๗. สัพพสูตร ว่าด้วยละสรรพธรรมทั้งปวงล่วงทุกข์ได้
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 92
เอกนิบาต
ปาฏิโภควรรคที่ ๑
๗. สัพพสูตร
ว่าด้วยละสรรพธรรมทั้งปวงล่วงทุกข์ได้
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 92
๗. สัพพสูตร
ว่าด้วยละสรรพธรรมทั้งปวงล่วงทุกข์ได้
[๑๘๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมา แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งทั้งปวง ไม่กำหนด รู้ธรรมที่ควรกำหนดนั้น ยังละกิแลสวัฏไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 93
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งทั้งปวง กำหนดรู้ธรรมที่ควร กำหนดรู้ทั้งปวง ยังจิตให้คลายกำหนัด ในธรรมที่ควรรู้ยิ่งและธรรมที่ควร กำหนดรู้นั้น ละกิเลสวัฏฏ์ได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ผู้ใดรู้ธรรมเป็นรูปในภูมิ ๓ ทั้งปวง โดยส่วนทั้งปวง ย่อมไม่กำหนัดในสักกายธรรมทั้งปวง ผู้นั้นกำหนัดรู้ธรรมเป็นไป ในภูมิ ๓ ทั้งปวงแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ โดยแท้.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบสัพพสูตรที่ ๗
อรรถกถาสัพพสูตร
ในสัพพสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺพํ คือไม่มีเหลือ. สัพพศัพท์นี้บอกถึงสิ่งที่ไม่เหลือ. สัพพศัพท์นั้นแสดงถึงความไม่มีเหลือของความทั้งหมด เช่นรูปทั้งหมด เวทนา ทั้งหมดในธรรมอันเนื่องด้วยสักกายะทั้งหมด. อนึ่ง สัพพศัพท์นี้มี ๒ อย่าง คือสัปปเทสวิสัย (มีบางส่วน) นิปปเทสวิสัย (สิ้นเชิง). จริงดังนั้น สัพพศัพท์นี้มีข้อที่เห็นได้ในวิสัย ๔ คือ สัพพสัพพวิสัย (ทั้งหมดสิ้นเชิง) ปเทส-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 94
สัพพวิสัย (ทั้งหมดเป็นบางส่วน) อายตนสัพพวิสัย (ทั้งหมดเฉพาะอายตนะ) สักกายสัพพวิสัย (ทั้งหมดเฉพาะสักกายะ). ในวิสัยเหล่านั้น วิสัยอันมาแล้วใน สัพพสัพพวิสัย ดังในบทมีอาทิว่า ธรรมทั้งปวงมาสู่พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะโดยสิ้นเชิง. มาในสัพพปเทสวิสัย ดังในพุทธพจน์ มีอาทิวา ดูก่อนสารีบุตร เราได้กล่าวแล้วเป็นบางส่วนแก่พวกเธอ มาในอายตนสัพพวิสัย ดังในพุทธพจน์มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงจักษุ รูป ฯลฯ ใจและธรรมทั้งหมดแก่พวกเธอ. มาในสักกายสัพพวิสัยดังในพุทธพจน์ มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบางส่วนอันเป็นมูลแห่งธรรม ทั้งปวง. สัพพศัพท์อันมาในสัพพสัพพวิสัยนั้นชื่อนิปปเทสวิสัย. มาใน ๓ วิสัย นอกนั้น ชื่อสัปปเทสวิสัย. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า มาในสักกายสัพพวิสัย. ก็ บทว่า สพฺพํ ในที่นี้ท่านถือเอาธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นอารมณ์แห่ง วิปัสสนาโดยไม่มีส่วนเหลือ.
บทว่า อนภิชานํ ความว่า ภิกษุไม่รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ทั้งปวง โดย ความเป็นจริงไม่วิปริต คือไม่รู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่งมีอาทิว่าธรรมเหล่านี้เป็น กุศล เหล่านี้เป็นอกุศล เหล่านี้มีโทษ เหล่านี้ไม่มีโทษ และมีอาทิว่า เหล่า นี้เป็นธาตุ ๑๘ นี้เป็นทุกขอริยสัจ นี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ.
