๖. ทานสูตร ว่าด้วยให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 168
เอกนิบาต
วรรคที่ ๓
๖. ทานสูตร
ว่าด้วยให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 168
๖. ทานสูตร
ว่าด้วยให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก
[๒๐๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน เหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้ว ก็จะไม่พึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทิน จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น ไม่พึงแบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้นแล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคาหกของ สัตว์เหล่านั้นพึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการ จำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายไม่ให้แล้วจึงบริโภค อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้ผลแห่งการ จำแนกทาน เหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้วโดย วิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลาย พึงกำจัดความตระหนี่ อันเป็นมลทินเสีย แล้ว มีใจผ่องไส พึงให้ทานทีให้แล้ว มี ผลมาก ในพระอริยบุคคลทั้งหลายตาม กาลอันควร อนึ่ง ทายกเป็นอันมาก ครั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 169
ให้ทักษิณาทาน คือ ข้าวในพระทักษิไณยบุคคลทั้งหลายแล้ว จุติจากความเป็นมนุษย์ นี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ และทายกเหล่านั้น ผู้ใคร่กาม ไม่มีความตระหนี่ ไปสู่สวรรค์ แล้วบันเทิงอยู่ในสวรรค์นั้น เสวยอยู่ซึ่ง ผลแห่งการจำแนกทาน.
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบทานสูตรที่ ๖
อรรถกถาทานสูตร
ในทานสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เอวํ ในบทว่า เอวญฺเจ นี้ เป็นไปในความอุปมา. บทว่า เจ เป็นนิบาตลงในปริกัป. บทว่า สตฺตา ได้แก่ ผู้ข้อง คือ ผู้ซ่านไปใน อารมณ์มีรูปเป็นต้น. บทว่า ชาเนยฺยุํ แปลว่า พึงรู้. บทว่า ทานสํวิภาคสฺส ได้แก่ เจตนาที่รวบรวมไทยธรรมมีข้าวเป็นต้น ให้แก่คนอื่นโดยการอนุเคราะห์ และการบูชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทาน (การให้) ส่วนเจตนาที่แบ่งส่วน หนึ่งของวัตถุที่ตนถือเอาไว้บริโภคแล้วให้ชื่อว่า สํวิภาค (การจำแนก). บทว่า วิปากํ คือ ผล. บทว่า ยถาหํ ชานามิ ได้แก่ เหมือนอย่างเรารู้. ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ด้วยกำลังญาณอันเป็นผลแห่งกรรม โดยประจักษ์ในบัดนี้ มีอาทิว่า ผลทานย่อมมีถึงร้อยเท่าโดยให้ทานแม้แก่สัตว์
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 170
เดียรัจฉาน แล้วเสวยสุขเป็นไปในร้อยอัตภาพ ดังนี้. บทว่า น อทตฺวา ภุญฺเชยฺยุํ ความว่า สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้ของที่ควรบริโภคอันมีอยู่แก่ตน แก่ผู้อื่นก่อนแล้วก็จะยังไม่บริโภค ต่อเมื่อให้แล้วจึงบริโภค. บทว่า น จ เนสํ มจฺเฉรมลํ จิตฺตํ ปริยาทาย ติฏฺเยฺย อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็น มลทินจะไม่ครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ความว่า ความตระหนี่อันเป็นมลทิน อย่างใดอย่างหนึ่งของบรรดาธรรมฝ่ายดำอันเป็นอุปกิเลสทำลายความผ่องใสของ จิต มีลักษณะไม่ยอมให้สมบัติของตนทั่วไปแก่คนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง ความตระหนี่และมลทินมีอิสสา โลภะและโทสะเป็นต้นอันทำอันตรายแก่ทานแม้อื่น จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น โดยอาการที่ไม่มีเจตนาจะให้หรือมีเจตนา ไม่บริสุทธิ์. ก็ใครเล่าเมื่อรู้ผลของทานโดยชอบจะพึงให้โอกาสแก่ความตระหนี่ อันเป็นมลทินในจิตของตนได้. บทว่า โยปิ เนสํ อสฺส จริโม อาโลโป ได้แก่ พึงมีคำข้าวคำหลังทั้งหมดของสัตว์เหล่านั้น. บทว่า จริมํ กพลํ เป็นไวพจน์ของคำว่า อาโลโป นั่นเอง. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ตามปกติ สัตว์เหล่านี้มีชีวิตอยู่ได้เองด้วยคำข้าวเพียงเท่าใด เหลือคำข้าวไว้คำหนึ่ง ในคำข้าวเหล่านี้. เพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วให้คำข้าวทั้งหมดนอกจาก ที่เหลือไว้คำหนึ่งนั้นแก่คนที่ต้องการที่มาหา คำข้าวที่เหลือไว้นั้นชื่อว่า คำหลังในที่นี้. บทว่า ตโตปิ น อสํวิภชิตฺวา ภุญฺเชยฺยุํ สเว เนสํ ปฏิคฺคาหกา อสฺสุ สัตว์เหล่านั้นไม่พึงแบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้น แล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคคาหกของสัตว์เหล่านั้นพึงมี ความว่า ถ้า ปฏิคคาหกของสัตว์เหล่านั้นพึงมี สัตว์ทั้งหลายพึงแบ่ง แม้จากคำข้าวมีประมาณ ตามที่กล่าวแล้ว พึงให้ส่วนหนึ่งแล้วจึงบริโภค สัตว์ทั้งหลายพึงรู้เหมือนอย่าง ที่เรารู้ผลของการจำแนกทานโดยชัดแจ้งฉะนั้น. ด้วยบทว่า ยสฺมา จ โข เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังความตามพระพุทธประสงค์ ให้สำเร็จด้วย เหตุว่า สัตว์เหล่านี้ ไม่รู้ผลในการจำแนกทานอย่างนี้ เพราะผลของกรรม
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 171
ยังไม่ประจักษ์ ด้วยบทนี้พึงเห็นว่าพระองค์ทรงแสดงถึงเหตุแห่งการไม่ปฏิบัติ ในบุญอื่นและแห่งการปฏิบัติในสิ่งมิใช่บุญในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ยถาวุตฺตํ มเทสินา ความว่า เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทานถึงร้อยเท่า ดังนี้ หรือโดยนัยมีอาทิในสูตรนี้ว่า เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยํ ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานอย่างนั้นดังนี้ อธิบายว่า เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยพระญาณ คือ ทรง ทราบทางจิต. บทว่า วิปากํ สวิภาคสฺส ได้แก่ ผลแห่งกาจำแนก. ก็จะพูดถึงทานอย่างไรเล่า. บทว่า ยถา โหติ มหปฺผลํ ควรผูกเป็น ใจความว่า ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงรู้โดยวิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้. บทว่า วิเนยฺย มจฺฉรมลํ ความว่า สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็น มลทิน มีจิตผ่องใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความเชื่อผลแห่งกรรม และด้วย ความเชื่อในพระรัตนตรัย พึงให้ทานที่ให้แล้วแม้น้อยก็มีผลมากในพระอริยบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลายตาม กาลอันควร. ท่านผู้ควรแก่ทักษิณาทาน เพราะทำให้มีผลมาก ชื่อว่า ทักษิไณยบุคคล คือ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. ให้ทักษิณา คือ ไทยธรรมที่ผู้ให้เธอโลกหน้า ในทักษิไณยบุคคลเหล่านั้นโดยที่ทานนั้นเป็นทานใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง ถามว่า ควรจะให้ทานอย่างไร. ตอบว่า ควรให้ทักษิณาทานในทักษิไณยบุคคล. อนึ่ง ผู้ให้จุติจากความเป็นมนุษย์นี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ด้วยการปฏิสนธิ. บทว่า กามกามิโน ความว่า ทายกผู้ใคร่กาม คือ มีความพร้อมในกามทุกอย่าง เพราะเป็นผู้ทำความดี โดยได้รับกรรมอันเป็นสมบัติแห่งเทพสมบัติอันโอฬาร ที่ควรใคร่ ย่อมบันเทิง คือ ได้รับความบำรุงบำเรอตามชอบใจ.
จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๖