พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๘. ปฐมนกุหนาสูตร ว่าด้วยแนวปฏิบัติพรหมจรรย์

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40058
อ่าน  418

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 207

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๑

๘. ปฐมนกุหนาสูตร

ว่าด้วยแนวปฏิบัติพรหมจรรย์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 207

๘. ปฐมนกุหนาสูตร

ว่าด้วยแนวปฏิบัติพรหมจรรย์

[๒๑๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 208

ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วย อาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติ เพื่อการสำรวมและเพื่อการละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อ การสำรวม เพื่อการละ ทางนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ประโยชน์ใหญ่ ผู้แสวงหา คุณอันใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่า ใดๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้นๆ ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จัก กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมนกุหนาสูตรที่ ๘

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 209

อรรถกถาปฐมนกุหนาสูตร

ในปฐมนกุหนาสูตรที่ ๘ ทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ในบทว่า นยิทํ นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ. ศัพท์นั้นต่อด้วย บทว่า วุสฺสติ. ย อักษรทำเป็นมนสนธิ.

อิทํ ศัพท์เป็นเพียงนิบาต ในบทมีอาทิว่า เอกมิทาหํ ภิกฺขเว สมยํ อุกฏฺายํ วิหรามิ สุภควเน สาลราชมูเล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่งนี้ เราอยู่ ณ โคนต้นสาละ ในสุภควันใกล้ศาลาอุกัฏฐ. มาในความ เห็นชัดในที่ใกล้ ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทมีอาทิว่า อิทํ โข ตํ ภิกฺขเว อปฺปมตฺตกํ โอรมตฺตกํ สีลมตฺตกํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนั้นนี้แลเป็นเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงข้างนี้ เป็นเพียงธรรมดา. มาในความ เห็นชัดในที่ใกล้ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบทมีอาทิว่า

อิทํ หิ ตํ เชตวนํ อิสีสํฆนิเสวิตํ อาวุฏฺํ ธมฺมราเชน ปีติสญฺชนนํ มมํ

มหาวิหารเชตวันนี้ อันหมู่ฤษีอาศัย อยู่ อันพระธรรมราชประทับอยู่ ยังปีติ ให้เกิดแต่เรา.

ในที่นี้พึงเห็นในความเห็นชัด ในที่ใกล้ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสูตรนี้. พรหมจริยศัพท์มาในการให้ในปุณณกชาดกนี้ว่า

กินฺเต วตํ กึ ปน พฺรหฺมจริยํ กิสฺส สุจิณฺณสฺส อยํ วิปาโก อิทฺธิชุติพลวีริยูปปตฺติ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 210

อกฺขาหิ เม นาค มหาวิมานํ อหญฺจ ภริยาจ มนุสฺสโลเก สทฺธา อุโภ ทานปตี อหุมฺหา โอปานภูตํ เม ฆรํ ตาทาสิ สนฺตปฺปิตา สมณพฺราหฺมณา จ ตํ เม วตํ ตํ ปน พฺรหฺมจริยํ ตสฺส สุจิณฺณสฺส อยํ วิปาโก

อิทฺธิชุติพลวีริยูปปตฺติ อิทํ จ เม ธีร มหาวิมานํ.

วัตรและพรหมจรรย์ ของท่านเป็นอย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งฤทธิ์ ความ รุ่งเรืองกำลัง และความเพียร นี้เป็นผลของ ความประพฤติเช่นไร ข้าแต่ท่านผู้ประเสริฐ ขอท่านจงบอกมหาวิมานแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าและภรรยาทั้งสอง เป็นทานบดี มีศรัทธาในมนุษยโลก ครั้งนั้น เรือนของข้าพเจ้าได้เป็นดังบ่อน้ำ สมณะ และพราหมณ์ทั้งหลายเอิบอิ่ม นั่นเป็น วัตรเป็นพรหมจรรย์ของเรา ความเกิดขึ้น แห่งฤทธิ์ ความรุ่งเรืองกำลัง และความ เพียร นี้เป็นผลแห่งความประพฤติดีนั้น ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญา นี้แหละเป็นมหาวิมาน ของเรา.