บทว่า อปริชานํ ได้แก่ไม่กำหนดรู้. จริงอยู่ ผู้ใดกำหนดรู้ธรรม เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ผู้นั้นย่อมรู้ด้วยปริญญา ๓ คือด้วยญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ๑ ด้วยตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ๑ ด้วยปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละเสีย) ๑.
ในปริญญา ๓ นั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน. ภิกษุกำหนดรู้นามรูปเป็น ไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด คือรูปมีประเภทเป็นต้นว่า ภูตรูปและปสาทรูปและนาม มีประเภทเป็นต้นว่า ผัสสะ ว่านี้ รูป รูปมีเท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี นี้นาม นามมี
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 95
เท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี. โดยความเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน และ กำหนดปัจจัยของนามรูปนั้นมีกรรมและอวิชชาเป็นต้น นี้ชื่อว่าญาตปริญญา. ตีรณปริญญาเป็นไฉน ภิกษุพิจารณาปัจจัยทั้งหมดนั้นทำให้รู้โดยอาการ ๔๒ คือ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นโรคเป็นต้น นี้ชื่อว่า ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน ภิกษุครั้น พิจารณาอย่างนี้แล้วละ ฉันทราคะในอาการทั้งหมดด้วยมรรคอันเลิศ นี้ชื่อว่าปหานปริญญา. แม้ทิฏฐิ- วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) ก็ชื่อว่าญาตปริญญา. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง) ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเครื่องรู้ทางปฏิบัติ) หรือปัญญามี การพิจารณาธรรมเป็นหมวดเป็นกอง (กลาป) เป็นเบื้องต้นมีอนุโลมเป็นที่สุด ชื่อว่าตีรณปริญญา การละด้วยอริยมรรค ชื่อว่า ปหานปริญญา. ภิกษุใดกำหนด รู้ธรรมทั้งหมด ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้. แต่ในที่นี้พึง ทราบว่า กำหนดรู้ด้วยอำนาจแห่งญาตปริญญาและตีรณปริญญา เพราะการละ วิราคะท่านถือเอาต่างกันด้วยการปฏิเสธ. ความไม่กำหนดรู้ท่านกล่าวหมายถึงผู้ที่ ไม่รู้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตํ อวิราชยํ ความว่า ภิกษุไม่ยังจิตสันดานของตนให้คลายกำหนัด คือไม่คลายกำหนดในธรรมที่ควรรู้ยิ่งนั้น คือ ในธรรมที่ควรกำหนดรู้อย่างวิเศษ อธิบายว่า ไม่ยังวิราคานุปัสสนา (การ เห็นเนืองๆ ในวิราคะ) ให้เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีราคะในธรรมที่ควรรู้ยิ่งนั้น. บทว่า อปฺปชหํ ได้แก่ไม่ละกิเลสวัฏฏ์ อันควรจะละในธรรมที่ควรรู้ยิ่งนั้น ด้วยมรรคปัญญาอันร่วมกับวิปัสสนาปัญญาโดยไม่มีส่วนเหลือ. พึงทราบแม้ ธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้นด้วยมรรคเจือปนกัน เหมือนข้อนั้น. พึงทราบด้วย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 96
อำนาจจิตต่างๆ กัน ในส่วนเบื้องต้น. ญาณอันหนึ่งเท่านั้นยังธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เป็นต้นให้ถึงโดยลำดับ ด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญาและปหานปริญญาแล้ว ยังธรรมทั้งหมดนั้นให้สำเร็จด้วยมรรคกิจในขณะเดียวกันนั่นเอง เป็นไปด้วย ประการฉะนี้. บทว่า อภพฺโพ ทุกฺขกฺขยาย ความว่าเป็นผู้ไม่ควรคือไม่ สามารถเพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นด้วยการดับกิเลส.
จ ศัพท์ในบทว่า สพฺพพฺจ โข นี้ เป็นไปในอรรถพยติเรกะ (มีความ แย้งกัน). โข ศัพท์เป็นไปอรรถอวธารณ. ด้วยบททั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงเหตุส่วนเดียวแห่งการสิ้นทุกข์อันพิเศษ ที่ควรได้จากการรู้ยิ่ง เป็นต้น.
