พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. สัมปชานมุสาวาทสูตร ว่าด้วยสัมปชานมุสาวาท

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40048
อ่าน  499

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 165

เอกนิบาต

วรรคที่ ๓

๕. สัมปชานมุสาวาทสูตร

ว่าด้วยสัมปชานมุสาวาท


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 165

๕. สัมปชานมุสาวาทสูตร

ว่าด้วยสัมปชานมุสาวาท

[๒๐๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว เรากล่าวว่า บาปกรรมไรๆ อันเขาจะไม่พึงทำไม่มีเลย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สัมปชานมุสาวาท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บาปกรรน ที่สัตว์ผู้เป็นคนมักพูดเท็จ ล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว ข้ามโลกหน้าเสีย แล้ว จะไม่พึงทำ ไม่มีเสีย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 166

อรรถกถาสัมปชานมุสาวาทสูตร

ในสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

อะไรเป็นเหตุให้เกิด บทว่า เอกธมฺมํ อตีตสฺส. เรื่องมีอยู่ว่า ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ เสื่อมจาก พวกเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์เมื่อเสื่อมจากลาภสักการะก็อับเฉา หมดฤทธิ์เดช เกิดริษยา จึงพากัน ไปชักชวนปริพาชิกา ชื่อจิญจมาณวิกาว่า นี่แน่น้องสาว เธอจงกล่าวผู้มีพระสมณโคดม ด้วยคำไม่จริงทีเถิด. นางจิญจมาณวิกา ก็เข้า ไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ได้กล่าวตู่ ด้วยคำไม่จริง ท้าวสักกะได้ประกาศความไม่จริงของนาง ในท่ามกลางบริษัท มหาชนพากันแช่งด่าว่า อีหญิงกาลกิณี แล้วฉุดกระชากออกจากวิหาร แผ่นดินได้แยกออกเป็นช่อง นางจิญจมาณวิกา เป็นดุจฟืนติดเปลวไฟนรกไป บังเกิดในอเวจีมหานรก พวกเดียรถีย์ยิ่งเส อมจากลาภสักการะมากขึ้น.

ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย นาง จิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศ ทรงคุณยิ่ง ด้วยคำไม่จริง ได้ถึงความพินาศยิ่งใหญ่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย เหตุนั้น จึงตรัสมหาปทุมชาดกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาได้ ด่าเราด้วยคำไม่จริง แล้วถึงความพินาศยิ่งใหญ่ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อ ก่อนก็เหมือนกัน เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จงตรัสพระสูตรนี้ด้วย บทว่า เอกธมฺมมตีตสฺส ดังนี้ เพื่อให้เรื่องนี้เกิดขึ้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกธมฺมํ ได้แก่ ธรรมคือวจีสัจอย่างหนึ่ง. บทว่า อตีตสฺส ความว่า เมื่อบุคคลล่วงเลยมารยาท อันพระอริยะทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 167

เว้นโวหารอันมิใช่อริยะ ๘ ประการแล้ว เพื่อดำรงมั่นอยู่ในโวหารอันเป็นอริยะ ๘ ประการ จึงยึดมั่นอยู่ด้วยบทว่า สจฺจํ ภเณ น อลิกํ ควรพูดความจริง ไม่ควรพูดเหลาะแหละดังนี้ เป็นต้น. บุคคลคือบุรุษ ชื่อว่า บุรุษบุคคล. อันบุรุษบุคคลนั้น. บทว่า อกรณียํ ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทำ. จริงอยู่ บุคคล พูดเท็จทั้งๆ รู้ กระทำบาปกรรมไรๆ ไว้ เนื้อเขาพูดว่า ท่านทำกรรมนี้ ยัง จักยืนยันด้วยคำเท็จว่า เราไม่ได้ทำดังนี้. ก็เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ยังทำบาปกรรมเรื่อยๆ ไป ย่อมไม่ละอายในบาปกรรมนั้น เพราะล่วงเลยคำสัจอันเป็น มารยาทที่ดี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กตมํ เอกธมฺมํ ยทิทํ ภิกฺขเว สมฺปชานมุสาวาโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลา ธรรมอย่างหนึ่ง เป็นไฉน คือ สัมปชานมุสาวาท ดังนี้.

พึงทราบอธิบายความในคาถา ดังต่อไปนี้. บทว่า มุสาวาทิสฺส ได้แก่ มักพูดเท็จ ไม่จริง ไม่แท้ เพื่อให้คนอื่นรู้. คำพูด ๑๐ คำ ไม่มี คำพูดจริงแม้แต่คำเดียว บทว่า ชนฺตุโน ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์ท่าน เรียกว่า ชนฺตุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิด. บทว่า วิติณฺฆณปรโลกสฺส ได้แก่ สละโลกหน้าเสียแล้ว. เพราะบุคคลเช่นนี้ย่อมไม่เห็นสมบัติแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ มนุษย์สมบัติ เทวโลกสมบัตินิพพานสมบัติในที่สุด. บทว่า นตฺถิ ปาปํ ได้แก่ บาป ชื่อนี้ที่คนเช่นนั้นจะไม่พึงทำ ไม่มี.

จบอรรถกถาสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