พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑๐. โมรนิวาปนสูตร ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสําเร็จล่วงส่วน

 
บ้านธัมมะ
วันที่  7 พ.ย. 2564
หมายเลข  39990
อ่าน  361

พระสุตตันตปิฎกอังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 527

เอกาทสกนิบาต

นิสสายวรรคที่ ๑

๑๐. โมรนิวาปนสูตร

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสําเร็จล่วงส่วน


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 527

๑๐. โมรนิวาปนสูตร

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน

[๒๑๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปริพาชการามอันเป็นที่ให้เหยื่อแก่นกยูง ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 528

ทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ สมาธิขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ปัญญาขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คืออิทธิปาฏิหาริย์ ๑ อาเทสนาปาฏิหาริย์ ๑ อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ นี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการแม้อื่นอีก ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาญาณะ ๑ สัมมาวิมุตติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มี

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 529

ความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือวิชชา ๑ จรณะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน มีความเกษมจากโยคะล่วงส่วน มีพรหมจรรย์ล่วงส่วน มีที่สุดล่วงส่วน เป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้สนังกุมารพรหมก็ได้กล่าวคาถานี้ไว้ว่า

"ในหมู่ชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย."

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คาถานี้นั้น สนังกุมารพรหมร้อยกรองไว้ถูกแล้ว มิใช่ร้อยกรองไว้ผิด กล่าวไว้ชอบแล้ว มิใช่กล่าวไม่ชอบ ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ เราเห็นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็กล่าวอย่างนี้ว่า

"ในหมู่ชนที่ยังรังเกียจกันด้วยโคตร กษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ประเสริฐสุดกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย."

จบโมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐

จบนิสสายวรรคที่ ๑

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 530

อรรถกถาโมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐

โมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ พึงทราบวิเคราะห์ว่า พระนิพพาน กล่าวคืออัจจันตะ เพราะล่วงเลยที่สุดแล้วมีความไม่พินาศเป็นธรรม คือนิฏฐา ความสำเร็จของภิกษุใด เพราะเหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า อจฺจนฺตนิฏฺโ ผู้มีความสำเร็จล่วงส่วน.

บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยนี้.

บทว่า ชเนตสฺมิํ ได้แก่ ในหมู่ชน. อธิบายว่า ในหมู่สัตว์. บทว่า เย โคตฺตปฏิสาริโน ความว่า ชนเหล่าใดย่อมระลึกรังเกียจในสกุลนั้นว่า เราเป็นสกุลโคตมะ เราเป็นสกุลกัสสปะ ดังนี้. ในบรรดาการระลึก รังเกียจด้วยสกุลเหล่านั้น สกุลกษัตริย์ประเสริฐที่สุดในโลก.

บทว่า อนุมตา มยา ความว่า คาถาที่สนังกุมารพรหมแสดง เทียบได้กับสัพพัญญุตญาณของเรา เราก็อนุญาต.

บทที่เหลือในที่ทั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโมรนิวาปนสูตรที่ ๑๐

จบนิสสายวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กิมัตถิยสูตร ๒. เจตนาสูตร ๓. ปฐมอุปนิสาสูตร ๔. ทุติยอุปนิสาสูตร ๕. ตติยอุปนิสาสูตร ๖. พยสนสูตร ๗. สัญญาสูตร ๘. มนสิการสูตร ๙. อเสขสูตร ๑๐. โมรนิวาปนสูตร.