ชอบนอนฟังธรรมะ
ในสมัยครั้งพุทธกาล การฟังพระธรรมโดยเคารพ ในสถานที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงพระธรรมอยู่นั้น หมายถึงการอยู่ในอริยาบถที่สมควรคือ นั่งสงบเรียบร้อยไม่คะนองมือ ไม่คะนองเท้า ไม่คุยกันเรื่องอื่น ตั้งใจฟังด้วยดี ชื่อว่าฟังโดยเคารพ ในปัจจุบันรูปแบบของสื่อธรรมะเปลี่ยนไป ทำให้สามารถรับฟังได้ทุกสถานที่ ซึ่งผู้ฟังเองต้องพิจารณาสภาพจิตของตนเองว่า ขณะไหนฟังโดยเคารพ ขณะไหนฟังโดยไม่เคารพ ถ้านอนฟังจะชื่อว่าเคารพหรือไม่ ถ้าหากร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ดี ควรหรือไม่ที่จะฟังด้วยดี อยู่ในอิริยาบถที่สมควร เพราะพระธรรมเป็นสิ่งประเสริฐที่สุด ควรรับฟังด้วยความเคารพ แต่เมื่อกล่าวถึงประโยชน์ที่ได้รับ ถ้านอนฟังดีกว่าไม่ฟัง และต้องยอมรับความจริงว่าเคารพหรือไม่ในขณะนั้น
อุปนิสัยของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วแต่การสะสม บางคนนั่งฟังธรรมแต่ไม่เข้าใจ นั่งหลับก็มี กับนอนฟัง แต่ฟังด้วยความตั้งใจและเข้าใจยังดีกว่านั่งฟัง แต่หลับ จะฟังธรรมอิริยาบถไหนก็ได้ ขอให้ตั้งใจฟัง ฟังแล้วเข้าใจมีความเห็นถูกนั่นคือ ปัญญาค่ะ
นอนฟังเหมือนกันครับ เพราะว่ามีกระทู้นี้จึงได้พิจารณาว่า ฟังตอนนอน กับนั่งฟัง อันไหนจะฟังโดยตั้งใจกว่ากัน ก็นึกได้ว่านั่งฟังครับ
บางคนสุขภาพไม่ดี ปวดหลัง ฯลฯ ก็นอนฟังธรรม หรือผู้ป่วยที่อยู่โรงพยาบาลก็นอนฟังธรรมะ ส่วนคนที่ร่างกายแข็งแรง นั่งฟังธรรมด้วยความตั้งใจก็เป็นอิริยาบถที่เคารพธรรมค่ะ อยู่ที่เจตนาและใจมากกว่าการกระทำภายนอกค่ะ
ดิฉัน ฟังบ้าง เดี๋ยวเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นบ้างเพราะรู้สึกว่า ใจมันวอกแวก บางทีก็หันไปคุยเล่นกับคนอื่นแล้วก็หันกลับมาฟังต่อ บางทีฟังไปฟังมา เคลิ้มๆ หลับไปตอนไหนก็ไม่รู้ อย่างนี้ก็เป็นการฟังธรรมอย่างไม่เคารพใช่ไหมคะ
การฟังธรรมด้วยความเคารพคือ ฟังด้วยความตั้งใจ แต่เป็นธรรมดาของปุถุชน จิตในขณะฟังธรรมบางทีก็ฟุ้งซ่านคิดโน่นคิดนี่ ขณะนั้นหลงลืมสติ แต่ภายหลังสติเกิดก็มีหิริโอตตัปปะ ก็ตั้งใจฟังใหม่ค่ะ
ชอบนอนฟังเหมือนกันค่ะ แต่ภายหลังนึกได้ว่าเป็นการไม่เคารพก็ตั้งใจฟังใหม่ค่ะ ก็ละอายใจเหมือนกันนะคะ
ท่านอาจารย์สุจินต์ตอบคำถามเรื่องการนั่งนอนฟังธรรมในซีดี mp3 ชุด "จิตโสภณะ" ไม่แน่ใจว่าแผ่นที่ 13 หรือ 14 แต่เป็นตอนที่ 2132 ค่ะ