พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๗. อาตาปีสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้มีความเพียรบรรลุธรรมเกษม

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40057
อ่าน  420

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 202

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๑

๗. อาตาปีสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้มีความเพียรบรรลุธรรมเกษม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 202

๗. อาตาปีสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้มีความเพียรบรรลุธรรมเกษม

[๒๑๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 203

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ ไม่ ควรเพื่อจะตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน ไม่ควรเพื่อจะบรรลุธรรมอันเป็นแดน เกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเพียร ผู้มีโอตตัปปะ ควรเพื่อจะตรัสรู้ ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อจะบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุใดไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มาก ไปด้วยถีนมิทธะ ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ ภิกษุเช่นนั้น ไม่ควรเพื่อจะบรรลุญาณ เป็นเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด มีสติ มีปัญญาเครื่องรักษาตน มีฌาน มีความเพียร มีโอตตัปปะ ไม่ประมาท ตัดกิเลสชาติ เครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วย ชาติและชราขาดแล้ว พึงบรรลุญาณเป็น เครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ในอัตภาพนี้แล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอาตาปีสูตรที่ ๗

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 204

อรรถกถาอาตาปีสูตร

ในอาตาปีสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนาตาปี ได้แก่ ความเพียรชื่ออาตาปะ เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า อาตาปี เพราะมีความเพียร. ชื่อว่า อนาตาปี เพราะไม่มีความเพียร. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้เกียจคร้านเว้นจากสัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ). ความหวาดสะดุ้งต่อบาป ท่านเรียกว่า โอตตัปปะ. ชื่อว่า โอตตัปปี เพราะมีความหวาดสะดุ้ง. ชื่อว่า อโนตตัปปี เพราะไม่มีความ หวาดสะดุ้ง ได้แก่ เว้นจากความหวาดสะดุ้ง. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มี ความเพียรเป็นปฏิปักษ์ต่อความเพียร ได้แก่ความเกียจคร้าน. ชื่อว่า อนาตาปี เพราะไม่มีความเพียร. ความไม่หวาดสะดุ้งใดที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บุคคล ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อสิ่งที่ควรหวาดสะดุ้ง คือไม่หวาดสะดุ้ง เพราะเข้าถึง อกุศลธรรมอันลามก ความไม่หวาดสะดุ้งนั้น ชื่อว่า อโนตตาปะ (ไม่มีความ หวาดสะดุ้ง). ชื่อว่า อโนตตาปี เพราะไม่มีความหวาดสะดุ้ง. พึงทราบ ความในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อภพฺโพ แปลว่า ไม่ควร. บทว่า สมฺโพธาย คือ เพื่อ อริยมรรค. บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ เพื่ออมตมหานิพพานอันสงบกิเลสได้ โดยสิ้นเชิง. บทว่า อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส ได้แก่อรหัตตผล. จริงอยู่ อรหัตตผลนั้นชื่อว่า เป็นอนุตระ (ชั้นเยี่ยม) เพราะไม่มีสิ่งที่ยิ่งกว่า ชื่อว่า เขมะ (เป็นแดนเกษม) เพราะไม่ถูกโยคะ ๔ เบียดเบียน ท่านจึงกล่าวว่า นิพพาน และว่าเป็นแดนเกษมจากโยคะ. บทว่า อธิคมาย ได้แก่ เพื่อบรรลุ.

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 205

บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. จริงอยู่ ผู้มีความเพียรนั้น เป็นผู้ประกอบด้วยวิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจ มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่า อาตาปี เพราะ มีปกติเผากิเลสได้โดยสิ้นเชิง. บทว่า โอตฺตปฺปี ได้แก่ ชื่อว่ามีปกติเผา กิเลส เพราะประกอบด้วยโอตตัปปะ ดังที่ท่านกล่าวไว้อยู่นี้ว่า บุคคลย่อม เผาสิ่งที่ควรเผา คือ เผาความเกิดแห่งอกุศลธรรมอันลามก ดังนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โอตตัปปี. จริงอยู่ ผู้ที่ประกอบด้วยหิริ และโอตตัปปะ เพราะเว้น จากอกุศลธรรมอันลามกนั้น ท่านว่าเป็นผู้มีโอตตัปปะ ด้วยประการฉะนี้. ผู้ ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย เป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. ท่านแสดงถึงสีลสัมปทาของผู้นั้น ด้วย ประการฉะนี้. บทว่า อาตาปี ท่านแสดงถึงความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ขวนขวาย ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา โดยแสดงถึงการเผากิเลสโดยนัยนี้. อนึ่ง ความเพียรตามที่กล่าวแล้ว เว้นเสียจาก ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา จะมี ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น อินทรีย์อันมีศรัทธาครบ ๕ ทำวิมุตติให้แก่กล้า เป็นอัน ท่านกล่าวโดยอรรถเท่านั้น. ในความสำเร็จเหล่านั้น สัญญาอันเป็นนิพเพธภาคี (ส่วนแห่งการตรัสรู้) ๖ อย่าง คือ สัญญาในสิ่งไม่เทียงว่าไม่เที่ยง ๑ สัญญา ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑ สัญญาในทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ๑ สัญญาในการละ ทุกข์ ๑ สัญญาในความสิ้นกำหนัด ๑ สัญญาในนิโรธ ๑ เป็นความสำเร็จ นั่นเอง

