พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๔. เวปุลลปัพพตสูตร ว่าด้วยกองกระดูกโตเท่าภูเขาก็ล่วงทุกข์ไม่ได้

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40047
อ่าน  970

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 157

เอกนิบาต

วรรคที่ ๓

๔. เวปุลลปัพพตสูตร

ว่าด้วยกองกระดูกโตเท่าภูเขาก็ล่วงทุกข์ไม่ได้


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 157

๔. เวปุลลปัพพตสูตร

ว่าด้วยกองกระดูกโตเท่าภูเขาก็ล่วงทุกข์ไม่ได้

[๒๐๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลหนึ่งแล่นไปท่องเที่ยวไปตลอดกัป ร่างกระดูก หมู่กระดูก กองกระดูก พึงเป็นกองใหญ่ เหมือนภูเขาเวปุลลบรรพตนี้ ถ้าว่าใครๆ จะพึงรวบรวมไปกองไว้ และถ้าว่าส่วนแห่งกระดูก อันใครๆ นำไปแล้วจะไม่พึงฉิบหายไป.

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 158

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณ อันใหญ่ ตรัสไว้ดังนี้ว่า กองแห่งกระดูก ของบุคคลคนหนึ่ง พึงเป็นกองเสมอด้วย ภูเขาโดยกัปหนึ่ง ก็ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลลบรรพตนี้นั้นแล อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสบอกแล้ว สูงยิ่งกว่าภูเขาคิชฌกูฎอยู่ ใกล้พระนครราชคฤห์ของชาวมคธ เมื่อ ใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นอริยสัจ คือ ทุกข์ ๑ ธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ๑ ธรรมเป็นที่ก้าวล่วงแห่งทุกข์ ๑ อริยมรรค มีองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ๑ ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้นบุคคลนั้นท่อง เที่ยวไปแล้ว ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้ กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะสังโยชน์ ทั้งปวงสิ้นไป.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 159

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตร

ในเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า บุคคล ในบทว่า เอกปุคฺคบสฺส นี้ เป็นโวหารกถา (กล่าวเป็นโวหาร). จริงอยู่ เทศนาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคมี ๒ อย่าง คือ สมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา. ในเทศนา ๒ อย่างนั้น สมมติ- เทศนามีอย่างนี้คือ บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร. ปรมัตถเทศนามีอย่างนี้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน.

ในเทศนา ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา แก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยสมมติ แล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. ทรงแสดง ปรมัตถเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนา โดยปรมัตถแล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. พึงทราบอุปมาในข้อนั้นดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้อง ถิ่น พรรณนาความแห่งพระเวท ๓ บอกด้วยภาษาทมิฬแก่ผู้ที่เมื่อเขาสอนด้วย ภาษาทมิฬก็รู้ความ บอกด้วยภาษาแก่ผู้ที่รู้ด้วยภาษาใบ้เป็นต้นอย่างใดอย่าง หนึ่ง ฉันใด มาณพทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลมย่อม เรียนศิลปะได้รวดเร็วฉันนั้น. ในข้อนั้นพึงทราบว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ดุจอาจารย์ พระไตรปิฎกอันตั้งอยู่ในภาวะที่ควรบอก ดุจไตรเพท ความเป็นผู้ ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ ดุจความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้ สามารถแทงตลอดด้วยสมมติและปรมัตถ์ ดุจมาณพผู้รู้ภาษาต้องถิ่นต่างๆ การแสดงด้วยสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจการบอกด้วยภาษา ทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. ในข้อนี้อาจารย์กล่าวไว้ว่า

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 160

พระสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ว่าผู้ บอกทั้งหลาย ได้ทรงบอกสัจจะสองอย่าง คือ สมมติสัจ และปรมัตถสัจ ไม่ได้บอก สัจจะที่ ๓ อันเป็นคำที่สัจที่กำหนดกันเอา เองเป็นเหตุสมมติกันในโลก คำอันเป็น ปรมัตถสัจมีลักษณะเป็นของแท้แต่งธรรม ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น โวหารของพระ ศาสดาผู้เป็นที่พึ่งของโลก ผู้ฉลาดใน โวหารทรงกล่าวสมมติสัจ ว่าเป็นอริยโวหารแล.