คำใดที่ควรกล่าวในบทว่า อภิชานนเป็นต้น คำนั้นท่านได้กล่าวไว้ ชัดเจนแล้ว แต่ในบทนั้นท่านกล่าวโดยการทักท้วง ในบทนี้พึงทราบโดยเป็น กฏ. ความต่างกันมีดังนี้.
บทว่า อภิชานํ ความว่า เป็นผู้รู้ยิ่งซึ่งสักกายสัพพะอันได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕ โดยสรุปและโดยปัจจัยด้วยทำญาณไว้เฉพาะหน้า คือ กำหนด รู้สักกายสัพพะนั้น โดยถือเอาอาการที่ไม่มีเป็นต้น ด้วยกำหนดตามลักษณะมี อนิจจลักษะเป็นต้น. บทว่า วิราชยํ ความว่า กระทำจิตของตนให้คลาย กำหนัดด้วยรู้ชัดถึงความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แห่งสักกายสัพพะนั้นโดยชอบ และก้าวด้วยอานุภาพของญาณมีนิพพิทาญาณ คือ เบื่อหน่ายต่อภัยที่เกิดขึ้น เป็นต้น ไม่ให้ความกำหนัดแม้เพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นในจิตนั้น. บทว่า ปชหํ ได้แก่ละ คือ ตัดขาดกิเลสวัฏฏ์อันเป็นฝ่ายของสมุทัยด้วยมรรคปัญญาอันประกอบ กับวุฏฐานคามินีวิปัสสนา.
บทว่า ภพฺโพ ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นวิปากวัฏฏ์ ไม่มีส่วนเหลือ หรืออนุปาทิเสสนิพพานธาตุอันเป็นความสิ้นทุกข์ ในสังสารวัฏฏ์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 97
ทั้งสิ้น เพราะละมลทินคือกิเลสเสียได้ และเพราะสิ้นกรรมวัฏฏ์ทั้งหมด พึงเห็น ความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ควรเพื่อบรรลุธรรมนั้นโดยส่วนเดียว.
บทว่า โย สพฺพํ สพฺพโต ตฺวา ความว่า ผู้ใดคือผู้ประกอบ ความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนารู้ธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวงโดยส่วนทั้งปวง คือ โดยจำแนกขันธ์มีกุศลขันธ์เป็นต้น และโดยจำแนกการบีบคั้น มีทุกข์ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพโต ได้แก่ รู้โดยอาการทั้งปวง คือ โดยลักษณะมีหยาบและละเอียดเป็นต้น และโดยลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น ทั้งปวง หรือเพราะเหตุแทงตลอดด้วยมรรคญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งวิปัสสนาแล้ว รู้ด้วยวิปัสสนาญาณ.
บทว่า สพฺพตฺเถสุ น รชฺชติ ได้แก่ ย่อมไม่กำหนัดในสักกายธรรมทั้งปวงอันมีประเภทต่างกันไม่น้อยโดยมีในอดีตเป็นต้น คือ ไม่ให้ราคะ เกิดด้วยการบรรลุอริยมรรค.
พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งการยึดตัณหานั้น ด้วยบทว่า สพฺพตฺเถสุ น รชฺชติ นี้ จึงทรงแสดงถึงความไม่มี แม้การ ยึดผิด ๓ หมวดนี้ คือ นี้ของเรา ๑ นี้เป็นเรา ๑ นี้เป็นอัตตาของเรา ๑ ของผู้ที่ยึดทิฏฐิมานะ เพราะมีสิ่งนั้น เป็นนิมิต. บทว่า ส ในบทว่า สเว นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า เว เป็นพยัตตะ (ความปรากฏ). หรือเป็นนิบาต ในความนี้ว่า เอกํเสน โดยส่วนเดียว. บทว่า สพฺพํ ปริญฺา ได้แก่ เพราะกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง คือ เพราะกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงตามที่กล่าวแล้ว โดยบรรลุปริญญา. บทว่า โส ได้แก่ พระโยคาจรตามที่กล่าวแล้วหรือ พระอริยะนั่นเอง. บทว่า สพฺพํ ทุกฺขํ อุปจฺจคา ได้แก่ ล่วง คือ ก้าวล่วง คือ พ้นทุกข์ในวัฏฏะได้ทั้งหมด.
จบอรรถกถาสัพพสูตรที่ ๗