พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 พ.ย. 2564
หมายเลข  39963
อ่าน  415

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 489

ปัญจมปัณณาสก์

ทุติยวรรคที่ ๒

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 489

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นใน

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 490

การฆ่าสัตว์ ๑ ลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑ พูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑ พูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑ พูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการอยากได้ของผู้อื่น ๑ คิดปองร้ายด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการปองร้าย ๑ มีความเห็นผิดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นผิด ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกทอดทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทอดทิ้งไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้ ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดเท็จ ๑ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียดด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ เว้นขาดจากการพูดคำหยาบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเว้นจากการพูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ไม่อยากได้ของผู้อื่นด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่อยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่คิดปองร้าย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 491

ด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการไม่ปองร้าย ๑ เห็นชอบด้วยตนเอง ๑ ชักชวนผู้อื่นในการเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เป็นผู้ถูกเชิญมาไว้ในสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาประดิษฐานไว้.