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลกถา ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ เพื่อแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ ๑ เพื่อแสดงความที่สัตว์มีกรรม เป็นของตน ๑ เพื่อแสดงความเพียรเครื่องกระทำแห่งบุรุษเฉพาะตน ๑ เพื่อแสดงอนันตริยกรรม ๑ เพื่อแสดงพรหมวิหารธรรม ๑ เพื่อแสดง ปุพเพนิวาสญาณ ๑ เพื่อแสดงทักษิณาวิสุทธิ ๑ เพื่อไม่ละโลกสมมติ ๑. ก็เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ น่ารังเกียจ น่ากลัว ดังนี้ มหาชน ย่อมไม่รู้ ย่อมถึงความลุ่มหลง หรือกลายเป็นปรปักษ์ว่า นี่อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะชื่อว่า น่ารังเกียจ น่ากลัวดังนี้. แต่เมื่อกล่าวว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ น่ารังเกียจ น่ากลัวดังนี้ มหาชนย่อมรู้ ย่อมไม่ลุ่มหลง หรือไม่กลายเป็นปรปักษ์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อแสดงหิริและโอตตัปปะ. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ กัมมัสสกา ธาตุ อายตนะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลกถา ก็เพื่อ แสดงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน. แม้เมื่อกล่าวว่า มหาวิหารมีเวฬุวันเป็น

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 161

ต้นสร้างขึ้นด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ทั้งหลายฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ธาตุ อายตนะ กระทำ กรรมโลหิตุบาท กรรมสังฆเภท ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตาดังนี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงบุพเพนิวาส ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อแสดงความเพียรเฉพาะตน เพื่อ แสดงอนันตริยกรรม เพื่อแสดงพรหมวิหารธรรม และเพื่อแสดงบุพเพนิวาส. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รับทาน มหาชนก็ไม่รู้ ย่อมถึงความ ลุ่มหลง หรือกลายเป็นปรปักษ์ว่า นี่อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ชื่อว่า รับทาน. แต่เมื่อกล่าวว่า บุคคลทั้งหลายย่อมรับทานดังนี้ มหาชนย่อมรู้ ไม่ ลุ่มหลงหรือกลายเป็นปรปักษ์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อแสดงทักษิณาวิสุทธิ. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว ไม่ทรงละโลกสมมติ ทรงตั้งอยู่ในความงดงามของโลก พร้อมแสดงธรรมตาม สมัญญาของโลก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบุคคลกถาเพื่อ ไม่ทรงละโลกสมมติ.

แม้ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเมื่อจะทรงแสดง อรรถที่ควรแสดงด้วยโลกโวหาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอกปุคฺคลสฺส ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ได้แก่สัตว์หนึ่ง. บทว่า กปฺปํ ได้แก่ตลอดมหากัป. อันที่จริง บทว่า กปฺปํ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงใน อัจจันตสังโยค (สิ้น ตลอด) พึงถือเอากัปที่สัตว์ทั้งหลายแล่นไป ท่องเที่ยว ไป. บทว่า อฏฺิกกโล ได้แก่ส่วนของกระดูก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อฏฺิขโล บ้าง. ความว่า สู่สมกระดูก บทว่า อฏฺิปุญฺโช ได้แก่หมู่

