พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. สัญญาสูตร ว่าด้วยพึงเป็นผู้มีสัญญาในอารมณ์ต่างๆ กัน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 พ.ย. 2564
หมายเลข  39987
อ่าน  331

พระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 515

เอกาทสกนิบาต

นิสสายวรรคที่ ๑

๗. สัญญาสูตร

ว่าด้วยพึงเป็นผู้มีสัญญาในอารมณ์ต่างๆ กัน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 515

๗. สัญญาสูตร

ว่าด้วยพึงเป็นผู้มีสัญญาในอารมณ์ต่างๆ กัน

[๒๑๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุว่าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญานัญจายตนะว่าเป็น วิญญานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 516

สำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 517

เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

อา. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 518

อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

สา. ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.

อา. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลถามเนื้อความอันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะเหล่านี้แก่กระผม เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์ ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้.

จบสัญญาสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 519

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗

สัญญาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

รูปารมณ์ อันจักขุวิญญาณเห็นแล้วเป็นต้น. บทว่า อตฺเถน อตฺโถ ได้แก่ อรรถกับอรรถ. บทว่า พฺยญฺชเนน พฺยญฺชนํ ได้แก่ พยัญชนะกับพยัญชนะ. บทว่า สํสนฺทิสฺสติ แปลว่า จักเป็นไปกันได้. บทว่า สเมสฺสติ แปลว่า จักเสมอกันได้. บทว่า น วิคฺคยฺหิสฺสติ ได้แก่ จักไม่ผิดกัน. บทว่า อคฺคปทสฺมิํ ได้แก่ ในพระนิพพาน.

จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ ๗