พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๓. โมหสูตร ว่าด้วยละโมหะได้เป็นพระอนาคามี

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40024
อ่าน  484

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 83

เอกนิบาต

ปาฏิโภควรรคที่ ๑

๓. โมหสูตร

ว่าด้วยละโมหะได้เป็นพระอนาคามี


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 83

๓. โมหสูตร

ว่าด้วยละโมหะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้ รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โมหะได้ เราเป็นผู้รับรอง เธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง โมหะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้หลงไปสู่ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่ โลกนี้อีกในกาลไหนๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโมหสูตรที่ ๓

อรรถกถาโมหสูตร

ในโมหสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โมหํ ได้แก่ความไม่รู้. จริงอยู่ความไม่รู้นั้นมีประเภทหลาย

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 84

อย่าง โดยวิภาคโดยนัยเป็นต้นว่า ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุให้ เกิดทุกข์ ความไม่รู้ในการดับทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ท่านกล่าวว่า โมหะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้หลง หรือหลงไปเอง หรือ เป็นเพียงความหลงเท่านั้น. พึงเห็นว่า โมหะนั้นมีความที่จิตมืดเป็นลักษณะ หรือมีความไม่รู้เป็นลักษณะ มีความไม่แทงตลอดเป็นรส หรือมีความปกปิด สภาพอารมณ์เป็นรส มีการปฏิบัติหลงลืมเป็นอาการปรากฏ หรือปรากฏมืดมัว เป็นอาการปรากฏ มีการไม่ใส่ใจเป็นปทัฏฐาน เป็นรากแห่งอกุศลทั้งหมด. บัดนี้ พึงเห็นความแห่งบทว่า ปชหถ ดังนี้

คนหลง ย่อมไม่รู้อรรถ คนหลง ย่อมไม่รู้ธรรม โมหะ ย่อมครอบงำคน มืดบอดตลอดกาล โมหะ ให้เกิดความ พินาศ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นส่วนเบื้องต้นของการเข้าถึงอกุศลกรรม

สัตวโลกถูกโมหะรัดรึงไว้ ปรากฏ ดุจสิ่งน่าพอใจ

โมหะเป็นเหตุเพื่อให้เกิดกรรมทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษ ในโมหะ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนหลงแลถูกโมหะครอบงำ มีจิตยึดแน่น ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน ย่อมประสบภัยเวรแม้ในภพหน้า และโดยนัยเป็นต้นว่า ความพินาศใดๆ พึงเกิดขึ้นด้วยธรรมเศร้าหมอง มี กามฉันทะเป็นต้น ความพินาศทั้งหมดนั้นมีโมหะเป็นเหตุ และอานิสงส์ใน การละโมหะ โดยตรงกันข้ามกับโทษนั้น แล้วละโมหะด้วยทังคะเป็นต้นใน ส่วนเบื้องต้น โดยลำดับการละกามฉันทะเป็นต้นนั่นเอง จงละโมหะอันเป็นเอก

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 85

ของโลภะและโทสะตามที่กล่าวแล้ว โดยสมุจเฉทด้วยตติยมรรค. ก็ในพระสูตร นี้ท่านประสงค์เอาโมหะอันอนาคามิมรรคพึงฆ่านั่นเอง.

บทว่า มุฬฺหาเส ได้แก่ ลุ่มหลงในประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์ ของตน อันต่างด้วยกุศลอกุศลมีโทษและไม่มีโทษเป็นต้น. บทที่เหลือมีนัย ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโมหสูตรที่ ๓