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 211

มาในความขวนขวาย ในอังกุรเปตวัตถุนี้ว่า

เกน ปาณิ กามทโท เกนปาณิ มธุสฺสโว เกน เต พฺรหฺมจริเยน ปุญฺํ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติ เตน ปาณิ กามทโท เตนฺ ปาณิ มธุสฺสโว เตน เม พฺรหฺมจริเยน ปุญฺํ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติ.

ฝ่ามือให้ความต้องการสำเร็จด้วยอะไร ฝ่ามือมีความอร่อยเป็นที่ไหลออกด้วยอะไร บุตรย่อมสำเร็จในฝ่ามือ ด้วยพรหมจรรย์ อะไรของท่าน

ฝ่ามือของเราให้ความใคร่สำเร็จ มี รสอร่อย เป็นที่ไหลออก บุญย่อมสำเร็จ ที่ฝ่ามือของเรา เพราะพรหมจรรย์นั้นๆ.

มาแล้วในศีล คือ สิกขาบท ๕ ข้อ ในติตติรชาดกนี้ว่า อิทํ โข ตํ ภิกฺเว ติตฺติริยํ นาม พฺรหฺมจริยํ อโหสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ ชื่อติตติริยะนี้ได้มีแล้ว. มาในพรหมวิหาร ในมหาโควินทสูตร นี้ว่า ตํ โข ปน ปญฺจสิข พฺรหฺมจริยํ เนว นิพฺพิทาย น วิราคาย ฯเปฯ ยาวเทว พฺรหฺมโลกูปปตฺติยา ดูก่อนปัญจสิข พรหมจรรย์ นั้นแล มิใช่เพื่อความเบื่อหน่าย มิใช่เพื่อความปราศจากความกำหนัด ฯลฯ เพียงเพื่อความเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น. มาแล้วในเมถุนวิรัติ ในสัลเลขสูตรว่า ปเร อพฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสนฺติ มยเมตฺถ พฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสาม พวกอื่นจักไม่เป็นพรหมจารี เราจักเป็นพรหมจารีในที่นี้. มาแล้วในสทารสันโดษ ในมหาธรรมปาลชาดกว่า

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 212

มยญฺจ ภริยา นาติกฺกมาม อมฺเห จ ภริยา นาติกฺกมนฺติ อญฺตฺร ตาหิ พฺรหฺมจริยํ จราม ตสฺมาติหมฺหํ ทหรา น มิยฺยเร

เราไม่ล่วงละเมิดภรรยา ทั้งภรรยา ก็ไม่ล่วงละเมิดเรา เราประพฤติพรหมจรรย์ ยกเว้นภรรยา เพราะฉะนั้น เด็ก ทั้งหมายของเรา จึงไม่ตาย.

มาในความเพียร ในโลมหังสสูตรว่า อภิชานามิ โข ปนาหํ สารีปุตฺต จตุรงฺคสมนฺนาคตํ พฺรหฺจริยํ จริตฺวา ตปสี สุทํ โหมิ ดูก่อนสารีบุตร ก็เราประพฤติความเพียรอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรู้ยิ่ง ได้ยินว่า เราเป็นผู้มีความเพียร.

มาแล้วในอุโบสถมีองค์ ๘ ซึ่งทำด้วยการทรมานตนในนิมิชาดกว่า

หีเนน พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย อุปปชฺชติ มชฺฌิเมน จ เทวตฺตํ อุตฺตเมน วิสุชฺฌติ

บุคคลเข้าถึงกษัตริย์ ด้วยพรหม จรรย์เลว และเข้าถึงความเป็นเทวดาด้วย พรหมจรรย์ปานกลาง ย่อมบริสุทธิ์ด้วย พรหมจรรย์สูงสุด.

