่า ติวิธํ แปลว่า ๓ ประการ. บทว่า กายกมฺมนฺตสนฺโทสพฺยาปตฺติ แปลว่า วิบัติ กล่าวคือโทษแห่งกายกรรม. พึงทราบบททุกบท โดยนัยนี้.

จบอรรถกถาปฐมกรรมสูตรที่ ๗


(๑) อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๗ แก้บาลีข้อ ๑๙๔ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ ๖ ในวรรคนี้.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 478

อรรถกถาสูตรที่ ๘ (๑)

สูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปณฺณโก มณิ ได้แก่ ลูกบาศก์สี่เหลี่ยมโดยรอบ.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๘


(๑) อรรถกถาเป็นสูตรที่ ๘ แต่แก้บาลีข้อ ๑๙๔ ซึ่งเป็นสูตรที่ ๖ ในวรรคนี้.