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 162

กระดูก. บทว่า อฏฺิวาสิ เป็นไวพจน์ของบทว่า อฏฺิปุญฺโช นั้นแล. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตั้งแต่สะเอวลงมา ชื่อกกละ (ร่าง) บนขึ้นไป ชั่วลำตาล ชื่อปุญชะ (ก้อน) จากนั้นขึ้นไปเป็นราสิ (กอง). นั่นเป็นเพียง มติของอาจารย์พวกนั้น. ทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวซ้ำของสมูหศัพท์นั่นเอง. บทว่า เวปุลฺลสฺส วา ได้แก่ เพราะนำมาโดยความเปรียบเทียบกัน. บทว่า สเจ สํหารโก อสฺส ความว่า อาจารย์ย่อมกล่าวด้วยกำหนดว่า ผิว่า ใครๆ จะพึงรวบรวมไปกองไว้โดยไม่ให้เรี่ยราด. บทว่า สมฺภตญฺจ น วินสฺเสยฺย อาจารย์ย่อมกล่าวด้วยกำหนดว่า และถ้าส่วนแห่งกระดูกอันใครๆ นำไปแล้ว จะไม่พึงฉิบหายไปเพราะไม่ผุ ไม่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยไม่ อันตรธานไป.

ในพระสูตรนี้มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัตว์หนึ่งแล่นไป ท่องเที่ยวไป ตลอดมหากัปหนึ่งโดยเกิดแล้วเกิดอีก ด้วยกรรมกิเลส กอง กระดูกใหญ่จะพึงมีอย่างนี้ ขนาดภูเขาเวปุลลบรรพต โดยส่วนสูงและส่วนกว้าง ก็ผิว่าใครๆ จะพึงรวบรวมกองไว้ และถ้าว่าส่วนแห่งกระดูกนั้น อันใครๆ นำไปแล้ว จะไม่พึงฉิบหายไปยังคงตั้งอยู่.

ก็นัยนี้ท่านกล่าวเว้นอัตภาพที่เป็นโอปปาติกะ ปราศจากการทอดทิ้ง กเลวระอันมีสภาพทำลายไป ดุจประทีปที่ดับแล้ว และอัตภาพเล็กๆ ซึ่งไม่มี กระดูกเป็นชิ้นเป็นอัน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะนำนัยนี้มาด้วยการ กำหนด ผิว่า จะพึงมีกองกระดูกของสัตว์เหล่านั้นเสมอเท่าภูเขา ท่านก็กล่าว ถึงปริมาณของกองกระดูก. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี่ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะปริมาณนี้ ท่านกล่าวกำหนดด้วยสัพพัญญุตญาณ ด้วยอำนาจกองกระดูก ที่ได้ไว้นั่นแหละ ฉะนั้น พึงถือเอาความโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วยประ การฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 163

พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า มเหสินา ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เพราะค้นหาแสวงหาคุณ มีศีลขันธ์เป็นต้นอันใหญ่. บทว่า อิติ วุตฺตํ มเหสินา ความว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระองค์ ทำดุจผู้อื่นดังในประโยคมิอาทิว่า ทสพลสมนฺนาคโต ภิกฺขเว ตถาคโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบแล้ว ด้วยกำลัง ๑๐ ดังนี้. บทว่า เวปุลฺโล ความว่า ภูเขาได้ชื่อว่า เวปุลละ เพราะภูเขา ๕ ลูก ตั้งล้อมกรุงราชคฤห์อย่างไพบูลย์. ภูเขาเวปุลลบรรพต ใหญ่กว่านั้น คือ สูงสุดในส่วนของทิศที่ตั้งอยู่. บทว่า คิชฺฌกูฏสฺส คิริพฺพเช ได้แก่ ใกล้กรุงราชคฤห์ ชื่อคิริพชบุรี.

ด้วยข้อความเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงโทษใน วัฏฏะว่า ปุถุชนผู้มีความไม่กำหนดรู้เป็นพื้นฐาน ยังตัดรากของภพไม่ขาด โดยกาลเพียงนี้ เช่นนี้นี่แลเป็นความรกของป่าช้า บัดนี้ เนื้อจะทรงแสดงว่า ปุถุชนผู้โง่เขลา เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจอริยสัจเหล่าใด จึงเป็นผู้รกในป่าช้าอย่างนี้ พระอริยบุคคลผู้เห็นอริยสัจเหล่านั้น จึงไม่เป็นผู้รกในป่าช้า ดังนี้ จึงตรัสคำ มีอาทิว่า ยโต จ อริยสจฺจานิ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต แปลว่า เมื่อใด. บทว่า อริยสจฺจานิ ได้แก่ ชื่อว่าอริยะ เพราะความหมดทุกข์ และชื่อสัจจะ เพราะความเป็น ของจริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอริยสัจ หรือสัจจะทำความเป็นอริยะ จึงชื่อว่า อริยสัจ. หรือสัจจะอันพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น พึงแทงตลอด จึงชื่อว่าอริยสัจ. อีกอย่างหนึ่ง สัจจะของพระอริยะ ชื่อว่าอริยสัจ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่ออริยะ เพราะเป็นที่พึ่งไม่เป็นข้าศึกของโลกพร้อมด้วย เทวโลก. ชื่อว่าสัจจะของพระอริยะนั้น เพราะเห็นด้วยสยัมภูญาณนั้น เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่าอริยสัจ. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็น