มาแล้วในอริยมรรค ในมหาโควินทสูตรนั่นแลว่า อิทํ โข ปน ปญฺจสิข พฺรหฺมจริยํ เอกนฺตนิพฺพิทาย วิราคาย ฯเปฯ อยเมว อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค ดูก่อนปัญจสิขะ พรหมจรรย์นี้แล เพื่อความ เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความปราศจากความกำหนัด ฯลฯ นี้แล คือ

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 213

มรรคมีองค์๘อันเป็นอริยะ. มาแล้วในคำสอนทั้งสิ้นอันสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓ ในปาสาทิกสูตรว่า ตยิทํ พฺรหฺมจริยํ อิทฺธญฺเจว ผีตญฺจ วิตฺถาริกํ พหุชญฺํ ปุถุภูตํ ยาว เทวนนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิตํ พรหมจรรย์นี้นั่น สมบูรณ์ แพร่หลายพิสดาร รู้กันมาก กว้างขวาง ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์ ก็ได้ประกาศเป็นอย่างดี. ในที่นี้ พรหมจริยศัพท์ ย่อมเป็นไปในอริยมรรค และในคำสอน.

บทว่า วุสฺสติ ได้แก่อยู่ อธิบายว่า ประพฤติ. บทว่า ชนหุกหนตฺถํ ได้แก่ เพื่อหลอกลวงชนคือสัตวโลก โดยนัยมีอาทิว่า โอ พระผู้เป็นเจ้ามีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร มีความมักน้อย สันโดษ มีความวิเศษมาก มีอำนาจมาก ดังนี้. บทว่า ชนลปนตฺถํ ได้แก่ เพื่อยังมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใสว่า ทานที่ ถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า เห็นปานนี้ จักมีผลมาก ให้กล่าวว่า ต้องการด้วยอะไร จงนำอะไรมาดังนี้. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ ได้แก่ เพื่ออานิสงส์ อันเป็นปัจจุบันของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ การได้ปัจจัย ๔ ที่ท่านกล่าวไว้ โดยความเป็นอานิสงส์ของศีลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงเป็นผู้กระทำ ให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงหวังได้ว่า เราพึงได้บริขาร คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช และสักการะอันได้แก่การให้ปัจจัย ๔ โดยเคารพ ทั้งการเอื้อเฟื้อ การนับถือมาก การทำความเคารพ และความสรรเสริญอัน ได้แก่ความเฟื่องฟู ความยกย่อง ความมีชื่อเสียง โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุเป็น ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธุดงค์ เป็นผู้ปรารภความเพียร. บทว่า อิติ มํ ชโน ชานาตุ ผูกเป็นใจความว่า พรหมจรรย์นี้ ภิกษุ ไม่อยู่เพื่อให้เขายกย่อง ด้วยคุณอันมีอยู่ของตนว่า ชนจงรู้จักคือจงยกย่องเรา โดยอาทิว่า เมื่อมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล มี กัลยาณธรรม. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวความในบทนี้ อย่างนี้ว่า บทว่า

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 214

ชนกุหนตฺถํ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก มักมาก เพื่อจะ หลอกลวงชนด้วยความเท็จ ด้วยกุหนวัตถุ ๓ อย่าง กล่าวคือ ร่ายมนต์ อาศัย อิริยาบถ เสพปัจจัย. บทว่า ชนลปนตฺถํ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนา ลามก เพื่อประจบชนด้วยพูดรำพัน หรือด้วยพูดยกยอ โดยพูดแย้มให้เขารู้ ความหมายเป็นต้น เพื่อปัจจัย. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกานิสํสตฺถํ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก เพื่อให้สำเร็จอานิสงส์ กล่าวคือลาภ สักการะ ความสรรเสริญ เพราะเป็นผู้หนักในลาภเป็นต้น. บทว่า อิติ มํ ชโน ชานาตุ ได้แก่ เมื่อมีความปรารถนาลามก ภิกษุไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราอย่างนี้ ด้วยประสงค์ความยกย่องคุณอันไม่มี. แต่ ความตอนต้นมีสาระกว่า.

บทว่า อถ ในบทว่า อถโข นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถ อย่างอื่น. บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอวธารณะ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงว่า อิทํ ภิกฺขเว พฺรหฺมจริยํ วุสฺสติ ดังนี้ อันมีความอื่นจากการ หลอกลวงเป็นต้นนั่นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงประโยคนั้น จึงตรัสว่า สํ วรตฺถญฺเจว ปหานตฺถญฺจ ดังนี้.

