พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๕. ปฐมสีลสูตร ว่าด้วยศีลและทิฏฐิอันลามก

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40055
อ่าน  533

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 199

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๑

๕. ปฐมสีลสูตร

ว่าด้วยศีลและทิฏฐิอันลามก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 199

๕. ปฐมสีลสูตร

ว่าด้วยศีลและทิฏฐิอันลามก

[๒๑๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ อัน กรรมของตนซัดไปในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น ธรรม ๒ ประการ เป็นไฉน คือ ศีลอันลามก ๑ ทิฏฐิอันลามก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนซัดไปในนรก เหมือน ถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นรชนใดผู้มีปัญญาทราม ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการนี้ คือ ศีลอันลามก ๑ ทิฏฐิอันลามก ๑ นรชนนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมสีลสูตรที่ ๕

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 200

อรรถกถาปฐมสีลสูตร

ในปฐมสีลสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาปเกน สีเลน ความว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ความไม่สำรวม อันทำให้ศีลขาด ชื่อว่า ศีลลามก. ในบทนั้น ผิว่า ความไม่สำรวมเป็นศีล เหมือนกันไซร้ เพราะความเป็นผู้ทุศีล ศีลนั้น จะเรียกว่า ศีลอย่างไร. ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นในโลกว่าเห็น หรือผู้ ไม่มีศีลว่า เป็นผู้มีศีลดังนี้ฉันใด แม้ในข้อนี้ท่านก็เรียกไม่มีศีลก็ดี ไม่สำรวม ก็ดี ว่า ศีลฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เรียกชื่อว่าศีลมีอยู่แม้ในอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะ บาลีว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็ศีลเป็นอกุศล กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล อาชีวะเป็นอกุศล เป็นไฉนดังนี้ เพราะฉะนั้น ความประพฤติชอบทั้งหมดเป็น ปกติ เหมือนสำเร็จตามสภาพ ด้วยความคุ้นเคย ท่านก็เรียกว่าศีล. บทว่า ปาปเกน สีเลน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอกุศลอันลามก เพราะ อรรถว่าไม่เป็นความฉลาดเลย. บทว่า ปาปิกาย ทิฏฺิยา ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิทั้งหมดอันลามก. แต่โดยความพิเศษ ทิฏฐิ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อเหตุกทิฏฐิ (ความเห็นว่าหาเหตุมิได้) ๑ อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ) ๑ นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) ๑ ลามกกว่า. ในบทนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วย ศีลอันลามกเป็นผู้วิบัติด้วยปโยคะ (ความขวนขวายชอบ) บุคคลผู้ประกอบ ทิฏฐิอันลามก เป็นผู้วิบัติด้วยอาสยะ (อัธยาศัย) บุคคลผู้วิบัติด้วยปโยคะและ อาสยะเป็นผู้ตกนรกโดยแท้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนซัดไป ในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 201

ในบทว่า ทฺวีหุ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต นี้พึงเห็นเป็นคำแสดงถึง ลักษณะ มิใช่แสดงถึงแบบแผน. เหมือนอย่างว่า ผิว่าในโลก ความเจ็บป่วย ทั้งหลายจะพึงมีแก่เราไซร้ ควรให้ยาชนิดนี้ แก่ผู้เจ็บป่วยเหล่านี้ ดังนี้. ใน ฐานะเช่นนี้ แม้เหล่าอื่นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ทุปฺปญฺโ คือ ไม่มีปัญญา

จบปฐมสีลสูตรที่ ๕