พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๙. โมทสูตร ว่าด้วยสังฆสามัคคีให้ขึ้นสวรรค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40040
อ่าน  446

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 132

เอกนิบาต

วรรคที่ ๒

๙. โมทสูตร

ว่าด้วยสังฆสามัคคีให้ขึ้นสวรรค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 132

๙. โมทสูตร

ว่าด้วยสังฆสามัคคีให้ขึ้นสวรรค์

[๑๙๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมือเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์ แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์ พร้อมเพรียงกันอยู่ ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน ไม่มีการบริภาษ ซึ่งกันและกัน ไม่มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสังฆสามัคคีนั้น ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เถิดสุข และการอนุเคราะห์ซึ่งหมู่ผู้พร้อมเพรียง

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 133

กันให้เกิดสุข ผู้ยินดีแล้วในหมู่ผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อม จากธรรมอันเกษมจากโยคะ ผู้นั้นกระทำ หมู่ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงใน สวรรค์ตลอดกัป.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบโมทสูตรที่ ๙

อรรถกถาโมทสูตร

ในโมทสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ธรรมเป็นกุศล คือ ธรรมไม่มีโทษอย่างหนึ่ง. ก็หากว่า ความวิวาทจะพึงเกิดขึ้นในสงฆ์ว่า นี้ธรรม นี้ไม่ใช่ธรรมเป็นต้น ในข้อนั้น วิญญูชนผู้ใคร่ธรรมควรสำเหนียกว่า ข้อนั้นเป็นยานะที่จะมีได้ คือ ความวิวาท เมื่อเจริญขึ้นพึงเป็นไป เพื่อความร้าวรานแห่งสงฆ์ หรือ เพื่อความทำลายสงฆ์. หากว่า อธิกรณ์นั้นตนยกขึ้นตั้งไว้เอง ควรรีบงดเว้น จากอธิกรณ์นั้น เหมือนเหยียบไฟ ฉะนั้น. เมื่อถูกคนอื่นยกอธิกรณ์ขึ้น หาก สามารถจะสงบอธิกรณ์นั้นด้วยตนเอง พึงพยายามไปเสียให้ไกล ปฏิบัติเหมือน อย่างที่อธิกรณ์นั้นสงบลง. แต่หากไม่สามารถให้สงบด้วยตนเองได้ ความวิวาท นั้นยังเจริญยิ่งๆ ขึ้น ไม่สงบลงได้ ก็ขอให้เพื่อนสพรหมจารีผู้ใคร่การศึกษา ผู้เหมาะสมในเรื่องนั้นช่วยเหลือ ระงับอธิกรณ์นั้นโดยธรรม โดยวินัย โดย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 134

สัตถุสาสน์พึงให้อธิกรณ์สงบอย่างนี้. เมื่ออธิกรณ์สงบอย่างนี้ กุศลธรรมอัน ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ ท่านประสงค์ว่า เอกธรรม ในที่นี้. จริงอยู่ กุศลธรรมนั้นปลดเปลื้องธรรมเศร้าหมองอันจะนำสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และ ความทุกข์อันควรเกิดของภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝักใฝ่ทั้งสองข้างเกิดความสงสัยกัน ของภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้ดำรงอยู่ ด้วยประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น ของ อารักขเทวดาเหล่านั้นตลอดถึงเทพและพรหม แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์และ ความสุขให้แก่ชาวโลกพร้อมด้วยเทวดา เพราะกุศลธรรมนั้นเป็นเหตุแห่งกอง บุญ เป็นที่หลั่งไหลแห่งกุศล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เอกธมฺโม ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย เป็นต้น แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก.

พึงทราบเนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น โดยตรงกันข้ามกับที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในสูตรก่อน. บทว่า สํฆสฺส สามคฺคี ได้แก่ ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ คือ ความไม่มีแตกกัน ความมีธรรมอย่างเดียวกัน และความมีอุทเทสอย่างเดียวกัน.

ในคาถามีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความ พร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข ได้แก่ความสามัคคี ท่านกล่าวว่า เป็นความสุข เพราะความสามัคคีเป็นปัจจัยแห่งความสุข เหมือนที่ท่านกล่าวว่า สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นความสุข. บทว่า สมคฺคานญฺจนุคฺคโห ได้แก่ การอนุเคราะห์ผู้พร้อมเพรียงกัน ด้วยการอนุโมทนาในความพร้อมเพรียงกัน คือ อนุรูปแก่สามัคคี อธิบายว่า การถือเอาคือดำรงไว้ เพิ่มกำลังให้ โดยอาการที่ผู้พร้อมเพรียงเหล่านั้นจะไม่ ละความสามัคคี. บทว่า สมคฺคํ กตฺวาน ได้แก่ กระทำหมู่ที่แตกกันหรือ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 135

ถึงความร้าวฉานกัน ให้พร้อมเพรียงกัน คือ ให้มีความเกื้อกูลกัน. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ อายุกัปนั้นเอง. บทว่า สคฺคมฺหิ โมทติ ได้แก่ ครอบงำ เทวโลกอื่นในกามาวจรเทวโลกโดยฐานะ ๑๐ เสวยทิพยสุข ย่อมบันเทิง คือ ย่อมเสวย ย่อมเล่น ด้วยความสำเร็จที่ตนปรารถนาแล้ว.

จบอรรถกถาโมทสูตรที่ ๙