พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๖. ทสมสูตร ว่าด้วยธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 พ.ย. 2564
หมายเลข  39997
อ่าน  405

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 553

เอกาทสกนิบาต

ทุติยวรรคที่ ๒

๖. ทสมสูตร

ว่าด้วยธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 553

๖. ทสมสูตร

ว่าด้วยธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น

[๒๒๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระ-

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 554

นครเวสาลี ก็สมัยนั้น ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เดินทางไปถึงเมืองปาตลีบุตร ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ณ กุกกุฎาราม ครั้นแล้วได้ถามภิกษุนั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ท่านพระอานนท์อยู่ที่ไหน เพราะว่าข้าพเจ้าเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบท่านพระอานนท์ ภิกษุนั้นตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพระอานนท์อยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี.

ครั้งนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ กระทำกรณียกิจนั้นที่เมืองปาตลีบุตรเสร็จแล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ณ เวฬุวคาม ใกล้พระนครเวสาลี ไหว้ท่านพระอานนท์แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้โดยชอบ มีอยู่หรือ.

ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้แล้วโดยชอบ มีอยู่.

ท. ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้น

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 555

แห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้น หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบ เป็นไฉน.

อ. ดูก่อนคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานอันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนั้น ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ปฐมฌานนี้แลถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอจึงตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นอุปปาติก (๑) พรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ โดยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี นี้แลคือธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.


(๑) อนาคามี.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 556

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตกวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ ฯลฯ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสในก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้จตุตถฌานนี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่า ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่ในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แล ก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 557

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้เมตตาเจโตวิมุตตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และรู้ชัดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แล ก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยกรุณา ฯลฯ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยมุทิตา ฯลฯ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีจิตประกอบด้วยอุเบกขา ย่อมแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่ก็เหมือนกัน โดยนัยนี้ ทั้งเบื้องบน

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 558

เบื้องต่ำ เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อุเบกขาเจโตวิมุตตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่หมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยการบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะก้าวล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า แม้อากาสานัญจายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา เธอตั้งอยู่แล้วในสมถะ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 559

และวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจาก โลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แลก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌานโดยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด ฯลฯ

อีกประการหนึ่ง ภิกษุก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌานโดยบริกรรมว่า หน่อยหนึ่งไม่มี ดังนี้ ภิกษุนั้นย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า อากิญจัญญายตนสมาบัตินี้แล ถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว และย่อมรู้ชัดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งถูกปรุงแล้ว ถูกตบแต่งแล้ว สิ่งนั้นเป็นของไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น ตั้งอยู่แล้วในสมถะและวิปัสสนาธรรมนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย หากว่าเธอไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จักเป็นอุปปาติกพรหม เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ ด้วยความพอใจเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ จักปรินิพพานในภพนั้น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 560

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูก่อนคฤหบดี แม้ข้อนี้แล ก็เป็นธรรมอย่างเอก อันเป็นที่หลุดพ้นแห่งจิตที่ยังไม่หลุดพ้น เป็นที่ถึงความหมดสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่หมดสิ้นไป หรือเป็นที่บรรลุโดยลำดับซึ่งธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมที่ยังไม่บรรลุโดยลำดับ แห่งภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้แล้วโดยชอบ.

เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะ ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ข้าแต่ท่านพระอานนท์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาแหล่งขุมทรัพย์ขุมเดียว พึงพบแหล่งขุมทรัพย์ ๑๑ ขุมคราวเดียวกัน แม้ฉันใด ข้าพเจ้าเมื่อแสวงหาประตูอมตธรรมประตูเดียว ก็ได้สดับประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูคราวเดียวกัน ฉันนั้น เปรียบเหมือนบุรุษมีเรือน ๑๑ ประตู เมื่อเรือนนั้นถูกไฟไหม้ บุรุษพึงอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีโดยประตูหนึ่งๆ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าจักอาจเพื่อทำตนให้สวัสดีได้ด้วยประตูอมตธรรมประตูหนึ่งๆ ในบรรดาประตูอมตธรรม ๑๑ ประตูเหล่านี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ธรรมดาอัญญเดียรถีย์เหล่านี้ จักแสวงหาทรัพย์บูชาอาจารย์เพื่ออาจารย์ ส่วนข้าพเจ้าจักบูชาท่านพระอานนท์อย่างไรเล่า ลำดับนั้นแล ทสมคฤหบดีชาวเมืองอัฏฐกะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่ในนครเวสาลีและเมืองปาตลีบุตรให้ประชุมกัน แล้วอังคาสภิกษุสงฆ์ให้อิ่มหนำสำราญด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยมือของตน นิมนต์ภิกษุรูปหนึ่งๆ ให้ครองผ้าคู่หนึ่ง นิมนต์ท่านพระอานนท์

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 561

ให้ครองไตรจีวรและสร้างวิหารราคาห้าร้อยถวายท่านพระอานนท์ ดังนี้แล.

จบทสมสูตรที่ ๖

อรรถกถาทสมสูตรที่ ๖

ทสมสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ทสโม ความว่า ก็คฤหบดีนั้น เขานับในตำแหน่งที่ ๑๐ ด้วยอำนาจชาติและสกุลและด้วยการนับตระกูลที่เป็นคฤหบดีมหาศาล เพราะเหตุนั้นเขาจึงชื่อว่า ทสมะนั่นแล. บทว่า อฏฺกนาคโร แปลว่า ชาวเมืองอัฏฐกะ. บทว่า กุกฺกุฏาราเม ได้แก่ อารามที่กุกกุฏเศรษฐีสร้างไว้.

ในคำว่า เตน ภควตา ฯเปฯ สมฺมทกฺขาโต นี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ทสมคฤหบดีถามท่านพระอานนท์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้บำเพ็ญพระบารมี ๓๐ ถ้วนแล้ว ทรงหักกิเลสทั้งปวง ทรงรู้ยิ่งซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายชมเชยด้วยเหตุ ๔ ประการ ด้วยสามารถแห่งเวสารัชชญาณ ๔ อย่าง คือพระองค์ทรงรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลายนั้นๆ ทรงเห็นไญยธรรมทั้งปวง เหมือนผลมะขามป้อมที่วางไว้ในฝ่ามือ อนึ่ง ทรงรู้ด้วยปุพเพนิวาสญาณ เป็นต้น ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ หรือว่าทรงรู้ด้วยวิชชา ๓ หรือด้วยอภิญญา ๖ ทรงเห็นด้วยสมันตจักษุอันไม่ติดขัดในโลกทั้งปวง ทรงรู้ด้วยปัญญาอันสามารถรู้ธรรมทั้งปวง หรือทรงเห็นรูปอันล่วงเสียซึ่งจักษุวิสัยของสรรพสัตว์ และรูปที่อยู่ภายนอกฝาเรือนเป็นต้น ด้วยมังส-

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 562

จักษุอันบริสุทธิ์ยิ่งนัก ทรงเห็นด้วยปฏิเวธปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ที่มีสมาธิเป็นปทัฎฐาน (เป็นเหตุใกล้) อันยังประโยชน์ตนให้สำเร็จ ทรงเห็นด้วยเทสนาปัญญาอันเป็นเครื่องแสดงธรรมที่มีกรุณาเป็นปทัฏฐาน (เป็นเหตุใกล้) อันยังประโยชน์ผู้อื่นให้สำเร็จ หรือทรงรู้ธรรมอันกระทำซึ่งอันตราย ทรงเห็นธรรมอันเป็นเหตุนำสัตว์ออกจากวัฏทุกข์ ชื่อว่าทรงเป็นพระอรหันต์ เพราะทรงกำจัดข้าศึกคือกิเลสเสียได้ ทรงพระนามว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมโดยชอบด้วยพระองค์เอง พระองค์ตรัสธรรมเอกมีอยู่หรือหนอ.

