พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

ว่าด้วยองค์ประกอบของนายโคบาล ๑๑ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  8 พ.ย. 2564
หมายเลข  40003
อ่าน  409

[เล่มที่ 38] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 590

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณณาสก์

ว่าด้วยองค์ประกอบของนายโคบาล ๑๑ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 38]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 590

พระสูตรที่ไม่สงเคราะห์ด้วยปัณณาสก์ (๑)

ว่าด้วยองค์ประกอบของนายโคบาล ๑๑ ประการ

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ องค์ ๑๑


(๑) ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 591

ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมไม่รู้จักรูป ๑ ไม่ฉลาดในลักษณะ ๑ ไม่กำจัดไข่ขาง ๑ ไม่ปกปิดแผล ๑ ไม่สุมไฟ ๑ ไม่รู้ท่าน้ำ ๑ ไม่รู้ว่าโคดื่มน้ำแล้วหรือยัง ๑ ไม่รู้ทาง ๑ ไม่ฉลาดในที่หากิน ๑ รีดนมไม่ให้มีเหลือ ๑ ไม่บูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อฝูงโคเป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่สามารถจะเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ก็เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นทุกข์ในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเป็นอนัตตาในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสิ้นไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความเสื่อมไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความคลายไปในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความดับในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในจักษุ เป็นผู้ไม่สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา ความสิ้นไป ความเสื่อมไป ความคลายไป ความดับ ความสละคืนในหู ในจมูก ในลิ้น ในกาย ในใจ ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ ในจักขุวิญญาณ ในโสตวิญญาณ ในฆานวิญญาณ ในชิวหาวิญญาณ ในกายวิญญาณ ในมโนวิญญาณ ในจักขุสัมผัส ในโสตสัมผัส ในฆานสัมผัส ในชิวหาสัมผัส ในกายสัมผัส ในมโนสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่จักขุสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่ฆานสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่ชิวหาสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่กายสัมผัส ในเวทนาอันเกิดแต่มโน-

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 592

สัมผัส ในรูปสัญญา ในสัททสัญญา ในคันธสัญญา ในรสสัญญา ในโผฏฐัพพสัญญา ในธรรมสัญญา ในรูปสัญเจตนา ในสัททสัญเจตนา ในคันธสัญเจตนา ในรสสัญเจตนา ในโผฏฐัพพสัญเจตนา ในธรรมสัญเจตนา ในรูปตัณหา ในสัททตัณหา ในคันธตัณหา ในรสตัณหา ในโผฏฐัพพตัณหา ในธรรมตัณหา ในรูปวิตก ในสัททวิตก ในคันธวิตก ในรสวิตก ในโผฏฐัพพวิตก ในธรรมวิตก ในรูปวิจาร ในสัททวิจาร ในคันธวิจาร ในรสวิจาร ในโผฏฐัพพวิจาร ในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลาย องค์ ๑๑ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลในโลกนี้ ย่อมรู้จักรูป ฯลฯ ย่อมบูชาโคผู้ทั้งหลายที่เป็นพ่อฝูงโคเป็นผู้นำฝูงโคด้วยการบูชาอย่างยิ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้สามารถเลี้ยงฝูงโคให้เจริญแพร่หลายได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๑๑ ประการ ย่อมเป็นผู้สามารถพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในจักษุ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้สามารถพิจารณาเห็นความสละคืนในธรรมวิจาร ฉันนั้นเหมือนกัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ธรรม ๑๑ ประการ เป็นไฉน คือปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ เมตตาเจโตวิมุตติ ๑ กรุณาเจโตวิมุตติ ๑ มุทิตาเจโตวิมุตติ ๑ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 593

วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ.

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความหมดสิ้นไป เพื่อละ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความเสื่อมไป เพื่อความคลายไป เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ธรรม ๑๑ ประการ เป็นไฉน คือปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ตติยฌาน ๑ จตุตถฌาน ๑ เมตตาเจโตวิมุตติ ๑ กรุณาเจโตวิมุตติ ๑ มุทิตาเจโตวิมุตติ ๑ อุเบกขาเจโตวิมุตติ ๑ อากาสานัญจายตนฌาน ๑ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ฯลฯ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ฯลฯ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ มทะ ปมาทะ ธรรม ๑๑ ประการ เป็นไฉน คือปฐมฌาน ๑ ทุติยฌาน ๑ ฯลฯ วิญญาณัญจายตนฌาน ๑ อากิญจัญญายตนฌาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑๑ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ฯลฯ เพื่อสละ เพื่อสละคืนซึ่งโทสะ โมหะ ฯลฯ มทะ ปมาทะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นปลื้มใจ ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

พระสูตรนี้รวมอยู่ในอังคุตตรนิกายมี ๙,๕๕๗ สูตร ฉะนี้แล.

จบเอกาทสกนิบาต