พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. มนสิการสูตร ว่าด้วยการกระทําอารมณ์ต่างๆ ไว้ในใจ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 พ.ย. 2564
หมายเลข  39988
อ่าน  336

พระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 519

เอกาทสกนิบาต

นิสสายวรรคที่ ๑

๘. มนสิการสูตร

ว่าด้วยการกระทําอารมณ์ต่างๆ ไว้ในใจ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 519

๘. มนสิการสูตร

ว่าด้วยการกระทำอารมณ์ต่างๆ ไว้ในใจ

[๒๑๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 520

ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้ การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไร การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ฯลฯ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงทำไว้ในใจ.

พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำไว้ในใจอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือความสงบสังขารทั้งปวงความ สละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำจักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรสไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 521

ไม่พึงกระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกหน้าไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ไว้ในใจ ก็แต่ว่าพึงกระทำไว้ในใจ.

จบมนสิการสูตรที่ ๘

อรรถกถามนสิกาสูตรที่ ๘

มนสิการสูตรที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัจจเวกขณปัญญาไว้.

จบอรรถกถามนสิการสูตรที่ ๘