บทว่า อภิสงฺขตํ ความว่า อันภิกษุกระทำแล้ว คือให้เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อภิสญฺเจตยิตํ ความว่า อันภิกษุคิด คือให้สำเร็จแล้ว. บทว่า โส ตตฺถ ิโต ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในธรรม คือสมถะและวิปัสสนา. ด้วยบททั้งสองว่า ธมฺมราเคน ธมฺมนนฺทิยา ท่านพระอานนท์กล่าวความยินดี ด้วยอำนาจความพอใจในสมถะและวิปัสสนา. จริงอยู่ ภิกษุเมื่อกำหนดยึดเอาฉันทราคะโดยประการทั้งปวง ในสมถะและวิปัสสนา ย่อมเป็นพระอรหันต์ เมื่อไม่อาจยึดเอาไว้ได้ก็เป็นพระอนาคามี ย่อมบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส เพราะยังละฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาไม่ได้ นี้เป็นถ้อยคำของอาจารย์ทั้งหลาย ผู้มีความเห็นเสมอกัน. แต่ท่านอาจารย์ผู้ชอบพูดเคาะกล่าวว่า ภิกษุนี้บังเกิดแล้วในสุทธาวาสภูมิ ด้วยอกุศลจิต เพราะบาลีว่า เตเนว ธมฺมราเคน ดังนี้. อาจารย์ฝ่ายพูดเคาะถูกต่อว่าว่า ขอท่านจงนำพระสูตรมาด้วย ดังนี้. เมื่ออาจารย์ฝ่ายนั้น มองไม่เห็นพระสูตรอื่น ก็นำเฉพาะพระสูตรนี้เท่านั้นมาอ้าง. ลำดับนั้น ก็จะถูกค้านว่า ก็พระสูตรนี้หรือที่ท่านนำมาอ้างแล้ว หรือเพื่อจะนำมา ดังนี้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 563

ตอบว่า นำมาอ้างแล้วแน่นอน. ลำดับนั้น อาจารย์ฝ่ายพูดเคาะกล่าวว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ภิกษุผู้ต้องการอนาคามิผล จักต้องทำความยินดีด้วยอำนาจความพอใจในสมถะและวิปัสสนา เมื่อเกิดฉันทราคะขึ้นแล้ว จักได้อนาคามิผล ท่านอย่าแสดงอย่างเลื่อนลอยว่าข้าพเจ้าได้อ้างสูตรมาแล้วเลย เมื่อถามปัญหา ควรจะร่ำเรียนในสำนักของอาจารย์ ขบอรรถรสให้แตกแล้วจึงค่อยกล่าว ด้วยว่า ชื่อว่าปฏิสนธิในสวรรค์ด้วยอกุศลไม่มีและปฏิสนธิในอบายด้วยกุศลก็ไม่มี.

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดา หรือมนุษย์ ก็หรือว่าสุคติเหล่าใดเหล่าหนึ่งอย่างอื่น ย่อมไม่ปรากฏด้วยกรรมอันเกิดแต่โลภะ อันเกิดแต่โทสะ และเกิดแต่โมหะ โดยที่แท้ นรก กำเนิดดิรัจฉาน เปรตวิสัย หรือทุคติเหล่าใดเหล่าหนึ่งแม้อื่น ย่อมปรากฏด้วยกรรม อันเกิดแต่โลภะ เกิดแต่โทสะ และเกิดแต่โมหะ. อาจารย์ผู้พูดเคาะอันบัณฑิตพึงทำให้เข้าใจอย่างนี้ ถ้าว่าเขาเข้าใจไซร้ ก็จงเข้าใจไปเถิด แต่ถ้าว่าเขาไม่เข้าใจ ก็พึงส่งเขาไปด้วยคำว่า ขอท่านจงไป เข้าไปวิหารแต่เช้าตรู่ แล้วดื่มข้าวยาคูเสีย ดังนี้.

