พุทธานุสสติเป็นอย่างไร

 
kchat
วันที่  2 เม.ย. 2548
หมายเลข  4
อ่าน  6,966

กรุณาช่วยอธิบายความหมายของพุทธานุสสติ และมีวิธีให้เกิดขึ้นได้อย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 2 เม.ย. 2548

การที่จะน้อมระลึกถึงพระคุณของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นสามารถที่จะน้อมระลึกได้ทุกเหตุการณ์ คือ เมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว จะน้อมระลึกถึงพระคุณ ตั้งแต่พระองค์ได้ทรงแสดงปฐมเทศนา ตลอดมาจนถึงใกล้จะปรินิพพาน ก็จะเห็นพระคุณได้ หรือว่าจะน้อมระลึกถึง ก่อนที่พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ระลึกถึงเมื่อครั้งพระองค์บำเพ็ญพระบารมี ๔ อสงขัยแสนกัปป์ ก็ย่อมจะเห็นความพากเพียรและพระมหากรุณา ที่ทรงปรารถนาที่จะได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อที่จะเกื้อกูลแก่สัตว์โลก ขณะนั้นก็ระลึกถึงพระคุณได้

หรือเมื่อระลึกถึงการดำเนินชีวิตของพระองค์ในพระชาติสุดท้ายก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะเห็นพระคุณได้เพราะว่าข้อความในพระไตรปิฎก แสดงไว้ทั้งหมดโดยครบถ้วนซึ่งผู้ที่มีสัทธา มีวิริยะ ก็จะศึกษา ฟัง หรือ อ่าน ด้วยความปิติโสมนัสที่ได้รู้เรื่องของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ขณะที่อ่าน หรือ ฟังพระธรรมนั้น เมื่อเข้าใจพระธรรมก็เกิดสัทธา เกิดหิริ เกิดโอตตัปปะ เกิดวิริยะ เกิดสติ และปิติโสมนัสหรืออาจจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 17 ก.พ. 2549

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต เล่ม ๓ หน้าที่ ๕๒๘

๙.อนุสสติสูตร

ว่าด้วยอนุสติ ๖

[๒๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอนุสติฐานะ ที่ตั้งแห่งความระลึก ๖ นี้ อนุสติฐานะ ๖ เป็นไฉน คือ

พุทธานุสติ ระลึกถึงพระพุทธเจ้า ๑ ธัมมานุสติ ระลึกถึงพระธรรม ๑ สังฆานุสติ ระลึกถึงพระสงฆ์ ๑ สีลานุสติ ระลึกถึงศีลที่ตนรักษา ๑ จาคานุสติ ระลึกถึงการบริจาคของตน ๑ เทวตานุสติ ระลึกถึงเทวดา และธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา ๑ นี้แลภิกษุทั้งหลาย อนุสติฐานะ ๖

จบอนุสสติสูตรที่ ๙

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 18 มี.ค. 2549

อรรถกถาอนุสสติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุสสติสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้

บทว่า พุทฺธานุสฺสติ ได้แก่ อนุสติ มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน

จบอรรถกถาอนุสสติสูตรที่ ๙

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 9 ก.ย. 2550

ระลึกถึงคุณเพราะความเข้าใจธรรม มิใช่ด้วยการท่อง

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ก.ย. 2550

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 12 ก.ย. 2550

เมื่อศึกษาพระธรรมที่ทรงตรัสรู้ให้เข้าใจมากขึ้น ก็จะน้อมระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ได้ มากขึ้น

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 12 ก.ย. 2550

คนที่จะระลึกถึงพระพุทธคุณ ก็อยู่ที่ความเข้าใจธรรมะค่ะ ยิ่งมีความเข้าใจธรรมะมาก ก็ยิ่งระลึกและซาบซึ้งถึงพระพุทธคุณมาก เปรียบพุทธคุณเหมือนปุถุชนมีเชือกยาว ๑ - ๙ วา วัดความลึกของน้ำในมหาสมุทร พระพุทธคุณที่พระโสดาบันเห็น เปรียบเหมือนเชือกยาว ๑๐ วา พระพุทธคุณที่พระสกทาคามีเห็นเปรียบเชือกยาว ๒๐ วา พระพุทธคุณที่พระอนาคามีเห็น เปรียบเหมือนเชือกยาว ๓๐ วา พระพุทธคุณที่พระอรหันต์เห็นเปรียบเหมือนเชือกยาว ๔๐ วา ฯลฯ ยิ่งมีปัญญามาก ก็ยิ่งซาบซึ้งถึงพระพุทธคุณมากค่ะพระพุทธคุณไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ ยิ่งกว่าน้ำในมหาสมุทรอีกค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ไรท์แจกแล้วไง
วันที่ 13 ก.ย. 2550
ถ้าอยากก็ไม่ใช่ปัจจัยให้เกิด
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 14 ก.ย. 2550

ขณะนี้ระลึกได้ไหมหละ นี่แหละผลจากการฟังพระธรรมและเข้าใจพระธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 พ.ค. 2551

ได้ทราบจากสหายธรรมว่าพุทธานุสสติเป็นสติปัฏฐานได้สามารถเจริญจนถึงอรหัตตมรรคได้แต่ต้องไม่ลืมความเป็นอนัตตา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
suwit02
วันที่ 23 พ.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 28 ก.พ. 2557

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 20 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
สิริพรรณ
วันที่ 7 ก.ย. 2567

ขอถวายความนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยเศียรเกล้า

บทว่า อโนมนามํ อธิบายว่า มีพระนามอันไม่บกพร่อง มีพระนามบริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์ทรงประกอบด้วยคุณทั้งปวง.

บทว่า นิปุณตฺถทสฺสิํ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ทั้งหลายละเอียดโดยมีความแตกต่างกันแห่งขันธ์เป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงเห็นประโยชน์อันละเอียด.

บทว่า ปญญฺาททํ อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้ให้ซึ่งปัญญา เพราะสามารถบอกปฏิปทาเพื่อให้บรรลุถึงปัญญา.

บทว่า กามาลเย อสตฺตํ ได้แก่ ไม่ทรงข้องในอาลัย คือ กามคุณ ๕.

บทว่า กมมานํ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงแล้วซึ่งความผ่องใสที่มหาโพธิ์นั่นแหละ ด้วยอริยมรรค มิใช่ทรงถึงในบัดนี้. ก็คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาอดีตกาล.

บทว่า มเหสิํ ได้แก่ ผู้ค้นหาผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ คือ สีลขันธ์ เป็นต้น ดังนี้แล.

๒. กินททสูตร ว่าด้วยเทวตาปัญหา ๕ ข้อ

ขอบคุณในธรรมทานทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
talaykwang
วันที่ 7 ก.ย. 2567

กราบนอบน้อมแด่พระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า

กราบขอบพระคุณและยินดียิ่งในกุศลของทุกท่านทุกประการ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