ในบทว่า สํวรตฺถญฺเจว ปหานตฺถญฺจ นั้น สังวรมี ๕ อย่าง คือ ปาฏิโมกขสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑. ในสังวร ๕ เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปาติโมกขสังวรมาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์นี้ ท่านเรียกว่า สีลสังวรก็มี. สติสังวรนี้มาแล้วในบทว่า รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริยํ จกฺขุนฺทฺริเย สํวรํ อาปชฺชติ ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า ย่อมถึงความสำรวมใน จักขุนทรีย์. ญาณสังวรนี้มาแล้วในคาถาว่า

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 215

ยานิ โสดานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ โสตานํ สํวรํ พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน อชิตะ สติเป็นเครื่องห้ามกระแสในโลก เรากล่าว ความสำรวมกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้น พึงทำลายด้วยปัญญา ดังนี้.

ขันติสังวรนี้มาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส เป็นผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน. วีริยสังวรนี้มาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า อุปฺปนฺนํ กามวิตกฺกํ นาธิวาเสติ ไม่ยอมให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วท่วมทับ ได้. แต่โดยเนื้อความ เจตนาและวิรัติที่เป็นไปแล้ว ด้วยการละปาณาติบาต เป็นต้น และด้วยการกระทำวัตรปฏิบัติ โดยย่อ คือการสำรวมกายและวาจา ทั้งปวง โดยพิสดาร คือการไม่ล่วงกองอาบัติ ๗ ชื่อว่า สีลสังวร. สติสังวร คือสตินั่นเอง หรือกุศลขันธ์อันมีสติเป็นประธาน. ญาณสังวร คือญาณนั่นเอง. กุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วด้วยความอดกลั้น เพราะมีอโทสะเป็นประธาน ชื่อว่า ขันติสังวร. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ปัญญา. ความเพียรอันเป็นไปแล้ว ด้วยความอดกลั้นกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า วีริยสังวร. ในสังวรเหล่านั้น พึง ทราบว่า ข้อแรกชื่อว่า สังวร เพราะป้องกันความเป็นผู้ทุศีล มีกายทุจริต เป็นต้น ข้อสองชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความหลงลืม ข้อสามชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความไม่รู้ ข้อสี่ชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความไม่อดทน ข้อห้า ชื่อว่าสังวร เพราะสำรวม คือปิดกั้นความเกียจคร้าน. อธิบายว่า เพื่อการ สำรวม คือเพื่อให้สำเร็จการสำรวม เพื่อประโยชน์แก่การสำรวมนั้น ด้วย ประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 216

แม้ปหานะก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหานะ ๑ วิกขัมภนปหานะ ๑ สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นี้สสรณปหานะ ๑. ในปหานะ เหล่านั้น ข้อที่ควรกล่าวได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาปฐมสูตร ในเอกนิบาตมาก่อนแล้ว. อธิบายว่า เพื่อการละ คือ เพื่อให้สำเร็จการละ เพื่อประโยชน์แก่การละ เพราะสละ หรือเพราะก้าวล่วงกิเลสมีราคะเป็นต้นอย่างนั้นๆ แม้ทั้ง ๕ อย่าง.

ในบทนั้น เกจิอาจารย์กล่าวว่า การห้ามกิเลสเข้าไปในจิตสันดาน ด้วย การสำรวม การห้ามกิเลสเข้าไปในจิตสันดาน และการถอนด้วยปหานะ. ก็แม้ โดยทั้งสองอย่างพึงเห็นว่า ทั้งสองอย่างสมบูรณ์ตามควร. ความจริง ธรรม มีศีลเป็นต้น ชื่อว่าสังวร เพราะการสำรวม ชื่อปหานะ เพราะการละ.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบาย ดังต่อไปนี้. บทว่า อนีติหํ ได้แก่ อันตรายทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ท่าน เรียกว่า จัญไร. ชื่อว่า อีติหํ เพราะพรหมจรรย์กำจัดจัญไร คือทำให้พินาศ คือละ. บทว่า อนุ อีติทํ เป็น อนีติหํ คือ กำจัดจัญไร ได้แก่ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์. อีกอย่างหนึ่ง อุปกิเลสมีตัณหาเป็นต้น ชื่อว่า อีติหา เพราะนำไป คือเป็นไปกับด้วยจัญไรทั้งหลาย อันหาประโยชน์มิได้. ชื่อว่า อนีติหํ เพราะไม่มีจัญไร. หรือลัทธิของเดียรถีย์ ตามความที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งว่า อีติหา พรหมจรรย์นี้ชื่อว่า อนีติห เพราะตรงกันข้ามกับลัทธิเดียรถีย์ นั้น. ปาฐะว่า อนิติหํ ดังนี้บ้าง. มีอธิบายว่า วิจิกิจฉา ชื่ออิติห เพราะ มีความจัญไรในธรรมทั้งหลายไม่น้อย. พรหมจรรย์ชื่อว่า อนิติห เพราะไม่มี ความสงสัย เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติตามคำสอน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศ แล้ว เป็นผู้หมดสงสัย. อธิบายว่า พรหมจรรย์เป็นอปรปัจจัย (ไม่อาศัยสิ่งอื่น). สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระธรรมเป็นอตักกาวจร (ไม่มีวิตกกังวล) เพราะผู้รู้

