ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการเป็นต้น
[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 498
ปัญจมปัณณาสก์
ตติยวรรคที่ ๓
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ตายแล้วไปอบาย หรือสุคติ
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ตายแล้วไปอบาย หรือสุคติ
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นพาล และเป็นบัณฑิต
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นพาล และเป็นบัณฑิต
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เป็นพาล หรือเป็นบัณฑิต
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นพาล หรือเป็นบัณฑิต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 498
ตติยวรรคที่ ๓ (๑)
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ
[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ การนี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ
(๑) ตั้งแต่วรรคนี้เป็นต้นไป ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 499
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ ตายแล้วไปอบาย หรือสุคติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ นี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ ตายแล้วไปอบาย หรือสุคติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน ดูเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือเป็น
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 500
ผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ เป็นพาล และเป็นบัณฑิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ฯลฯ มีความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต.
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ เป็นพาล และเป็นบัณฑิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นพาล ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๒๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ ชักชวนผู้อื่นในความเห็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 501
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ เป็นพาล หรือเป็นบัณฑิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๓๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ พอใจในความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต.
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ เป็นพาล หรือเป็นบัณฑิต
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นคนพาล ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นผิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นคนพาล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการ พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต ธรรม ๔๐ ประการเป็นไฉน คือเป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ฯลฯ กล่าวสรรเสริญความเห็นชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔๐ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นบัณฑิต.
จบตติยวรรคที่ ๓
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 502
(พึงทราบการนับจำนวนพระสูตรในวรรคที่ ๔ ที่ ๕ ด้วยอำนาจไปยาล)
[๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คืออสุภสัญญา ๑ มรณสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คืออนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๑ อัฏฐิกสัญญา ๑ ปุฬุวกสัญญา ๑ วินีลกสัญญา ๑ วิปุพพกสัญญา ๑ วิจฉิททกสัญญา ๑ อุทธุมาตกสัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรอบรมเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือ สัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้ อันบุคคลควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ.
[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อความกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 503
เพื่อความสลัดออกไปซึ่งราคะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อความกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อสลัดออกไปซึ่งราคะ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการ อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ธรรม ๑๐ ประการเป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาวิมุตติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๐ ประการนี้แล อันบุคคลควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อสละ เพื่อความสลัดออกไปซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ.
จบปัญจมปัณณาสก์
จบทสกนิบาต