พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ตติยกรรมสูตร ว่าด้วยการทําที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทํา

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 พ.ย. 2564
หมายเลข  39960
อ่าน  346

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 481

ปัญจมปัณณาสก์

ปฐมวรรคที่ ๑

๘. ตติยกรรมสูตร

ว่าด้วยการทําที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทํา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 481

๘. ตติยกรรมสูตร

ว่าด้วยการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจทำ

[๑๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวความสิ้นสุดแห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น ก็วิบากนั้นแลอันสัตว์ผู้ทำพึงได้เสวยในปัจจุบัน ในอัตภาพถัดไป หรือในอัตภาพต่อๆ ไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่รู้แล้ว ย่อมไม่กล่าวการทำที่สุดทุกข์แห่งกรรมที่สัตว์ตั้งใจกระทำสั่งสมขึ้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกนั้นนั่นแล เป็นผู้ปราศจากอภิชฌา ปราศจากพยาบาท ไม่ลุ่มหลง มีสัมปชัญญะ มีสติเฉพาะหน้า มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็น

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 482

จิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้นย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญเมตตาเจโตวิมุตติไซร้ พึงทำบาปกรรมบ้างหรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมแลหรือ.

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้ที่ไหน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมตตาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษพึงเจริญแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาปกรรมนั้นทั้งหมด เป็นกรรมอันเราพึงเสวยในอัตภาพนี้ จักไม่ติดตามไป ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติอันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งในธรรมวินัยนี้อมรมแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระอริยสาวกมีจิตประกอบด้วยกรุณา มุทิตา อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกันโดยนัยนี้ ทั้งทิศเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยจิตอันประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 483

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ อริยสาวกนั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า ในกาลก่อนแล จิตของเรานี้เป็นจิตเล็กน้อย เป็นจิตไม่ได้อบรมแล้ว แต่บัดนี้ จิตของเรานี้ เป็นจิตหาประมาณมิได้ เป็นจิตอบรมดีแล้ว ก็กรรมที่ทำแล้วพอประมาณอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ย่อมไม่เหลืออยู่ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของเรานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน คือหากว่าในเวลายังเป็นเด็ก เด็กนี้พึงเจริญ อุเบกาขาเจโตวิมุตติไซร้ พึงกระทำบาปกรรมบ้างหรือ.

ภิ. ไม่ใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ก็ทุกข์จะพึงถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมแลหรือ.

ภิ. มิใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าทุกข์จักถูกต้องบุคคลผู้ไม่ทำบาปกรรมได้แต่ที่ไหน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้ อันสตรีหรือบุรุษพึงเจริญแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มิได้มีส่วนอันสตรีหรือบุรุษจะพึงพาเอาไปได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพนี้ เป็นผู้มีจิตเป็นเหตุ สัตว์นั้นย่อมรู้อย่างนี้ว่า บาปกรรมไรๆ ของเรา อันกรัชกายนี้ทำแล้วในกาลก่อน บาปกรรมนั้นทั้งหมด อันเราจะพึงเสวยในอัตภาพ จักไม่ติดตามไปดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขาเจโตวิมุตติอันภิกษุผู้มีปัญญา ผู้ยังไม่แทงตลอดวิมุตติอันยิ่งในธรรมวินัยนี้เจริญแล้ว ด้วยประการอย่างนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

จบตติยกรรมสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 484

อรรถกถาสูตรที่ ๙ (๑)

สูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ที่เป็นวิบาก หรือทุกข์ในวัฎฏะ ในสูตรนี้ ไม่มีข้ออุปมาด้วยลูกบาศก์. คำว่า เอวํ ในบทว่า เอวํ วิคตาภิชฺโฌ นี้เป็นเพียงนิบาต. อีกนัยหนึ่งชนทั้งหลายเจริญเมตตา ย่อมเป็นผู้ปราศจากอภิชฌาฉันใด พระอริยสาวกก็เป็นผู้ปราศจากอภิชฌาฉันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการที่พระอริยสาวกนั้นข่มนิวรณ์ได้ ด้วยความเป็นผู้ปราศจากอภิชฌาเป็นต้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะตรัสนิสสรณะการแล่นออกไปจากอกุศล จึงตรัสว่า เมตฺตาสหคเตน เป็นต้น. บทว่า อปฺปมาณํ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีประมาณ เพราะเป็นผู้มีสัตว์ไม่มีประมาณเป็นอารมณ์ หรือเพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสั่งสมแล้ว กามาวจรกรรม ชื่อว่ากรรมที่ทำโดยประมาณ. บทว่า น ตํ ตตฺราวติฏฺติ ความว่า กามาวจรกรรมนั้นไม่อาจถือโอกาสของตนตั้งอยู่ได้ เหมือนน้ำเล็กน้อยในห้วงน้ำใหญ่ ที่แท้กรรมที่ไม่มีประมาณนี้เท่านั้น ครอบงำกามาวจรกรรมนั้นเหมือนน้ำเล็กน้อยในห้วงน้ำ ย่อมทำวิบากของตนให้บังเกิด.

บทว่า ทหรตคฺเค แปลว่า ตั้งแต่เป็นเด็ก. บทว่า นายํ กาโย อาทาย คมนีโย ความว่า ไม่อาจพากายนี้ไปยังปรโลกได้. บทว่า จิตฺตนฺตโร แปลว่า มีจิตเป็นเหตุ. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า เป็นไปในลำดับโดยจิตนั้นแล. อธิบายว่า จริงอยู่ จะชื่อว่าเทวะ ชื่อว่าสัตว์นรก ชื่อว่าสัตว์เดียรัจฉาน ก็เพราะปฏิสนธิจิตดวงที่ ๒ ในลำดับแห่งจุติจิตดวงที่ ๑ นั่นแล. แต่ในนัยต้น จะเป็นเทวะ หรือสัตว์นรก ก็ด้วยทั้งจิตที่เป็น


(๑) อรรถกถาแก้บาลีข้อ ๑๙๖ ซึ่งเป็นพระสูตรที่ ๘ ในวรรคนี้.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 485

ตัวเหตุ. บทว่า สพฺพนฺตํ อิธ เวทนียํ นี้ ตรัสด้วยอำนาจส่วนแห่งทิฏฐธรรมเวทนียกรรม. บทว่า น ตํ อนุภิสฺสติ ความว่า จักเป็นกรรมที่ไม่ดำเนินตามด้วยอำนาจอุปปัชชเวทนียกรรม เพราะความเป็นอุปปัชชเวทนียกรรมถูกเมตตาตัดขาดแล้ว. แต่ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นปัจจเวกขณญาณของพระอริยบุคคล คือพระโสดาบัน และพระสกทาคามี. บทว่า อนาคามิตาย ได้แก่ เพื่อความเป็นพระอนาคามีโดยฌาน. บทว่า อิธ ปญฺสฺส ความว่า ชื่อว่าปัญญาในพระศาสนานี้ เป็นของสำหรับพระอริยสาวกผู้ตั้งอยู่ในอริยปัญญา ซึ่งเป็นศาสนจารีต. บทว่า อนุตฺตริํ วิมุตฺติํ ได้แก่ พระอรหัต.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๙

จบอรรถกถาวรรคที่ ๑