พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. นันทิยสูตร ว่าด้วยเจ้าศากยะนันทิยะทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 พ.ย. 2564
หมายเลข  39994
อ่าน  372

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 541

เอกาทสกนิบาต

ทุติยวรรคที่ ๒

๓. นันทิยสูตร

ว่าด้วยเจ้าศากยะนันทิยะทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 541

๓. นันทิยสูตร

ว่าด้วยเจ้าศากยะนันทิยะทูลถามถึงธรรมเป็นเครื่องอยู่

[๒๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะทรงมีพระดำริว่า ไฉนหนอ แม้เราก็พึงเข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี เราจักประกอบการงานและจักได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตามกาลอันสมควร ณ กรุงสาวัตถี นั้น.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะก็เข้าจำพรรษา ณ กรุงสาวัตถี ได้ทรงประกอบการงานและได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าตามกาลอันสมควร ณ กรุงสาวัตถี นั้น ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากย่อมกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้วจักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้ทรงทราบข่าวว่า ภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้วจักเสด็จจาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่านันทิยะได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ทราบข่าวมาว่าภิกษุเป็นอันมากกระทำจีวรกรรมเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยหวังว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีจีวรสำเร็จแล้วจักเสด็จ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 542

จาริกโดยล่วงไป ๓ เดือน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละๆ บพิตร การที่บพิตรเสด็จมาหาตถาคตแล้วตรัสถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ต่างๆ พึงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่อะไร ดังนี้ เป็นการสมควรแก่บพิตรผู้เป็นกุลบุตรแล ดูก่อนบพิตร กุลบุตรผู้มีศรัทธาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีศรัทธาย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีศีลย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ทุศีลย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ปรารภความเพียรย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้เกียจคร้านย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติตั้งมั่นย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสติหลงลืมย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีสมาธิย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้ไม่มีสมาธิย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้บริบูรณ์ ผู้มีปัญญาทรามย่อมไม่เป็นผู้บริบูรณ์ ดูก่อนบพิตร บพิตรทรงตั้งอยู่ในธรรม ๖ ประการนี้ แล้วพึงเข้าไปตั้งสติไว้ภายในธรรม ๕ ประการ ดูก่อนบพิตร ในธรรม ๕ ประการนี้ บพิตรพึงทรงระลึกถึงพระตถาคตว่า แม้ด้วยเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูก่อนบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภพระตถาคต ด้วยประการดังนี้แล.

อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภพระธรรมด้วยประการดังนี้แล.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 543

อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงกัลยาณมิตรทั้งหลายว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีกัลยาณมิตรผู้เอ็นดู ผู้ใคร่ประโยชน์ ผู้กล่าวสอน ผู้พร่ำสอน ดูก่อนบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภกัลยาณมิตรด้วยประการนี้แล.

อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงจาคะของตนว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่เรามีจิตปราศจากมลทินคือความตระหนี่ มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือนในหมู่สัตว์ผู้ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุมแล้ว ดูก่อนบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภจาคะด้วยประการดังนี้แล.

อีกประการหนึ่ง บพิตรพึงทรงระลึกถึงเทวดาทั้งหลายว่า เทวดาเหล่านั้นได้ก้าวล่วงความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษาแล้ว เข้าถึงการอันสำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ดูก่อนบพิตร ภิกษุผู้เป็นอสมยวิมุตย่อมพิจารณากิจที่ไม่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ทำแล้ว แม้ฉันใด ดูก่อนบพิตร เทวดาเหล่าใดก้าวล่วงซึ่งความเป็นสหายแห่งเทวดาผู้มีคำข้าวเป็นภักษา เข้าถึงกายอันสำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง เทวดาเหล่านั้นย่อมไม่พิจารณาเห็นกิจที่ควรทำของตน หรือการสั่งสมกิจที่ตนทำแล้ว ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนบพิตร บพิตรพึงเข้าไปตั้งสติไว้ในภายใน ปรารภเทวดาทั้งหลายด้วยประการดังนี้แล.

ดูก่อนบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ไม่ถือมั่น ดูก่อนบพิตร หม้อที่คว่ำ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 544

ย่อมไม่กลับถูกต้องสิ่งที่คายแล้ว ไฟที่ไหม้ลามไปจากหญ้า ย่อมไหม้ของที่ควรไหม้ ย่อมไม่กลับมาไหม้สิ่งที่ไหม้แล้ว แม้ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการนี้ ย่อมละอกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก ย่อมไม่ถือมั่น (อกุศลธรรมอันชั่วช้าเหล่านั้น) ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบนันทิยสูตรที่ ๓

อรรถกถานันทิยสูตรที่ ๓

นันทิยสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กลฺยาณมิตฺเต แปลว่า ซึ่งมิตรดีทั้งหลาย. ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสังฆานุสสติ ด้วยอำนาจแห่งกัลยาณมิตร ด้วยประการฉะนี้. บทว่า กวฬิงฺการภกฺขานํ ได้แก่ ของเทวดาชั้นกามาวจร. บทว่า อสมยวิมุตฺโต ความว่า พระขีณาสพผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอสมยวิมุตติ.

จบอรรถกถานันทิยสูตรที่ ๓