คำว่า อยมฺปิ โข คหปติ ฯเปฯ เอกธมฺโม อกฺขาโต ความว่า ท่านพระอานนท์ถูกถามถึงธรรมอย่างหนึ่ง ก็กระทำธรรม ๑๑ ประการ ให้ชื่อว่าธรรมอย่างหนึ่งๆ ด้วยอำนาจคำถามอย่างนี้ว่า ธรรมอย่างหนึ่งแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้ว ธรรมอย่างหนึ่งแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้แล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง การกล่าวว่า แม้ธรรมทั้งปวง ชื่อว่าธรรมอย่างหนึ่งก็ควร เพราะอรรถว่าให้เกิดอมตธรรมขึ้นได้.

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 564

บทว่า นิธิมุขํ คเวสนฺโต ได้แก่ แสวงหาขุมทรัพย์. บทว่า สกิเทว ได้แก่ ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น.

ถามว่า ก็การพบขุมทรัพย์ ๑๑ ขุม ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้นเป็นอย่างไร.

ตอบว่า บุคคลบางคนในโลกนี้ เที่ยวไปในป่าแสวงหาเครื่องดำเนินชีวิต บุคคลผู้หวังดีคนหนึ่งเห็นเขาแล้ว ถามว่า ท่านผู้เจริญ เที่ยวไปทำไม? เขาตอบว่า แสวงหาเครื่องดำเนินชีวิต ผู้หวังดีนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงมานี่ ท่านจงพลิกหินแผ่นนี้ขึ้น เขาพลิกหินแผ่นนั้นขึ้นแล้ว ก็พบหม้อทรัพย์ ๑๑ หม้อ ที่วางซ้อนกันหรือวางเรียงกัน. อย่างนี้ ชื่อว่าพบขุมทรัพย์ ๑๑ ขุม ด้วยความพยายามครั้งเดียวเท่านั้น.

บทว่า อาจริยธนํ ปริเยสิสฺสนฺติ ความว่า จริงอยู่ อัญญเดียรถีย์ เรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ผู้ใด ย่อมนำทรัพย์ออกจากเรือนมาให้อาจารย์นั้นก่อนหรือภายหลัง หรือระหว่างเรียนศิลปะ เดียรถีย์ที่ไม่มีทรัพย์ในเรือน ก็ย่อมแสวงหาจากญาติหรือจากสหายให้ แม้เมื่อคนเหล่านั้นไม่มี ย่อมแสวงหาจากผู้ที่ชอบพอกันของชนเหล่านั้น เมื่อไม่ได้อย่างนั้น ย่อมเที่ยวขอเขาให้ก็มี ทสมคฤหบดีกล่าวหมายเอาข้อนั้น จึงกล่าวคำนี้.

บทว่า กิํ ปนาหํ ความว่า ทสมคฤหบดีกล่าวว่า ก่อนอื่นพวกอัญญเดียรถีย์นอกศาสนาแสวงหาทรัพย์ เพื่ออาจารย์ผู้ให้เพียงศิลปะในศาสนาที่แม้อันไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ แต่เราจักไม่กระทำการบูชาแก่อาจารย์ผู้แสดงข้อปฏิบัติให้เกิดอมตะ ๑๑ ประการ ในศาสนาอันนำสัตว์ออกจากทุกข์มีประการอย่างนั้น หรือว่าจักกระทำเล่า. บทว่า ปจฺเจก-

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 565

ทุสฺสยุเคน อจฺฉาเทสิ ความว่า ทสมคฤหบดี ได้ถวายคู่ผ้าแก่ภิกษุรูปละ ๑ คู่. ก็ในเรื่องนี้ คำที่พูดขึ้นย่อมเป็นเช่นนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อจฺฉาเทสิ. บทว่า ปญฺจสตํ วิหารํ ความว่า ให้สร้างบรรณศาลามีราคา ๕๐๐ กหาปณะ.

จบอรรถกถาทสมสูตรที่ ๖