๒. โทสสูตร ว่าด้วยละโทสะได้เป็นพระอนาคามี
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 78
เอกนิบาต
ปาฏิโภควรรคที่ ๑
๒. โทสสูตร
ว่าด้วยละโทสะได้เป็นพระอนาคามี
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 78
๒. โทสสูตร
ว่าด้วยละโทสะได้เป็นพระอนาคามี
[๑๘๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดู- ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโทสะได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง โทสะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประทุษร้ายไปสู่ ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้วย่อมไม่มา สู่โลกนี้อีกในกาลไหนๆ.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 79
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบโทสสูตรที่ ๒
อรรถกถาโทสสูตร
สูตรที่ ๒ มีบทเริ่มต้นว่า วุตฺตํ เหตํ ฯเปฯ โทสํ ดังนี้. ใน สูตรที่ ๒ นั้นมีการพรรณนาบทตามลำดับดังนี้. เราจักพรรณนาบทไปตาม ลำดับในสูตรทั้งปวง แม้อื่นจากสูตรนี้อย่างเดียวกับสูตรนี้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของบุคคลผู้มากด้วยโทสะ จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ เพื่อระงับโทสะ ฉะนั้นจึงตรัสว่า โทสํ ภิกฺขเว เอกธมฺมํ ปชหถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอละธรรมอย่างหนึ่งคือโทสะได้ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โทสํ ได้แก่ ความอาฆาตอันเกิดจากอาฆาตวัตถุ ๑๘ อย่าง คือ ๙ อย่างท่านกล่าวไว้ในพระสูตรโดยนัยเป็นต้นว่า อนตฺถํ เม อจรีติ อาฆาโต ชายติ ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นว่า เขาได้ประพฤติ ความพินาศแก่เรา ดังนี้ และ ๙ อย่าง อันตรงกันข้ามกับข้างต้นเป็นต้นว่า อตฺถํ เม นาจริ เขาไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เราดังนี้ กับสิ่งที่ไม่ใช่ ฐานะมีตอและหนามเป็นต้น รวมเป็น ๑๙ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง. ก็ความ อาฆาตนั้นท่านกล่าวว่า เป็นโทสะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุประทุษร้าย หรือลง มือประทุษร้ายเอง หรือเพียงคิดประทุษร้ายเท่านั้น. โทสะนั้นพึงเห็นว่ามี ลักษณะดุร้าย ดุจอสรพิษที่ถูกทุบ พึงเห็นว่ามีความซ่านไปดุจถูกวางยาพิษ พึงเห็นว่ามีลักษณะเผานิสัยของตนดุจไฟไหม้ป่า พึงเห็นว่าเป็นการบำรุงความ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 80
โหดเหี้ยมดุจศัตรูได้โอกาสแล้ว พึงเห็นว่าเป็นปทัฏฐานแห่งอาฆาตวัตถุตาม ที่กล่าวแล้ว ดุจของบูดและน้ำมูตรที่เขาทิ้งแล้ว. บทว่า ปชหถ ได้แก่ พวกเธอจงตัดขาด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาฆาตปฏิวินัย (การปลดเปลื้องความอาฆาต) ไว้ ๕ อย่าง อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตเกิดขึ้นแก่ภิกษุควร ปลดเปลื้องในอาฆาตปฏิวินัย ๕ เหล่านั้น อาฆาตปฏิวินัย ๕ เป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ในบุคคลนั้น หรือพึงปลดเปลื้องความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า ความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน พึงตั้งอาฆาตปฏิวินัยในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน จักเป็นทายาทของกรรมดังนี้. ท่านกล่าวอาฆาตปฏิวินัย ๕ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ความอาฆาตเกิดแก่ภิกษุ ควรปลดเปลื้องให้หมดไปในอาฆาตปฏิวินัย ๕ เหล่านี้ อาฆาตปฏิวินัย ๕ เป็นไฉน ดูก่อนอาวุโส บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีวจีสมาจาร ไม่บริสุทธิ์ ดูก่อนอาวุโส พึงปลดเปลื้องความอาฆาตในบุคคลเห็นปานนั้น อนึ่ง พระศาสดาทรงสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าผู้ที่พิจารณาโดย กฎแห่งอาฆาตปฏิวินัยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างนั้น แล้วยังมีใจประทุษร้าย แม้ในโจรผู้ต่ำช้าที่เอาเลื่อย เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่จนขาดเป็นสองท่อน ก็ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ทำตามคำสอนของเราดังนี้
