พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. จิตตฌายีสูตร ว่าด้วยจิตผ่องใสย่อมไปสวรรค์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40042
อ่าน  415

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 140

เอกนิบาต

วรรคที่ ๓

๑. จิตตฌายีสูตร

ว่าด้วยจิตผ่องใสย่อมไปสวรรค์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 140

อิติวุตตกะ เอกนิบาต วรรคที่ ๓

๑. จิตตฌายีสูตร

ว่าด้วยจิตผ่องใสย่อมไปสวรรค์

[๑๙๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของบุคคลบางคนในโลกนี้ผู้มี จิตผ่องใสด้วยจิตอย่างนี้แล้ว ถ้าในสมัยนี้บุคคลนี้พึงทำกาละไซร้ เขาพึงเกิด ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา ผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล สัตว์บางพวกใน โลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงทรามบุคคลบางคน ในโลกนิมีจิตผ่องใส ได้ทรงพยากรณ์เนื้อ ความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักของพระ องค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงกระทำ กาละไซร้ บุคคลนี้พึงเข้าถึงสุคติ เพราะ จิตของเขาผ่องใส เขาเป็นอย่างนั้นเหมือน เชิญมาฉะนั้น เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบจิตตฌายีสูตรที่ ๑

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 141

ตติยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาจิตตฌายีสูตร

ในจิตตฌายีสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่มีใจเลื่อมใสแล้ว ด้วยความเชื่อในพระ รัตนตรัย และด้วยความเชื่อในผลของกรรม. บทว่า สุคตึ ได้แก่คติดีหรือ คติแห่งสุข เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุคติ. บทว่า สคฺคํ ได้แก่เลิศด้วยดีด้วย สมบัติมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สวรรค์. ในบทว่า โลกํ ได้แก่ผล แห่งบุญและบาป หรือชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป. อนึ่ง ในที่นี้แม้ คติของมนุษย์ก็สงเคราะห์ ด้วยสุคติศัพท์. คติของเทวดาก็สงเคราะห์ด้วย สัคคศัพท์เหมือนกัน. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

จบอรรถกถาจิตตฌายีสูตรที่ ๑