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 164

ด้วยมรรคปัญญาอันเป็นไปกับด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยชอบ โดยเหตุ โดย ความรู้ ด้วยการกำหนดรู้ การละ การทให้แจ้ง การเจริญและการตรัสรู้.

บทว่า ทุกฺขํ เป็นต้น แสดงสรูปของอริยสัจ. ในบทว่า ทุกฺขํ นั้น ชื่อว่าทุกข์ เพราะความเป็นของน่ารังเกียจ โดยเป็นที่รวมอันตรายหลายอย่าง และเพราะความว่างเปล่าจากความสุขยั่งยืน สดชื่น ที่พวกชนพาลหมายมั่นไว้ นักหนา. ความเกิดแห่งทุกข์ ชื่อว่าทุกข์สมุทัย เพราะเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์. นิพพานชื่อว่าเป็นธรรมเป็นที่ก้าวล่วงแห่งทุกข์ เพราะเป็นเหตุล่วงไปแห่งทุกข์ หรือเป็นที่ก้าวล่วงทุกข์อันเป็นอารัมมณปัจจัย. ชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจาก กิเลสทั้งหลาย และเพราะหมดความทุกข์. อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยสามารถ แห่งองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ชื่อว่ามรรค เพราะฆ่ากิเลสให้สิ้นไป หรือ เพราะผู้ต้องการนิพพานย่อมแสวงหา หรือ เพราะแสวงหานิพพานเอง. ชื่อว่า ทุกฺขูปสมคามี เพราะถึงความสงบ คือ ความดับแห่งทุกข์ จากมรรคนั้น นั่นเอง. เชื่อมกับบทว่า ยโต สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคล ย่อมพิจารณาเห็นอริยสัจ ด้วยปัญญาอันชอบ ดังนี้.

บทว่า ส สตฺตกฺขตฺตุํปรมํ สนฺธาวิตฺวาน ปุคฺคโล ความว่า พระอริยบุคคลผู้เป็นโสดาบัน มีอินทรีย์อ่อนกว่าทั้งหมด เห็นอริยสัจ ๔ นั้น ท่องเที่ยวไป คือ แล่นไป ด้วยเกิดติดต่อกันไปในภพเป็นต้น ๗ ครั้งเป็น อย่างยิ่ง. จริงอยู่ พระโสดาบันทั้งหลาย ๓ จำพวก คือ เอกพิชี (มีพืชคือ ภพเดียว) ๑ โกลังโกละ (ไปสู่กุละจากกุละ กุละหมายถึงภพ) ๑ สัตตักขัตตุ ปรมะ (มี ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง) ๑ โดยความที่มีอินทรีย์แก่กล้า ปานกลาง และอ่อน. บทว่า ส สตฺตกฺขตฺตุํ ปรมํ สนฺธาวิตฺวาน นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระโสดาบัน ผู้มีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันทั้งหมดเหล่านั้น.

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 165

บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ความว่า เป็นผู้ทำที่สุด คือทาเป็นครั้งสุดท้าย แห่งวัฏทุกข์ได้. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป อธิบายว่า เพราะบรรลุมรรคชั้นเลิศโดยลำดับแล้ว สังโยชน์สิ้นไปโดยไม่มี เหลือเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยอรหัตตผลนั้นแล.

จบอรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