คนลามกเท่านั้น โกรธตอบผู้ที่โกรธ ผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธ ย่อมชนะสงคราม ที่ชนะได้ยาก ผู้ที่รู้ผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 81
สติสงบระงับได้ ชื่อว่าประพฤติประโยชน์ สองฝ่ายคือทั้งของตนและทั้งของคนอื่น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเหล่านั้น ก่อศัตรู ทำให้เกิด ศัตรู ย่อมมาสู่ทั้งสตรีหรือบุรุษผู้มักโกรธ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่ออศัตรูอย่างนี้ว่า กระไรหนอผู้นี้ จะพึงมีผิวพรรณเศร้าหมอง ขอนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศัตรู ย่อมไม่พอใจ เพราะเห็นศัตรูมีผิวพรรณงาม
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนมักโกรธนี้ถูกความโกรธครอบงำ ถูกความ โกรธชักนำไป แม้เขาอาบน้ำเป็นอย่างดี ลูบไล้เป็นอย่างดี โกนผมและหนวด นุ่งผ้าขาว ก็ยังมีผิวพรรณเศร้าหมองอยู่นั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรม ข้อที่หนึ่งที่ก่อศัตรูทำให้เกิดศัตรูย่อมมาสู่ทั้งสตรีหรือบุรุษผู้มักโกรธ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีก ศัตรูย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า กระไรหนอ ผู้นี้พึงอยู่อย่างลำบาก ไม่พึงมีประโยชน์มากมาย ไม่พึงมีสมบัติ ไม่พึงมียศ ไม่พึงมีมิตร เมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศัตรูย่อมไม่พอใจในการที่ศัตรูไป สวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนมักโกรธนี้ ถูกความโกรธครอบงำ ถูกความ โกรธนำไป ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เขาประพฤติทุจริต ทางกาย วาจา ใจ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม ฯลฯ
พึงความโกรธ พึงละมานะ พึง ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ฯลฯ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 82
ความโกรธทำให้เกิดความพินาศ ความโกรธทำให้จิตกำเริบ ฯลฯ
บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่ เป็นสุข บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อม ไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ ความโกรธ มีรากเป็นพิษ มียอดหวาน
ท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ท่านจง งดโทษเสียเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มี ความโกรธเป็นกำลัง.
การแนะนำภิกษุเหล่านั้นในข้อนั้นว่า เธอทั้งหลายจงพิจารณาถึงโทษ ในโทสะและอานิสงส์ในการละโทสะโดยตรงกันข้าม ดังกล่าวแล้วโดยนัยเป็นต้น อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้แล้ว จงละโทสะในส่วนเบื้องต้นด้วยตทังคปหานเป็นต้น แล้วพึงขวนขวายวิปัสสนาให้เกิด จงตัดขาด จงละโทสะด้วยตติยมรรคให้หมด สิ้นไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โทสํ ภิกฺขเว เอกธมฺมํ ปชหถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โทสะเสีย ดังนี้.
บทว่า ทุฏฺาเส ได้แก่ ประทุษร้าย เพราะจิตประทุษร้ายด้วย ความอาฆาต. บทที่เหลืออันควรกล่าวในสูตรที่ ๒ นี้ มีนัยดังได้กล่าวแล้วใน อรรถกถาสูตรที่ ๑ นั่นแล.
จบอรรถกถาโทสสูตรที่ ๒