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงถึงความเป็นผู้ควร เพื่อบรรลุมรรค ผล นิพพาน เพราะศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะของผู้ประกอบด้วยธรรม สองเหล่านี้สำเร็จ จึงตรัสว่า อาตาปี จ โข ฯเปฯ อธิคมาย ภิกษุผู้มี

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 206

ความเพียร มีโอตตัปปะ ควรเพื่อจะตรัสรู้ ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อจะ บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ดังนี้.

ในคาถาทั้งหลาย มีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า กุสีโต ความว่า ชื่อว่า กุสีตะ เพราะจม พัวพัน เกี่ยวข้องด้วยธรรมอันลามกซึ่งน่าเกลียดได้แก่กามวิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก เพราะมากไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ. หรือซ่าน ไปสู่ความน่าเกลียด พ้นไปจากการปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุสีตะ แปลง ท อักษรเป็น ต อักษร. บทว่า หีนวีริโย ได้แก่ ไม่มีความเพียร คือ เว้นจากการทำความเพียรในอิริยาบถ ๔. เป็นผู้มากไปด้วยถีนมิทธะ (ความง่วงเหงาหาวนอน) เพราะถีนะอันเป็นความเกียจคร้านทางจิต มีสภาพ หงอยเหงาเพราะไร้ความอุตสาหะ และมิทธะอันเป็นความเกียจคร้านทางกาย ไม่มีความองอาจ มีความคับแค้น เป็นสภาวะเป็นไปบ่อยๆ. ชื่อว่า ไม่มีหิริ เพราะไม่มีหิริอันมีลักษณะเกลียดความชั่ว และเพราะประกอบด้วยความไม่มี หิริอันเป็นปฏิปักษ์ต่อหิรินั้น. ชื่อว่าไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อใน การปฏิบัติชอบ เพราะไม่มีหิริ โอตตัปปะ วิริยะ. อนึ่ง ชื่อว่าไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่การทำกิริยาสองอย่าง โดยธรรมและบุคคลแม้โดยไม่มีหิริและ โอตตัปปะทั้งสองอย่าง. บทว่า ผุฏฺฐุํ คือ เพื่อถูกต้อง. บทว่า สมฺโพธิ- มุตฺตมํ ความว่า ไม่ควรเพื่อบรรลุพระอรหัตอันสูงสุด กล่าวคือสัมโพธิญาณ.

บทว่า สติมา ได้แก่ มีสติโดยประโยคกอบด้วยสติปัฏฐาน ๔ พร้อม กับมีความจำดี สามารถระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้. บทว่า นิปโก ได้แก่ มีปัญญารักษาตน เพราะประกอบด้วยความเฉลียวฉลาด กล่าวคือ รู้สึกตัวในฐานะ ๗ อย่าง และกล่าวคือเข้าใจการรักษากรรมฐาน. บทว่า ฌายี ได้แก่ มีฌานด้วยฌาน ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่ง

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 207

อารมณ์) ๑ ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ) ๑. บทว่า อปฺปมตฺโต ได้แก่ ไม่ประมาทด้วยกรรมฐานภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมชำระจิต จากอาวรณียธรรม (ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดี) ด้วยการจงกรม ด้วย การนั่งตลอดวัน. บทว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัดกิเลส ๑๐ อย่างมีกามราคะเป็นต้น อันได้ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะประกอบสัตว์ไว้ด้วย ชาติ และชราจากมูลรากด้วยการถอนอนุสัย (กิเลสอัน นอนเนื่องอยู่ในสันดาน) ขาดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัด กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติชราขาดแล้ว. อันที่จริง ผู้ที่ยังตัดสังโยชน์ ขาดไม่ได้ ก็ยังตัดและถอนชาติชราไม่ได้ แต่ผู้ที่ตัดสังโยชน์ได้ ก็ตัดชาติชรา ขาดได้ เพราะถอนเหตุเสียได้ ฉะนั้น เมื่อตัดสังโยชน์ขาด ก็ชื่อว่า ตัดชาติ ชราขาดได้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สํโยชนํ ชาติชราย เฉตฺวา ดังนี้. บทว่า อิเธว สมฺโพธิมนุตฺตรํ ผุเส ได้แก่ พึงถูกต้อง คือ พึงบรรลุพระอรหัต อันล้ำเลิศได้ในอัตภาพนี้แล.

จบอรรถกถาอาตาปีสูตรที่ ๗