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 217

พึงรู้เอง. เพื่อให้ง่ายในคาถา เกจิอาจารย์จึงกล่าวทำเป็นทีฆะ (เสียงยาว) ว่า อนีติหํ ดังนี้.

พรหมจรรย์ชื่อว่า เป็นเหตุให้ถึงฝั่งคือนิพพาน เพราะเป็นเหตุให้ถึงที่ สุด คือที่พึ่ง คือฝั่งอันได้แก่นิพพาน. อธิบายว่า มีวิมุตติเป็นรส เพราะวิมุตติ- เป็นรสเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น. พรหมจรรย์นั้นเป็นเหตุให้ ถึงฝั่งคือนิพพาน. บทว่า โส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงบำ เพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน ทรงทำลายสรรพกิเลส แล้วจึงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้ทรงแสดง คือทรงชี้แจง. อีก อย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอริยมรรคว่า นิพฺพาโนคโธ หยั่งลงสู่นิพพาน เพราะ เว้น อริยมรรคนั้นเสียแล้ว จะไม่มีการหยั่งลงสู่พระนิพพานได้เลย และเพราะ อริยมรรคนั้นไม่หน่วงเหนี่ยวพระนิพพานแล้วจะเป็นไปไม่ได้. อนึ่ง พรหมจรรย์นั้นชื่อว่า นิพฺพาโนคธคามิ เพราะเป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพานนั้น โดยส่วนเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิพฺพาโนคธคามินํ ได้แก่ เป็นเหตุ ให้ถึงภายในแห่งพระนิพพาน. อธิบายว่า มรรคพรหมจรรย์กระทำพระนิพพาน ให้เป็นอารมณ์ แล้วจึงเป็นไป คือเป็นไปทั่วในภายในพระนิพพานนั้นนั่นเอง

บทว่า มหตฺเถหิ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีตนใหญ่ คือมี อัธยาศัยยิ่ง. พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า เป็นผู้แสวงหาคุณ อันใหญ่ เพราะเสาะแสวงหาพระนิพพานใหญ่ หรือขันธ์มีศีลขันธ์เป็นต้น อันใหญ่. พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทรงดำเนินไปแล้ว คือปฏิบัติแล้ว

บทว่า ยถา พุทฺเธน เทสิตํ ความว่า ชนเหล่าใดปฏิบัติมรรคพรหมจรรย์นั้น และศาสนพรหมจรรย์อันมีประโยชน์นั้น โดยอาการที่เราผู้ เป็นสัมมาสัมพุทธะแสดงธรรม มีอภิไญยธรรม (ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง) เป็นต้น

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 218

โดยความเป็นอภิไญยธรรมเป็นต้นนั่นแล ชนเหล่านั้นเป็นผู้กระทำตามคำ สั่งสอน คือกระทำตามโอวาทของเราผู้เป็นศาสดา ผู้พร่ำสอนด้วยประโยชน์ ปัจจุบัน และสัมปรายภพตามสมควร จักกระทำที่สุด คือ ความเป็นไปไม่ได้ แห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่ง ทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปฐมนกุหนาสูตรที่ ๘