พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

๑. วิตักกสูตร ว่าด้วยวิตกของพระพุทธเจ้า ๒ ประการ

 
บ้านธัมมะ
วันที่  9 พ.ย. 2564
หมายเลข  40061
อ่าน  479

[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 227

ทุกนิบาต

วรรคที่ ๒

๑. วิตักกสูตร

ว่าด้วยวิตกของพระพุทธเจ้า ๒ ประการ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]


  ข้อความที่ 1  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 227

อิติวุตตกะ ทุกนิบาต วรรคที่ ๒

๑. วิตักกสูตร

ว่าด้วยวิตกของพระพุทธเจ้า ๒ ประการ

[๒๑๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิตก ๒ ประการ คือ เขมวิตก ๑ วิเวกวิตก ๑ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปเนื่องๆ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พระตถาคตมีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่ เบียดเบียน วิตกนี้นั่นแลของพระตถาคตนั้น ผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มา ยินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน ย่อมเป็นไปเนืองๆ ว่าเราจะไม่เบียด เบียนสัตว์อะไรๆ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคงให้ลำบากด้วยการกระทำนี้ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด วิตก นี้นั่นแลของพระตถาคตนี้ ผู้มีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด ย่อมเป็นไปเนืองๆ ว่า อกุศลเราละได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ นั้นแล แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว ในความไม่เบียดเบียนอยู่เถิด วิตกนี้นั่นแลของเธอทั้งหลายนั้น ผู้มีความไม่ เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน จักเป็นไปเนืองๆ ว่า เราทั้งหลายจะไม่เบียดเบียนสัตว์อะไรๆ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคงให้ลำบาก ด้วยการกระทำนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสงัดเป็นที่ มายินดี ยินดีแล้วในความสงัดอยู่เถิด วิตกนี้นั่นแลของเธอทั้งหลายนั้น ผู้มี

 
  ข้อความที่ 2  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 228

ความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด จักเป็นไปเนืองๆ ว่า อะไร ชื่อว่าอกุศล อกุศลอะไรๆ ที่เราทั้งหลายยังละไม่ได้แล้ว เราทั้งหลายจะละ อกุศลอะไร.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

วิตก ๒ ประการของพระตถาคตผู้ เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำมารอันผู้อื่น ไม่พึงครอบงำได้ ย่อมเป็นไปเนื่องๆ พระตถาคตผู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นได้แสดง เขมวิตกข้อที่ ๑ ลำดับนั้น ได้ประกาศวิเวก วิตกข้อที่ ๒ เรากล่าวมุนีผู้บรรเทาความ มืด ผู้ถึงฝั่ง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง ผู้ถึงคุณอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงถึง ผู้มีความชำนาญ ผู้ไม่มีอาสวะ ผู้ข้ามวัฏทุกข์อันเป็นยาพิษ ผู้น้อมไปแล้ว ในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ผู้ทรงไว้ซึ่งร่าง กายอันมีในที่สุดนั้นแลว่า ผู้ละมาร ผู้ถึง ฝั่งแห่งชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี มีพระจักษุรอบคอบผู้ปราศจากความโศก ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วย (ปัญญา) ธรรม ย่อมพิจารณาเห็นหมู่ชนผู้ยังข้าม

 
  ข้อความที่ 3  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 229

ความโศกไม่ได้ ผู้ถูกชาติและชราครอบ งำ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บน ยอดภูเขาหิน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบวิตักกสูตรที่ ๑

ทุกนิบาทวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาวิตักกสูตร

ในวิตักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ตถาคตศัพท์ในบทว่า ตถาคตํ ภิกฺขเว นี้ ย่อมปรากฏในโวหาร ว่าสัตว์ และสัมมาสัมพุทธะเป็นต้น. ปรากฏในโวหารว่าสัตว์ ในบทมีอาทิว่า ตถาเหส โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา เป็นความจริงอย่างนั้น สัตว์นี้มี ความตายเป็นเบื้องหน้า. ปรากฏในโวหารว่า สัมมาสัมพุทธะ ในบทมีอาทิว่า

ตถาคตํ เทวนนุสฺสปูชิตํ พุทฺธํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระตถาคต คือพระพุทธเจ้า ผู้อันเทวดาและ

 
  ข้อความที่ 4  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 230

มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

ปรากฏในโวหารว่า ธรรม ในบทมีอาทิว่า

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ ธมฺมํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระ ตถาคตคือพระธรรม ผู้อันเทวดาและ มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

ปรากฏในโวหารว่า สงฆ์ ในบทมีอาทิว่า

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ สํฆํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระตถาคตคือพระสงฆ์ ผู้อันเทวดาและ มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

แต่ในที่นี้ปรากฏในโวหารว่า สัมมาสัมพุทธะ. เพราะฉะนั้น ในบท ว่า ตถาคต นี้ ท่านกล่าวถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ. เหตุ ๘ ประการเป็นไฉน. ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาเหมือน อย่างนั้น. ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. ชื่อว่าตถาคต เพราะ ทรงรู้ลักษณะที่แท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง โดยความ เป็นจริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นความแท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะทรง

 
  ข้อความที่ 5  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 231

สั่งสอนสิ่งที่แท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงการทำแต่ความแท้จริง. ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาเหมือนอย่าง นั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน คือ บารมี ๑๐ เหล่านี้ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ เหล่านี้ คือ บริจาคอวัยวะ ๑ บริจาคตน ๑ บริจาคทรัพย์ ๑ บริจาคภริยา ๑ บริจาคราชสมบัติ ๑ โดยทำนองเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมาอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทั้งหลาย ก็เสด็จมาอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท่าน กล่าวไว้ว่า

ยเถว โลกมฺหิ วิปสฺสิอาทโย สพฺพญฺญุภาวํ มุนโย อิธาคตา ตถา อยํ ส ยมุนีปิ อาคโต ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา

พระมุนีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมาสู่ความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ อย่างใด แม้พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมา เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ จึงชื่อว่า ตถาคต. ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเหมือนอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 6  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 232

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปเหมือนอย่าง นั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น ซึ่งประสูติ เดี๋ยวนั้น ครั้นประดิษฐานพระบาททั้งสองเสมอกันบนแผ่นดิน แล้วทรงหัน พระพักตร์ไปทางทิศอุดร ย่างพระบาท ๗ ก้าวอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

มุหุตฺตาชโต จ ควมฺปติ ยถา สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธรํ โส วกฺกมิ สตฺต ปทานิ โคตใน เสตํว ฉตฺตํ อนุธารยุํ มรู คนฺตวาน โส สตฺต ปทานิ โคตโม ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต อฏฺงฺคุเปตํ คิรมพฺภุทีรยิ สีโห ยถา ปุพฺพตมุทฺนิฏฺิโต

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ควัมปติ ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น ทรงเหยียบแผ่นดิน ด้วยพระบาททั้งคู่เสมอกัน ฉันใด พระ โคดมนั้น ก็ฉันนั้น ทรงย่างพระบาทได้ ๗ ก้าว หมู่เทพพากันกั้นเศวตฉัตร ครั้นพระองค์เสด็จไปได้ ๗ ก้าวแล้ว ทรงหยุด เหลียวแลดูทิศสม่ำเสมอกันโดยรอบ ทรง เปล่งพระวาจาประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือน ราชสีห์ยืนอยู่บนยอดเขาฉะนั้น.

 
  ข้อความที่ 7  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 233

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น จึงชื่อว่าตถาคต ด้วย ประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงรู้ลักษณะที่แท้จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระองค์ทรงรู้สามัญลักษณ์ พร้อมด้วยลักษณะของ รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งปวง จริงแท้แน่นอน คือ ทรงบรรลุด้วยญาณคติ ตรัสรู้ไม่ผิดพลาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท่านกล่าวว่า

สพฺเพสํ ปน ธมมานํ สกสามญฺลกขณํ ตถเมวาคโต ยสฺมา ตสฺมา นาโถ ตถาคโต

ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น นาถะ ทรงรู้สามัญลักษณะของตน แห่ง ธรรมทั้งปวง แท้จริงทีเดียว ฉะนั้น พระองค์จึงชื่อว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ลักษณะที่แท้จริง ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง โดยความเป็นจริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่า ธรรมแท้จริง. สมดังที่ตรัสว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ตถานิ อวิตถานิ อนญฺ- ถานิ กตมานิ จตฺตาริ อิทํ ทุกฺขํ อริยสจฺจนฺติ ภิกฺขเว ตถาเมตํ อวิตถเมตํ อนฺญฺกเมตํ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้แน่นอน ไม่ เป็นอย่างอื่น ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น. พึงทราบความพิสดารต่อไป พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ ยิ่งซึ่งธรรมอันแท้จริง. เพราะ คต ศัพท์ ในที่นี้มีความว่าตรัสรู้ยิ่ง. พระผู้มี

 
  ข้อความที่ 8  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 234

พระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง โดยความเป็นจริง ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงเห็นความแท้จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวง ซึ่งรูปารมณ์อันมาทางจักขุทวาร ของสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ในโลกธาตุ อันไม่มีประมาณในเทวโลก พร้อมด้วยมนุษยโลก เมื่อทรงรู้ทรงเห็นอย่างนี้ ทรงจำแนกรูปารมณ์นั้น ด้วยอารมณ์น่าปรารถนาเป็นต้น หรือด้วยการได้บท ในเพราะ ทิฏฐะ สุตะ มุตะ วิญญาตะ โดยนัยมีอาทิว่า รูปที่แสดงสีแสงอาศัย มหาภูตรูป ๔ เป็นไปกับด้วยความกระทบกระทั่ง มีสีเขียว สีเหลืองเป็น รูปารมณ์เป็นไฉน โดยชื่อมากมาย หรือโดย ๑๓ วาระ. หรือโดย ๕๒ นัย เป็นความจริงแท้ทีเดียว ไม่จริงไม่มี. ในเสียงเป็นต้น อันมาทางโสตทวาร เป็นต้น ก็มีนัยนี้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยํ ภิกฺขเว สเทวกสฺส โลกสฺส ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ทิฏฺํ สุตํ มุตํ วิญฺาตํ ปตฺตํ ปริเยสิตํ อนุวิจริตํ มนสา ตมหํ ชานามิ ตมหํ อภิญฺาสึ ตํ ตถาคตสฺส วิทิตํ ตถาคตสฺส อุปฏฺาสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้ รู้ยิ่ง อารมณ์ที่เห็น ที่ฟัง ที่รู้ ที่รู้ยิ่ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตามเที่ยวไปของ โลกพร้อมกับเทวโลก ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดาแลมนุษย์ ด้วยใจ อารมณ์นั้น ตถาคตรู้แล้ว รู้ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว แก่ตถาคต ได้ปรากฏแล้ว แก่ตถาคต. ด้วย ประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงเห็นความแท้จริง. พึง ทราบความหมายของบทว่า ตถาคโต ในอรรถว่า เห็นความแท้จริงในที่นี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงสั่งสอนสิ่งที่แท้จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า ตลอดราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตลอดราตรีใด เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ คำสอนมีสุตตะ เคยยะเป็นต้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

 
  ข้อความที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 235

ในเวลาปริมาณ ๔๕ พรรษา ทั้งหมดนั้นบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ย่ำยีความมัวเมาใน ราคะเป็นต้น เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นเช่นเดียวกัน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า ยญฺจ จุนฺท รตฺตึ ฯเปฯ ตถาคโตติ วุจฺจติ ดูก่อนจุนทะ ราตรีใด ตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ราตรีใด ตถาคตปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ ตถาคต กล่าวพูดชี้แจงคำสอนใด ทั้งหมดนั้นเป็นความจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. คต ศัพท์ในที่นี้มีความว่า กล่าว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรง สั่งสอนสิ่งที่แท้จริง. อีกอย่างหนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคท อธิบายว่า คำพูด. พึงทราบบทสำเร็จในที่นี้ อย่างนี้ว่า ชื่อตถาคโต แปลง เป็น ในบทว่า ตโถ อวีปริโต อาคโท อสฺส มีคำพูดจริงแท้ไม่แปรผัน.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงกระทำแต่ความแท้ จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า จริงอยู่ กายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมอนุโลม ตามวาจา แม้วาจาก่อนุโลมตามกาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น ผู้พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น และทำอย่างใด พูดอย่างนั้น เมื่อพระองค์เป็นอย่างนี้ วาจาเป็นอย่างใด แม้กายก็ไป คือ เป็นไปอย่างนั้น และกายเป็นอย่างใด แม้วาจาก็เป็นอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยถาวาที ภิกฺขเว ตถาคโต ตถาการี ตถาวาที อิติ ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที ตสิมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น เพราะตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น ฉะนั้นจึง ชื่อว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะทรงกระทำแต่ความ แท้จริง ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ เป็นอย่างไร. ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำภวัคคพรหมไว้

 
  ข้อความที่ 10  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 236

ในเบื้องบน ที่สุดอเวจีไว้ในเบื้องล่าง ทรงครอบงำ สรรพสัตว์ในโลกธาตุอันหา ประมาณมิได้ในเบื้องขวาง คุณของพระองค์ชั่งหรือวัดไม่ได้ ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง โดยแท้จริง พระองค์อันบุคคลชั่ง ไม่ได้ วัดไม่ได้ เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ไม่มีเทวดายิ่งกว่า เป็นท้าวสักกะยิ่ง กว่าท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อภิภู อนภิภูโต อญฺทตฺถุทโส วสวตฺติ ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ครอบงำได้ เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ยังสัตว์ให้อยู่ใน อำนาจ ในโลกพร้อมกับเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์พร้อมกับเทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. นี้เป็นบทสำเร็จในข้อนั้น คำพูดก็เหมือนยา เป็นเยื้องกรายแห่งเทศนา และเป็นการสะสมบุญ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นผู้มีอานุภาพมาก ทรงย่ำยีผู้กล่าวคัดค้านทั้งหมด และโลกพร้อมด้วย เทวโลก ดุจหมอยาปราบงูด้วยยาทิพย์ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีคำพูด วิเศษตามที่กล่าวแล้ว จริงแท้ไม่แปรผัน ในการครอบงำชาวโลกทั้งปวง เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ชื่อ ตถาคโต เพราะแปลง เป็น ด้วย ประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อ ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ ตถาคต เพราะรู้ คือ ตรัสรู้ด้วยความแท้จริง. อธิบายว่า ชื่อตถาคต เพราะรู้ คือ หยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วยติรณปริญญาอันแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะละโลกสมุทัย (ตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิดโลก) ด้วยปหานปริญญาอันแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะบรรลุโลกนิโรธ (ความดับตัณหา เป็นเหตุให้เกิดโลก) ด้วยการทำให้แจ้งอันแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะทรงไป

 
  ข้อความที่ 11  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 237

คือปฏิบัติโลกนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิบัติปฏิปทาให้ถึงความดับตัณหาเป็นเหตุ ให้เกิดโลก) ด้วยภาวนาอันแท้จริง. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โลโก ภิกฺขเว ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺโธ ฯเปฯ ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ดู ก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้ยิ่งถึงโลก ตถาคตแยกออกจากโลกแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้ยิ่งถึงโลกสมุทัย ตถาคตละโลกสมุทัยได้แล้ว ตถาคต ตรัสรู้ยิ่งโลกนิโรธ ตถาคตทำให้แจ้งโลกนิโรธแล้ว ตถาคตตรัสรู้ยิ่งโลกนิโรธคามินีปฏิปทา ตถาคตเจริญโลกนิโรธคามินีปฏิปทาชัดแจ้งแล้ว ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตตรัสรู้ยิ่งถึงสิ่งทั้งปวง ของเทวโลกพร้อมด้วย มนุษยโลกนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อ ตถาคต ด้วยเหตุอื่นอีก ๘ ประการ คือ ชื่อตถาคต เพราะเสด็จมาเพื่อความแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อ ความแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะทรงตรัสรู้ความจริงแท้. ชื่อตถาคต เพราะ เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. ชื่อตถาคต เพราะเป็นเหมือนอย่างนั้น. ชื่อตถาคต เพราะเป็นไปเหมือนอย่างนั้น. ชื่อตถาคต เพราะไม่เสด็จไปจากความแท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะความที่พระองค์เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเสด็จมาเพื่อความแท้จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า มหาปฏิญญาอันใด ที่พระผู้มีภาคภาคเจ้า ผู้เป็นสุเมธดาบส ได้บำเพ็ญอภินิหารอันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

อภินิหารย่อมสำเร็จ เพราะถึงพร้อม ด้วยธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็น มนุษย์ ๑ ความพรั่งพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ การถึงพร้อมด้วยคุณ ๑ อธิการะ ๑ ความ มีฉันทะ ๑

 
  ข้อความที่ 12  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 238

ดังนี้ ให้เป็นไปแล้ว ณ บาทมูลของพระทีปังกรทศพลว่าเราข้ามโลก พร้อมทั้งเทวโลกแล้ว จักยังสัตว์ให้ข้ามบ้าง เราพ้นแล้วจักยังสัตว์ให้พ้นบ้าง เราฝึกแล้ว จักให้สัตว์ฝึกบ้าง เราปลอดโปร่งแล้ว จักให้สัตว์ปลอดโปร่งบ้าง เราปรินิพพานแล้ว จักให้สัตว์ปรินิพพานบ้าง ดังนี้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

กิมฺเม เอเกน ติณฺเณน ปุริเสน ถามทสฺสินา สพฺพญฺญุตํ ปาปุณิตฺวา สนฺตาเรสฺสํ สเทวกํ อิมินา เม อธิกาเรน ปุริเสน ถามทสฺสินา สพฺพญฺญุตํ ปาปุณิตฺวา ตาเรมิ ชนตํ พหุํ สํสารโสตํ ฉินฺทิตฺวา วิทฺธํเสตฺวา ตโย ภเว ธมฺมนาวํ สมารุยฺห สนฺตาเรสฺสํ สเทวกํ กิมฺเม อฺาตเวเสน ธมฺมํ กจฺจิกเตนิธ สพฺพญฺญุตํ ปาปุณิติวา พุทฺโธ เหสฺสํ สเทวเก

เราบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้เป็นบุรุษมีกำลัง ใจ จะข้ามไปผู้เดียว จักยังมนุษย์พร้อม ทั้งเทวดาให้ข้ามบ้าง.

เราบรรลุความเป็นสัพพัญญูแล้ว เป็นบุรุษมีกำลังใจด้วยกุศลของเรานี้ จะ ให้ชนเป็นอันมากข้ามบ้าง.

เราตัดกระแสสงสารได้แล้ว กำจัด ภพ ๓ ได้แล้ว ขึ้นสู่เรือ คือ พระธรรม ได้แล้ว จักให้มนุษย์พร้อมด้วยเทวดาข้าม บ้าง.

 
  ข้อความที่ 13  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 239

เราบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู แล้ว ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้ทำให้แจ้ง พระธรรมด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก จักเป็น พระพุทธเจ้าในโลกนี้กับทั้งเทวโลก ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นโลกนาถ ไม่ทรงกล่าวให้ผิดมหาปฏิญญานั้น อัน เป็นเหตุแห่งการค้นคว้าพิจารณา และสมาทานซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งธรรม อันทำให้เป็นพระพุทธเจ้า แม้ทั้งสิ้น เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน มีทานบารมีเป็นต้น โดยครบบริบูรณ์เป็นลำดับ ๕ ด้วยความเคารพตลอด อสงไขยกับแสนมหากัป ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ มีบริจาคอวัยวะเป็นต้น ทรงเพิ่มพูนอธิษฐาน ๔ มีสัจจาธิฏฐานเป็นต้น ทรงสั่งสมบุญสมภาร และ ญาณสมภาร ทรงยังความเพียรในเบื้องต้น ประพฤติธรรมในเบื้องต้น ทรง บอกธรรม และทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติเป็นต้น ให้ดียิ่งขึ้น ทรงบรรลุพุทธริยาอันเป็นที่สุดอย่างยิ่ง แล้วจึงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพญาณ ฉะนั้น มหาปฏิญญานั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงจริงแท้ ไม่เป็น อย่างอื่น ความไม่จริงแท้แม้เพียงปลายขนทรายย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น. จริงอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์เหล่านี้ คือ พระทีปังกรทศพล พระโกณฑัญญะ พระสุมังคละ ฯลฯ พระกัสสปะ ทรงอุบัติ แล้วตามลำดับ ได้พยากรณ์สุเมธดาบสนั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้รับพยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ๒๔ องค์อย่างนี้ ครั้นทรงได้รับอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมี ควรได้แล้วจึงเสด็จมา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะมา คือบรรลุ ความเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งด้วยความจริงแท้ อันเป็นมหาปฏิญญาดังที่ได้กล่าวแล้วนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคตเพราะเสด็จมาเพื่อความแท้จริงด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 14  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 240

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อความแท้จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นโลกนาถทรงเห็นหมู่สัตว์ได้รับ ทุกข์ใหญ่ และความคับแค้น ทรงตั้งพระหฤทัยว่า ไม่มีใครอื่นจะเป็นที่พึ่ง ของหมู่สัตว์นั้นได้ เท่านั้นซึ่งพ้นแล้วจากสังสารทุกข์นี้ จักให้หมู่สัตว์นั้น พ้นบ้าง ดังนี้ จึงได้ทรงบำเพ็ญบารมียิ่งใหญ่ ด้วยพระมหากรุณา. ก็ครั้น ทรงบำเพ็ญแล้ว ทรงขวนขวาย เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งสิ้นตามที่ ทรงตั้งปณิธานไว้ ไม่ทรงห่วงใยร่างกาย และชีวิต ทรงบำเพ็ญทุกรจริยาที่ทำ ได้ยากอย่างยิ่ง ให้จิตเกิดความหวาดสะดุ้ง แม้ด้วยเหตุเพียงผู้อื่นได้ยินได้ฟัง เข้า ทรงปฏิบัติโดยประการที่การปฏิบัติของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย อันจะ เป็นส่วนแห่งการละ หรือจะเป็นส่วนแห่งความเศร้าหมอง หรือจะเป็นส่วน แห่งความตั้งอยู่ ก็ไม่ใช่ ที่แท้ยังมีส่วนอันวิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จึงทรงรวบรวม โพธิสมภารไม่ให้มีเหลือตามลำดับ แล้วบรรลุสัมโพธิญาณอันยอดยิ่ง. แต่นั้น ทรงคอยตักเตือนผู้อื่นด้วยพระมหากรุณานั้น ทรงละความยินดีในความสงัด และความสุขคือความหลุดพ้นอันสงบอย่างยิ่ง ไม่ทรงคำนึงถึงความยกย่อง ดูหมิ่นและอาการผิดปกติที่ชนเหล่านั้นทำให้เกิดขึ้นในโลกอันมากด้วยชนพาล ทรงสำเร็จพุทธกิจไม่มีเหลือโดยการแนะนำเวไนยชน. อาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าถึงด้วยพระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธกิจนั้น จักมีแจ้ง ข้างหน้า. พระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายของพระโลกนาถผู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นอย่างใด แม้ของท่านผู้เป็นพระโพธิสัตว์ก็เป็นอย่างนั้น เป็นของแท้จริง ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเป็นเช่นเดียวกันในสูตรทั้งปวง มีมหาภินิหารกาลสูตร เป็นต้น และโดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อ ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ดำเนินไปเพื่อประโยชน์แก่โลกทั้งสิ้น ด้วยพระมหากรุณาอันแท้จริง มีรสเสมอกันในสรรพสัตว์อันไม่มีกำหนดแม้ ๓. พระผู้- มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อความแท้จริง ด้วยประการฉะนี้.

 
  ข้อความที่ 15  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 241

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคตเพราะตรัสรู้ความแท้จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า อริยมรรคญาณ ๔ ชื่อว่า ความแท้จริง. จริงอยู่ อริยมรรคญาณเหล่านั้น ชื่อว่า แท้จริง ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดสภาวะ และลักษณะพร้อมด้วยรส ของอริยสัจ ๔ อันเป็นเหตุแห่งความเป็นไป การ กลับไปและทั้งสองอย่างนั้น รวบรวมธรรมที่ควรรู้ไว้ทั้งหมดอย่างนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และของ ธรรมทั้งหลายเพื่อความเป็นไปโดยอาการไม่วิปริต อันได้แก่การไม่ลุ่มหลง และการตรัสรู้ในอริยมรรคญาณนั้น ซึ่งได้ด้วยการตัดขาดฝ่ายที่เศร้าหมอง ตรัสรู้ผูกพันสภาวะตามเป็นจริง อันมีวิภาคแห่งอริยมรรคญาณนั้นเป็นต้นว่า ทุกข์ มีการเบียดเบียน ปรุงแต่ง เผา แปรปรวน เป็นอรรถ สมุทัย มีการ ขวนขวายเป็นเหตุ พัวพัน ห่วงใยเป็นอรรถ นิโรธ เป็นเครื่องสลัดออก สงัด จากกิเลส ไม่ปรุงแต่งอมตะเป็นอรรถ มรรค นำออกไป เป็นเหตุ เป็นทัสสนะ เป็นอธิบดี เป็นอรรถดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้อื่นแนะนำ ทรงรู้คือ บรรลุ อริยมรรคญาณเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความแท้จริง.

มรรคญาณควรให้แจ่มแจ้งด้วยประการใด อัปปฏิหตญาณ (ญาณที่ไม่- มีอะไรกระทบได้) จตุปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณคือปฏิสัมภิทา ๔) จตุเวสารัชชญาณ (ญาณคือเวสารัชชธรรม ๔) ปัญจคติปริจเฉทญาณ (ญาณคือกำหนดคติ ๕) ฉ อสาธารณญาณ (ญาณคืออสาธารณะ ๖) สัตตโพชฌังควิภาวนญาณ (ญาณคือทำให้แจ้งซึ่งโพชฌงค์ ๗) อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ ญาณคือทำให้แจ้ง ซึ่งองค์แห่งมรรค ๘) นวานุปุพวิหารสมาปัตติญาณ (ญาณ คือการเข้าอนุปุพวิหาร ๙) และ ทศพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐) ของพระผู้-

 
  ข้อความที่ 16  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 242

มีพระภาคเจ้า ควรให้แจ่มแจ้งในกาล ๓. ในมรรคญาณนั้นควรรู้อย่างใด อย่างหนึ่ง มีสภาวกิจเป็นต้น มีที่อยู่วิเศษเป็นต้นและมีนามและโคตรอัน เนื่องด้วยขันธ์เป็นต้น ในขันธ์ธาตุอายตนะที่เป็นอดีตอันแตกต่างกันมีเลวเป็น ต้นของสัตว์ผู้แตกต่างกันมีความเลวเป็นต้น อันไม่มีประมาณในโลกธาตุอันไม่ มีประมาณ. อนึ่ง พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ข้องไม่มีอะไรกระทบ แล้ว ในความวิเศษมี วรรณ สันฐานกลิ่นรสและผัสสะเป็นต้นของรูปธรรม อันเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้นๆ ในรูปธรรมทั้งหลายอันละเอียดยิ่ง ตั้งอยู่ภายใน และอยู่ไกล อันเนื่องด้วยอนินทรีย์ ย่อมเป็นไปโดยประจักษ์ในที่ทั้งปวงดุจ มะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ. ญาณเหล่านี้ คือ ญาณในอนาคตและปัจจุบันก็ เหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อัปปฏิหตญาณในกาล ๓. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า อัปปฏิหตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะในส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน. ก็ญาณเหล่านั้น ชื่อว่า จริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดไปจากสภาวลักษณะ พร้อมด้วยรสแห่งธรรมทั้งหลายในญาณนั้นๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุ ญาณเหล่านั้นด้วยสยัมภูญาณ จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ความจริงแท้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปฏิสัมภิทามี ๘ อย่างคือ อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ) ๑ ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๑ นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ๑.

ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ญาณอันเป็นประเภทในอรรถเพื่อสามารถทำให้ แจ้งและกำหนดพร้อมด้วยลักษณะของประเภทแห่งอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ญาณอันเป็นในธรรมเพื่อสามารถทำให้แจ้ง และกำหนดพร้อมด้วย ลักษณะแห่งประเภทของธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ญาณอันเป็นไปในการ

 
  ข้อความที่ 17  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 243

เข้าใจภาษา (เข้าใจพูด) เพื่อสามารถทำให้แจ้งและกำหนดพร้อมด้วยลักษณะ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณอันเป็นไปในปฏิภาณ (ความเฉียบแหลม) เพื่อสามารถทำให้แจ้งและกำหนดพร้อมด้วยลักษณะ แห่งประเภทของปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้ ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในอรรถ ในธรรม ในการเข้าใจภาษา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความ รู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ก็ในอัตถปฏิสัมภิทานี้โดยย่อ ผลของเหตุชื่อว่า อรรถ เพราะไม่มีทุกข์และเพราะควรถึงอย่างยิ่ง. แต่โดย ประเภท ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือ สิ่งใดๆ ที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ๑ ความ ดับกิเลส ๑ คำพูดที่มีประโยชน์ ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ ชื่อว่า อรรถ. ญาณ อันเป็นประเภทในอรรถนั้นของผู้พิจารณาอรรถนั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา. โดยย่อ ปัจจัยชื่อว่า ธรรม. เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัด. ย่อมให้ประพฤติและย่อมให้ บรรลุถึงประโยชน์นั้นๆ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ธรรม. แต่โดยประเภท ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้คือ ความเกิดแห่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ เหตุ ๑ อริยมรรค ๑ คำที่เป็นภาษิต ๑ กุศล ๑ ชื่อว่า ธรรม. ญาณอันเป็นประเภทในธรรมนั้นของ ผู้พิจารณาธรรมนั้นชื่อ ธัมมปฏิสัมภิทา. แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า ความรู้ใน ทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกข์สมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินี ปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว เจริญ แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้ใน ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เกิดแล้ว เจริญแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้วจากธรรมใด ความรู้ในธรรม

 
  ข้อความที่ 18  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 244

นั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในชราและมรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดชราและมรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการดับ ชราและมรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับชรา และมรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในชาติ ในภพ ในอุปทาน ในตัณหา ในเวทนา ในผัสสะ ในสฬายตตนะ. ในนามรูป ในวิญญาณ ใน สังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดสังขารชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการดับสังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ ในปฏิปทาให้ถึงความดับสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ นี้ท่าน เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นย่อมรู้ความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่านี้เป็น ความแห่งภาษิตนี้ ดังนี้ ท่านเรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา กุศลธรรมทั้งหลาย เป็นไฉน คือ สมัยใด กามาวจรกุศลจิต ปรารภ รูปารมณ์ ฯลฯ ธัมมารมณ์ สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ธรรมเป็นผัสสะ ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ความรู้ในกุศลธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในวิบากของกุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอาทิ. พึงทราบความพิสดารต่อไป.

ภาษาตามสภาพ คือ คำพูดที่เป็นจริง ในอรรถและในธรรมนั้น ความรู้อันเป็นประเภทของภาษาถิ่นของสัตว์ทั้งปวง ในการพูดภาษาตามสภาพ โดยภาษามคธว่า นี้เป็นภาษาตามสภาพ นี้มิใช่ภาษาตามสภาพดังนี้ ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา. ความรู้ในญาณของผู้พิจารณากระทำญาณ แม้ทั้งหมด อันเป็นไปแล้วโดยพิสดารด้วยโคจรกิจ (ธรรมเป็นอารมณ์) ในญาณเหล่านั้น ตามที่กล่าวแล้วให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุด้วยพระองค์เองจึงเป็นสิ่งจริงแท้ แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่เป็นไปในอาการวิปริต โดยไม่ผิดในวิสัย

 
  ข้อความที่ 19  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 245

ของตนนั้นๆ มีอรรถและธรรมเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ความแท้จริง แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ตรัสรู้ยิ่งถึงข้อ ควรแนะนำทั้งปวงนั้น โดยอาการทั้งหมด. จริงดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้อภิไญยธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ปริไญยธรรมเพราะ เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ปหาตัพพธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรละ ตรัสรู้สัจฉิกาตัพพธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ภาเวตัพพธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ โดยที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา มารพรหมไรๆ ไม่สามารถจะท้วงพระองค์ ด้วยความเป็นธรรมได้ว่า ธรรม เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้ ดังนี้.

ชื่อปหาตัพพธรรม ได้แก่ อนุปปัตติธรรมทั้งปวง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละได้แล้ว ณ โคนต้นโพธิ์ โดยไม่มีเหลือ ไม่มีกิจที่จะต้องทำ ยิ่งกว่า เพื่อละปหาตัพพธรรมนั้นอีก. จริงดังนั้น กิเลสพันครึ่ง อันต่างด้วย โลภะ โทสะ โมหะ การใส่ใจวิปริต ความไม่ละอายใจ ความไม่กลัวบาป ความง่วงเหงาหาวนอน ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ การตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ เจ้าเล่ห์ โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน มัวเมา เลินเล่อ อกุศลมูล ๓ ทุจริต ความจำผิดๆ มลทิน วิตก ความ หลอกลวง การแสวงหา ตัณหา การแสวงหาผิด ๔ อย่าง อาสวะ เครื่องร้อยรัด โอฆะ โยคะ (กิเลสเครื่องผูก) อคติ การยึดถือเพราะตัณหา นิวรณ์ ๕ ความเสื่อมเสียทางใจ การผูกพันทางใจ เหตุแห่งวิวาท ๖ อนุสัย (กิเลส นอนเนืองอยู่ในสันดาน) ๗ มิจฉัตตะ ๘ อาฆาตวัตถุ (วัตถุทำให้อาฆาต) ๙ รากเง้าตัณหา อกุศลกรรมบถ ๑๐ การแสวงหาไม่สมควร ๒๑ ทิฏฐิ ๖๒ ตัณหาวิปริต ๑๐๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละ ทรงตัดขาด ทรงถอนได้

 
  ข้อความที่ 20  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 246

พร้อมด้วยวาสนา โดยที่สมณะ ฯลฯ หรือพรหมไรๆ ไม่สามารถท้วง พระองค์ ด้วยความเป็นธรรมได้ว่า กิเลสเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงละ ไม่ได้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอันตรายิกธรรม อันต่างด้วยกรรมวิบาก กิเลส การกล่าวโทษ การล่วงละเมิดอาชญา ว่าควรเพื่ออันตรายโดยส่วนเดียว โดยที่สมณะ ฯลฯ หรือพรหมไรๆ ไม่สามารถท้วงพระองค์ได้ว่า อันตรายิกธรรมเหล่านั้นไม่ควรเพื่ออันตรายโดยการเสพ. อนึ่ง พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์อย่างเยี่ยม มีอริยมรรคเป็น อันดับแรก มี ๗ ส่วน เป็น ๓๗ ประเภท สงเคราะห์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อความสลัดออกจากวัฏทุกข์โดยไม่เหลือ ธรรมนั้นย่อมนำผู้ปฏิบัติออกจากวัฏ- ทุกข์ โดยส่วนเดียว โดยที่สมณะหรือพราหมณ์ ฯลฯ หรือพรหมไรๆ ไม่สามารถ ท้วงพระองค์ โดยความเป็นธรรมได้ว่า ธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ที่พระองค์ทรงแสดงไม่นำออกจริง ดังนี้. ดังที่มีผู้กล่าวว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงรู้ธรรมเหล่านั้น พระองค์มิได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ จริงดังนี้. พึงทราบ ความพิสดารต่อไป. จตุเวสารัชชญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นไปแล้ว โดยอาการไม่วิปริต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ ของความวิเศษแห่งญาณปหานะ และเทศนาของพระองค์ ชื่อว่า จริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ความจริงแท้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง คติมี ๕ อย่าง คือ นิรยคติ ๑ ติรัจฉานคติ ๑ เปตคติ ๑ มนุษยคติ ๑ เทวคติ ๑. ในคติ ๕ อย่างนั้น คติทั้งหมดนี้ คือ มหานรก ๘ ขุม มีสัญชีวนรกเป็นต้น อุสสทนรก ๑๖ ขุม มีกุกกุลนรก เป็นต้น และ โลกันตนรก ชื่อว่านรก เพราะไม่มีความชื่นใจ มีแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว และ ชื่อว่าคติ เพราะต้องไปด้วยกรรมของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่านิรยคติ.

 
  ข้อความที่ 21  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 247

แม้สีตนรกซึ่งมืดตื้อ ก็รวมอยู่ภายในนรกเหล่านั้น. สัตว์ทั้งหลายมีหนอน แมลง ตั๊กแตน งู นก สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ชื่อติรัจฉาน เพราะเป็น สัตว์ไปขวาง. ชื่อติรัจฉานคติ เพราะไปสู่ความเป็นเดียรัจฉานนั่นเอง. ชื่อว่า เปตะ เพราะเปรตทั้งหลาย มีปรทัตตูปชีวิเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต เป็นต้น มีแต่ความหิวกระหายไป คือ ปราศจากความสุขสบาย มากไปด้วย ความทุกข์. ชื่อว่า เปตคติ เพราะไปสู่ความเป็นเปรตนั่นเอง. แม้พวกอสูร มีกัญชิกาสูรเป็นต้น ก็อยู่ภายในเปรตเหล่านั้น.

ผู้อยู่ในมหาทวีป ๔ มีชมพุทวีปเป็นต้น กับผู้อยู่ในทวีปเล็กๆ ชื่อว่า มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง. ชื่อว่ามนุษยคติ เพราะไปสู่ความเป็นมนุษย์นั่นเอง.

หมู่เทพ ๒๖ เหล่านี้ คือ ตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกา จนถึงเทพ ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนะ ย่อมเพลิดเพลิน คือเล่นกีฬา และรุ่งเรือง ด้วยฤทธานุภาพของตน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทวะ. ชื่อว่า เทวคติ เพราะ ไปสู่ความเป็นเทวดานั่นเอง.

ก็คติเหล่านี้ เพราะความต่างกันของอุบัติภพ อันเกิดด้วยกรรมวัฏฏ์ฏะ (ความหมุนเวียนแห่งกรรม) นั้นๆ ฉะนั้น โดยเนื้อความได้แก่ วิบากขันธ์ และกฏัตตารูป (รูปเกิดแต่กรรม).

ในคตินั้น ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเป็นไปโดยฐานะ โดยเหตุ ด้วยอำนาจเหตุผล การจำแนก และการกำหนดตามความสามารถว่า คติชื่อนี้ ย่อมเกิดด้วยกรรมชื่อนี้. หมู่สัตว์เหล่านี้แตกต่างกัน โดยการจำแนกอย่างนี้ เป็นส่วนหนึ่ง เพราะกรรมนั้นแตกต่างกัน โดยการจำแนกอย่างนี้ ด้วยความ ต่างของปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ปญฺจ โข อิมา สารีปุตฺต ฯเปฯ ตญฺจ ปชานามิ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร คติ ๕ เหล่านี้แล คติ ๕ เป็นไฉน คติ ๕ คือ นรก ๑ กำเนิดเดียรัจฉาน ๑

 
  ข้อความที่ 22  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 248

เปรตวิสัย ๑ มนุษย์ ๑ เทวดา ๑ ดูก่อนสารีบุตร เรารู้นรก เหตุที่สัตว์ไป สู่นรก และทางปฏิบัติให้สัตว์ไปสู่นรก เรารู้ถึงผู้ปฏิบัติตายไปแล้ว จะต้อง เข้าถึงบาย ทุคติ วินิบาต นรกด้วย. ก็ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้ ข้อว่า เป็นญาณจริงแต่แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดพลาดด้วยความ เป็นไปแห่งอาการวิปริตในวิสัยนั้นๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง การประกาศความต่างกัน มีความเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลสน้อย เละธุลีคือกิเลสมากเป็นต้น ด้วยการตรัสรู้ถึงความขาดแคลน แห่งโยคะมีศรัทธา เป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไปแล้วโดยอาการ ๕๐ นั้นเป็นพระปรีชากำหนด รู้ถึงความหย่อนและยิ่งของอินทรีย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. สมดังที่ท่านกล่าว ไว้ว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มี ธุลีคือกิเลสมาก ดังนี้.

พึงทราบความพิสดารต่อไปนี้. อัธยาศัยเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลนี้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ บุคคลนี้ เป็นอุจเฉททิฏฐิ บุคคลนี้ตั้งอยู่ในขันติอันเป็นอนุโลม (ผ่อนผัน) บุคคลนี้ ตั้งอยู่ในยถาภูตญาณ (กำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บุคคลนี้เป็นกามาสยะ (มีอัธยาศัยไปในกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัยไปในเนกขัมมะเป็นต้น บุคคลนี้ เป็นเนกขัมมาสยะ (มีอัธยาศัยมุ่งไปในการออกจากกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัย ไปในกามเป็นต้น และโดยนัยมีอาทิว่า กามราคะของบุคคลนี้จัดมาก แต่ไม่ มีปฏิฆะ (ความคับแค้น) เป็นต้น ปฏิฆะของบุคคลนี้แรงมาก แต่ไม่มีกามราคะ เป็นต้น บุญญาภิสังขาร (สภาพตกแต่งบุญ) ของบุคคลนี้ยิ่ง อปุญญาภิสังขาร (สภาพตกแต่งบาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพตกแต่งความไม่หวั่นไหว) ไม่ยิ่ง

 
  ข้อความที่ 23  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 249

อปุญญาภิสังขาร ของบุคคลนี้ยิ่ง บุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ไม่ยิ่ง อเนญชาภิสังขารของบุคคลนี้ยิ่ง บุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ไม่ยิ่ง กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตของบุคคลนี้ยิ่ง บุคคลนี้น้อมไปในความเลว บุคคลนี้น้อมไปในความประณีต บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณกรรม บุคคลนี้ ประกอบด้วยอาวรณกิเลส บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณวิบาก บุคคลนี้ไม่ ประกอบด้วยอาวรณกรรม บุคคลนี้ไม่ประกอบด้วยอาวรณกิเลส บุคคลนี้ไม่ ประกอบด้วยอาวรณวิบาก นั้น เป็นอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัย และกิเลสอันนอนเนืองอยู่ในสันดาน) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นไปแล้วโดย อาการ ประกาศให้แจ้งตามความเป็นจริง.

พระบาลีมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต สตฺตานํ อาสยํ ชานาติ อนุสยํ ชานาติ จริตํ ชานาติ อธิมุตฺตึ ชานาติ ภพฺพาภพฺเพ สตฺเต ชานาติ ความว่า พระตถาคตในศาสนานี้ ทรงรู้อัธยาศัย ทรงรู้ กิเลสอันนอนเนืองในสันดาน ทรงรู้จริต ทรงรู้อธิมุตติ (ความมุ่งหมาย) ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้ภัพสัตว์ และอภัพสัตว์ทั้งหลาย ท่านกล่าวหมายถึง อาสยานุสยญาณ. ยมกปาฏิหาริยญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีการกระทำ หลายอย่าง และการเนรมิตด้วยฤทธิ์อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ปรากฏเป็นกองไฟ และท่อน้ำ ออกจากพระวรกายเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องหน้า และเบื้องหลัง จากพระเนตรขวาซ้าย จากพระกรรณ พระนาสิก จะงอยพระอังสา พระปรัศว์ พระหัตถ์และพระบาท และจากขุมพระโลมาในระหว่างนิ้วพระหัตถ์ และ พระบาท. พระบาลีมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต ยมกปาฏิหาริยํ กโรติ ฯเปฯอุทกธารา ปวตฺตติ ความว่า พระตถาคตในศาสนานี้ ทรงการทำยมกปาฏิหาริย์ อันไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย กองไฟพลุ่งขึ้นจากพระวรกาย เบื้องบน ท่อน้ำพุ่งจากพระวรกายเบื้องล่าง กองไฟพลุ่งขึ้นจากพระวรกาย

 
  ข้อความที่ 24  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 250

เบื้องล่าง ท่อน้ำพุ่งจากพระวรกายเบื้องบน ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึง ยมกปาฏิหาริย์.

ญาณคือพระมหากรุณาสมาบัติ อันเป็นปัจจัยหยั่งลงสู่พระมหากรุณา ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นไปแล้วโดยนัยต่างๆ ด้วยมีพระประสงค์จะนำ หมู่สัตว์ ซึ่งถูกทุกข์และธรรมมากมายมีราคะและชาติเป็นต้น เบียดเบียนออกไป จากทุกข์และธรรมนั้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่าญาณคือพระมหากรุณาสมาบัติ ของพระตถาคตเป็นไฉน ท่านได้จำแนกไว้โดยอาการ ๘๙ อย่าง โดยนัยมีอาทิ ว่าพระมหากรุณาหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ ทรงเห็นด้วยอาการมาก. พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เป็นไปต่อเนื่อง เพียงทรงหวังเพื่อสามารถให้รู้ถึงธรรมธาตุเพียงใด สังขตธรรม และอสังขตธรรมเป็นต้นเพียงใด ทั้งหมดนั้นโดยอาการทั้งปวง เว้นคำชี้แจง ผู้อื่น ชื่อสัพพัญญุตญาณ เพราะตรัสรู้สังขตธรรมอสังขตธรรมและสมมติสัจ โดยตลอดทุกเมื่อ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ หมายถึงความเป็นไปอันไม่ข้อง เพราะหมดอาวรณ์ในสิ่งนั้น. นี้เป็นสังเขปในเรื่องนี้ ส่วนความพิสดารจักมี ข้างหน้า อสาธารณญาณ ๖ อย่าง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้ ชื่อว่า จริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดพลาดแห่งวิสัย ตามความสามารถ โดยไม่เป็นไปในอาการวิปริต พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะ ทรงรู้ความจริงแท้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ญาณประกาศโพชฌงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นไปแล้วโดย สรุปอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิ- สัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดังนี้ โดย สามัญลักษณะอย่างนี้ว่า ธรรมสามัคคีมีสติเป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ

 
  ข้อความที่ 25  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 251

อันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน การหน่วงเหนียว ประกอบ ความเพียรมุ่งแต่กามสุข และทำคนให้ลำบาก ยึดมั่นความเห็นว่า ขาดสูญ ความเห็นว่าเที่ยงเป็นต้นใด อริยสาวกตื่น คือ ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลส แทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ด้วยธรรมสามัคคีใด ธรรมสามัคคีนั้นท่านเรียกว่า โพธิ (ความตรัสรู้) ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ เป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีอันเป็นเหตุตรัสรู้นั้น อริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรม สามัคคีตามที่กล่าวแล้ว ท่านก็เรียกว่า โพธิ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น องค์แห่งการตรัสรู้นั้น ดังนี้. โดยลักษณะอันวิเศษอย่างนี้ว่า สติสัมโพชฌงค์ มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นลักษณะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการสอดส่องธรรมเป็น ลักษณะ วิริยสัมโพชฌงค์ มีการประคองไว้เป็นลักษณะ ปีติสัมโพชฌงค์ มีการแผ่ไปเป็นลักษณะ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีความสงบเป็นลักษณะ สมาธิ- สัมโพชฌงค์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีการพิจารณา เป็นลักษณะดังนี้ โดยแสดงความเป็นไปในขณะเดียวกัน ด้วยเป็นอุปการะ ของกันและกันแห่งโพชฌงค์ ๗ โดยนัยมีอาทิว่า ในโพชฌงค์เหล่านั้น สติ- สัมโพชฌงค์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติประกอบปัญญารู้รอบตอบ คือ สติอย่างยิ่ง ระลึกถึงตามระลึกถึงแม้สิ่งที่ทำ แม้คำที่พูดไว้นาน แล้วได้ ดังนี้ โดยแสดงวิสัย การทำให้แจ้งและความเป็นไปแห่งโพชฌงค์ เหล่านั้นโดยนัยมีอาทิว่า ในโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน สติมีอยู่ในธรรมทั้งหลายในภายใน สติมีอยู่ในธรรมทั้งหลายในภายนอก ดังนี้ โดยแสดงวิธีเจริญโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยความสงัด อาศัยความปราศจากราคะ อาศัยความ ดับตัณหา น้อมไปในความเสียสละดังนี้ โดยอาการต่างๆ อย่างนี้ โดยจำแนก ออกถึงเก้าหมื่นหกพันนัย มีอาทิว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน สมัยใด ภิกษุใน

 
  ข้อความที่ 26  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 252

ธรรมวินัยนี้เจริญฌาน ฯลฯ สมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน คือ สติ อนุสสติ ดังนี้ ชื่อว่า เป็นญาณจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะกล่าวไม่ผิดความนั้นๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ คือ บรรลุ ญาณอันแท้จริง ด้วยอำนาจแห่งปัญญาวิเศษอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น มีประเภท ไม่มีที่สุดและหาประมาณมิได้ มีสติปัฏฐาน สัมมัปปธานและญาณอันทำให้แจ้ง เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วโดยสรุปอย่างนี้ว่า ในอริยสัจ ๔ นั้น อริยสัจ คือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดังนี้ โดยสามัญลักษณะอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะ ไกลจากกิเลสทั้งปวง เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะได้อริยผล ชื่อว่า อัฏฐังคิกะ (มีองค์ ๘) เพราะอริยะมี ๘ อย่าง อละเพราะเป็นเหตุโดยส่วนเดียว เพื่อบรรลุถึงนิพพาน ชื่อว่า มรรค เพราะทำลายกิเลสให้สิ้นไป ผู้หวังประโยชน์ แสวงหา หรือแสวงหาพระนิพานด้วยตนเอง ดังนี้ โดยลักษณะวิเศษอย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิ มีการเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมียกขึ้นชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจา มีการกำหนดชอบเป็นลักษณะ สัมมากัมมันตะ มีการสร้างสรรค์ ชอบเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะ มีความผ่องใสชอบเป็นลักษณะ สัมมาวายามะ มีการประคองไว้ชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติ มีการตั้งไว้ชอบเป็นลักษณะ สัมมาสมาธิ มีความไม่ฟุ้งซ่านชอบเป็นลักษณะ ดังนี้ โดยการจำแนกหน้าที่ อย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสอันเป็นข้าศึกของตนแม้อื่น กระทำ พระนิพพานให้เป็นอารมณ์ และเห็นสัมปยุตธรรมโดยความไม่ลุ่มหลงด้วยการ กำจัดโมหะอันปกปิดพระนิพพานนั้น แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เหมือนกัน

 
  ข้อความที่ 27  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 253

ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น กระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ และกระทำการยกขึ้นชอบ การกำหนด การสร้างสรรค์ ความผ่องใส การประคอง การตั้งไว้ การตั้งมั่น แห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย ดังนี้ โดยจำแนกความเป็นไปในภาคต้นและภาคหลัง อย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิในภาคต้น มีขณะต่างๆ กัน มีอารมณ์ มีทุกข์เป็นต้น ต่างหากในกาลแห่งมรรค มีขณะอันเดียวกัน กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ โดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง มีอาทิว่า รู้ในทุกข์ดังนี้ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น ในภาคต้นก็มี ขณะต่างๆ กัน มีอารมณ์ต่างๆ กัน ในกาลแห่งมรรคมีขณะ อันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน ในอริยมรรคเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดย กิจย่อมได้ชื่อ ๓ อย่าง มีอาทิว่า ความดำริในการออกจากกาม ดังนี้ อริยมรรค ๓ มี สัมมาวาจาเป็นต้น มีจำแนกเป็นอาทิว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากพูดเท็จ ดังนี้ เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง ในขณะแห่งมรรคเป็นวิรัติ สัมมาวายามะ และสัมมาสติโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจสัมมัปปธานและสติปัฏฐาน แต่สัมมาสมาธิ แม้ในขณะแห่งมรรคก็ต่างๆ ด้วยปฐมฌานเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้ว เหมือน อย่างนั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า การเกิด การตรัสรู้ การประกาศธรรมวินัย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอย่างนั้น. ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า การเกิดเป็นต้นเหล่านั้น อันพระโลกนาถ ปรารถนาแล้วและประพฤติแล้ว ซึ่งประโยชน์ใด เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่ เป็นอย่างอื่นโดยประพฤติประโยชน์ไม่วิปริต เพราะพูดไม่ผิด เพื่อให้ประโยชน์ นั้นสำเร็จโดยส่วนเดียว จริงดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นพระโพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหมด มีการบำเพ็ญสมติงสบารมี

 
  ข้อความที่ 28  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 254

เป็นต้น ดังได้กล่าวแล้วประทับอยู่ ณ ชั้นดุสิตบุรี พวกเทพในหมื่นจักรวาล ได้สดับพุทธโกลาหลจึงประชุมร่วมกันเข้าไปเฝ้ากราบทูลวิงวอนว่า

กาโลโข เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุกุจฺฉิยํ สเทวกํ ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อนตํ ปทํ

ข้าแต่พระมหาวีระ ถึงเวลาแล้วที่ พระองค์จะเสด็จอุบัติ ในพระครรภ์พระมารดา ขอพระองค์ทรงยังเทวดาพร้อมด้วย มนุษย์ให้ข้ามพ้น ตรัสรู้อมตบทเถิด

ดังนี้ บุพนิมิตเกิดแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ทรงดำริว่า บัดนี้ เราจักเกิดในกำเนิดมนุษย์แล้วจักตรัสรู้ดังนี้ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ พระมหามายาเทวีในศากยราชตระกูลในวันเพ็ญเดือน ๘ เหล่าเทวดาและมนุษย์ ต่างพากันดูแลรักษาตลอด ๑๐ เดือน ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่งในวันเพ็ญเดือน ๖ ก็ทรงประสูติ ในขณะประสูติบุพนิมิต ๓๒ ประการ ได้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ เหมือนในขณะถือปฏิสนธิ. โลกธาตุหนึ่งหมื่น สะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว. แสงสว่างหาประมาณมิได้ แผ่ซ่านไปในหมื่นจักรวาล คนตาตาบอดก็ได้เห็น เหมือนประสงค์จะดูสิริอันหาประมาณมิได้. คนหูหนวกก็ได้ยินเสียง คนใบ้ ก็คุยกันได้ คนค่อมก็ตัวตรง คนเปลี้ยก็เดินได้สรรพสัตว์ที่ถูกจองจำ ก็พ้น จากเครื่องจองจำด้วยขื่อคาเป็นต้น ไฟในนรกทั้งหมดดับ ความหิวกระหาย ในเปรตวิสัยสงบ ภัยมิได้มีแก่เดียรัจฉานทั้งหลาย โรคของสรรพสัตว์ สงบ สรรพสัตว์พูดจาน่ารัก ม้าร้องด้วยเสียงไพเราะ ช้างส่งเสียงกระหึม สรรพดุริยางค์บรรเลงเสียงกงวานขึ้นเอง เครื่องประดับมีสวมข้อมือ เป็นต้น ของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ประยุกต์กันเลย ยังเปล่งเสียงออกมาอย่าง

 
  ข้อความที่ 29  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 255

ไพเราะ. ทั่วทุกทิศสว่างไสว ลมพัดเย็นอ่อนๆ ทำให้สัตว์ทั้งหลายเกิด ความสุข. ฝนตกในเวลามิใช่กาล น้ำพุพุ่งจากแผ่นดินไหลไป นกทั้งหลาย ไม่บินไปทางอากาศ. แน่น้ำไม่ไหลเอ่ออยู่กับที่ น้ำในมหาสมุทรมีรสหวาน. เมื่อดวงอาทิตย์ลับไปแล้ว ยังส่องแสงสว่างอยู่ ความสว่างทั้งหมดโชติช่วงใน อากาศ. หมู่เทพทั้งหมดที่เหลือ เว้นอรูปาวจรเทพและสัตว์นรกทั้งหมด ได้ ปรากฏรูปให้เห็น. ต้นไม้ ฝาประตู และหินเป็นต้น ก็กั้นไว้ไม่ได้. สัตว์ ทั้งหลายไม่มีจุติอุปบัติ. กลิ่นทิพย์ฟุ้งตลบอบอวล ขจัดกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนา ทั้งหมด. ต้นไม้มีผลทุกชนิดก็ออกผลสมบูรณ์ มหาสมุทรก็ดาดาษไปด้วย ดอกบัว ๕ ชนิดเต็มไปทั้งหมด บรรดาดอกไม้ทุกชนิด ทั้งที่เกิดบนบกและ เกิดในน้ำก็บานสะพรั่ง. ขันธปทุม (บัวกอ) ก็บานสะพรั่งที่กอ สาขาปทุม (บัวก้าน) ก็บานสะพรั่งที่ก้าน ลดาปทุม (บัวเถา) ก็บานที่เถา ทัณฑ- ปทุม (บัวลำต้น) ก็เจาะพื้นดิน แผ่นหินโผล่ออกมา มีใบตั้งร้อย ฉลุมอยู่เบื้องบนๆ. โอลัมพกปทุม (บัวห้อยย้อย) ก็เกิดบนอากาศ. ฝน ดอกไม้ก็ตกไปโดยรอบ บนอากาศดนตรีทิพย์ก็บรรเลงกระหึม หมื่นโลกธาตุ ทั้งสิ้น มีพวงมาลาอย่างเดียวกัน ดุจช่อมาลาที่ร้อยห้อยไว้ ดุจกำมาลาที่มัด วางไว้ และดุจแท่นมาลาที่ประดับตกแต่งไว้ ได้มีพัดวาลวิชนีคลี่ออก อบ ด้วยกลิ่นดอกไม่และกลิ่นธูป ดูงดงามยิ่งนัก. อนึ่ง บุพนิมิตเหล่านั้นได้เป็น นิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษไม่น้อย ที่พระโพธิสัตว์บรรลุแล้วในเบื้องบน. เพราะปรากฏความอัศจรรย์ไม่น้อยอย่างนี้ การเกิดที่พระโพธิสัตว์นั้นปรารถนา ประโยชน์อันใดไว้ ก็ได้เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพื่อความ สำเร็จอภิสัมโพธิญาณนั้นโดยส่วนเดียว. อนึ่ง พวกพ้องที่ควรแนะนำเพื่อการ ตรัสรู้ ที่ชื่อพุทธเวไนยนั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงแนะนำด้วย พระองค์เองทั้งนั้น โดยไม่มีเหลือเลย มิใช่สาวกแนะนำ สาวกเวไนย และ

 
  ข้อความที่ 30  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 256

ธรรมเวไนย แม้เหล่านั้นอันพระสาวกเป็นต้น แนะนำแล้วก็ย่อมเข้าถึงและ จักเข้าถึงข้อแนะนำ ด้วยประการฉะนี้. การตรัสรู้ยิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรารถนาประโยชน์อันใดไว้ การตรัสรู้ยิ่งเพื่อความสำเร็จประโยชน์นั้นโดย ส่วนเดียว เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง การตรัสรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่ง ซึ่งสภาวะแห่งไญยธรรมที่ควรตรัสรู้ โดยไม่เหลือไม่วิปริต ด้วยพระญาณของ พระองค์อันเกี่ยวเนื่องเพียงนึก ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น ดังนี้ ก็เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง ตรวจดูวิธีที่ควรแสดงอย่างนั้นๆ แห่งธรรมเหล่านั้นๆ และอัธยาศัย กิเลส อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน และความพอใจในความประพฤติของสัตว์เหล่า นั้นๆ ไม่ทรงละความเป็นธรรม ไม่ทรงเร่งรีบให้เป็นไปเพียงโวหาร ทรง ประกาศความเป็นธรรม ทรงพร่ำสอนตามความผิด ตามอัธยาศัย และตาม ความเป็นธรรม ทรงแนะนำแล้ว เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ให้เวไนยสัตว์บรรลุถึง อริยภูมิ. แม้การประกาศธรรมวินัยของพระองค์ เพื่อความสำเร็จประโยชน์นั้น และเพื่อความเป็นไปตามเป็นจริง ก็เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุ อมตมหานิพพานธาตุ อันยังมี เบญจขันธ์อยู่ พ้นจากสภาวะที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป มีผัสสะ เวทนาเป็นต้น ล่วงสภาวะแห่งโลก เพราะไม่มีการแตกทำลาย ไม่มีแสงสว่างด้วยอะไรๆ เพราะไม่มีเกี่ยวข้อง เว้นจากภาวะมีคติเป็นต้น เพราะไม่มีแสงสว่างนั่นเอง ไม่มีที่อาศัย ไม่มีอารมณ์ ท่านเรียกว่า อนุปาทิเสสบ้าง เพราะไม่มีแม้เพียง กิเลสแห่งการยึดถือเป็นต้น อันได้แก่ขันธ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัสว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตนํ ฯเปฯ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

 
  ข้อความที่ 31  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 257

ในอายตนะที่มีอยู่ ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มี โลกหน้า และไม่มีพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวถึงการมา การไป การตั้งอยู่ การจุติ การอุปบัติ การไม่มีที่ อาศัย การไม่เป็นไป การไม่มีอารมณ์นั่นแล นี้แลที่สุดแห่งทุกข์. การดับ อุปาทานขันธ์ทั้งหลายทั้งปวง การสงบสังขารทั้งปวง การสละกิเลสทั้งปวง การสงบทุกข์ทั้งปวง การถอนอาลัยทั้งปวง การตัดขาดวัฏฏะทั้งปวง อมตมหานิพพานธาตุ นั้นมีลักษณะสงบโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า จริงแท้ แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ว่าในกาลไหนๆ เพราะไม่ผิดสภาวะตามที่กล่าว แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อ ตถาคต เพราะเสด็จไป เสด็จเข้าถึง เสด็จถึง ทรงปฏิบัติ คือบรรลุอภิชาติเป็นต้นเหล่านี้ เหมือนอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเหมือนอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเป็นอย่างนั้น คือ อย่างไร. ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในก่อนเป็นอย่างใด แม้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นอย่างนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอย่างใด โดยย่อ คือ ด้วยมรรคศีล ผลศีล โลกิยศีล โลกุตรศีลแม้ทั้งหมด ด้วยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ โลกิยสมาธิ โลกุตรสมาธิแม้ทั้งหมด ด้วยมรรคปัญญา ผลปัญญา โลกิยปัญญา โลกุตรปัญญาแม้ทั้งหมด ด้วยสมาปัตติวิหารธรรมสองล้านสี่แสน ที่ทรง ปฏิบัติตามทุกๆ วัน ด้วยตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิ- ปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ แต่โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นเป็น อยู่ใด ด้วยอานุภาพอันเป็นอจินไตย ไม่มีที่สุดประมาณไม่ได้ ด้วยคุณคือ ที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้น.

 
  ข้อความที่ 32  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 258

อันที่จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง มีความต่างกันด้วย ความต่างกัน ๕ ประการเหล่านี้ คือ ความต่างกันด้วยอายุ ๑ ความต่างกัน ด้วยขนาดพระวรกาย ๑ ความต่างกันด้วยตระกูล ๑ ความต่างกันด้วยการ บำเพ็ญทุกรกิริยา ๑ ความต่างกันด้วยพระรัศมี ๑. แต่ไม่มีความต่างกันไรๆ ในวิสุทธิ มีศีลวิสุทธิเป็นต้น และในคุณที่พระองค์ทรงแทงตลอด ในการปฏิบัติ สมถะและภาวนา. ที่แท้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะเหล่านั้น ไม่ต่างกัน และกันดุจทองคำที่แตกในท่ามกลาง. เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งหลายในก่อนเป็นอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ก็เป็นอย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยประการ ฉะนี้. อนึ่ง คต ศัพท์ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีความว่า วิธะ. แต่ชาวโลก กล่าวคตศัพท์ ประกอบด้วยวิธศัพท์ ลงในอรรถว่า ประการ.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงเป็นไปเหมือน อย่างนั้น เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะมีการ ถึง การไป การดำเนินไป คือความเป็นไปทางกาย วาจา และจิต เหมือน อย่างนั้นตามความชอบใจ เพราะประกอบด้วยอิทธานุภาพอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เพราะได้อนาวรณญาณเพื่อการปฏิบัติบารมีขั้นอุกฤษฏ์ แห่งอัตถปฏิสัมภิทา เป็นต้น และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีการกระทบกระทั่งในที่ไหนๆ ใน ความเป็นไปทางกายเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเป็นไป เหมือนอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ไปจากความจริงแท้เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ่า ชื่อว่า อคตะ เพราะพระองค์ไม่มีการไป. กล่าว คือความเป็นไปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความจริงแท้นั้น ในการสำเร็จโพธิสมภาร. ก็ความไม่ไปของพระองค์นั้นนั้น ไม่วิปริต ในการบำเพ็ญทานเพื่อขจัดความ

 
  ข้อความที่ 33  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 259

ตระหนี่เป็นต้น ด้วยพระญาณอันเป็นไปโดยนัยมีการพิจารณาโทษและอานิสงส์ เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะไม่ไปจากญาณอันจริงแท้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อ อคตะ เพราะไม่มีการไปในคติ ๕ กล่าวคือ ความเป็นไปในการปรุงแต่งกิเลส หรือความเป็นไปแห่งขันธ์. ความ ไม่ไปของพระองค์นั้น เพราะเป็นไปด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน ด้วยอริยมรรคญาณอันจริงแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะไม่ไปจากความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะความที่พระองค์ เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร. ตอบว่า บทว่า ตถาคตภาเวน ได้แก่ เพราะความเป็นจริงของพระตถาคต อธิบายว่า เพราะความมีจริง. ถามว่า ก็ตถาคตนั้นคือใคร พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะมีอะไร. ตอบว่า มีพระสัทธรรม. เพราะสัทธรรมคืออริยมรรค ไปแล้วเหมือนอย่างที่ควรไป ด้วยการละเด็ดขาด โดยถอนฝ่ายของกิเลสไม่ให้เหลือ ด้วยกำลังสมถะและ วิปัสสนาอันแนบแน่น.

ผลธรรมไปแล้ว คือ เป็นไปเหมือนอย่างที่ควรไป ด้วยการละอย่าง สงบ ตามสมควรแก่มรรคของตน ส่วนนิพพานธรรม พระพุทธเจ้าเป็นต้น ทรงรู้คือทำให้แจ้งเหมือนอย่างที่พระองค์ทรงรู้ คือแทงตลอดด้วยปัญญา สำเร็จ ด้วยการสงบทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น ด้วยเหตุนั้น พระธรรมจึงชื่อว่า ตถาคต. แม้ปริยัติธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทรงรู้ ทรงประกาศ ทรงให้ เป็นไปเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าแต่ก่อน ให้เป็นไปแล้วตามสมควร มี อัธยาศัยเป็นต้น ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจสุตตะ เคยยะ เป็นต้น และด้วยอำนาจการประกาศความเป็นไปเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระธรรม จึงชื่อว่า ตถาคต. พระธรรมอันสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า รู้แล้ว

 
  ข้อความที่ 34  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 260

รู้ทั่วถึงแล้ว เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ เพราะเหตุนั้น พระธรรมจึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยประการฉะนี้ แม้พระสัทธรรมทั้งหมด ก็ชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท้าวสักกะจอมเทพตรัสไว้ว่า

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ ธมฺมํ นมสฺสาม สุวติถิ โหตุ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม คือ พระตถาคต อัน เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เถิด ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระสัทธรรมนั้น. อนึ่ง แม้พระอริยสงฆ์ก็เหมือนอย่างพระธรรม. พระสงฆ์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะ บรรลุธรรมนั้นๆ เหมือนอย่างที่ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์ ผู้อื่นมุ่งปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นให้บริสุทธิ์ แล้วพึง บรรลุด้วยมรรคนั้นๆ ฉะนั้น อีกอย่างหนึ่ง พระสงฆ์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ และเพราะบอกได้เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนัย มีปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ฉะนั้น. สมดังที่ท้าวสักกเทวราชตรัสไว้ว่า

ตถาคตํ เทวมนุสฺสปูชิตํ สํฆํ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหติ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ คือ พระตถาคตผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย เถิด ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะมีพระสงฆ์เป็นสาวก. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะความที่พระองค์เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น

 
  ข้อความที่ 35  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 261

ข้อนี้ก็เป็นเพียงพูดกัน ในการแสดงถึงความที่พระตถาคต เสด็จไป เหมือนอย่างนั้นเท่านั้น. แต่โดยแท้จริงแล้ว พระตถาคตเท่านั้นพึงพรรณนา ความที่พระตถาคตเสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. เพราะข้อนี้เป็นบทบาทของพระตถาคต เป็นมหาคติ มหาวิสัยที่ใหญ่หลวง. ไม่ควรพูดว่า พระธรรมกถึก อ้างพุทธพจน์อันเป็นไตรปิฎกเหมือนพุทธพจน์แห่งบทอัปปมาทะโดยเป็นความ ยุติ เป็นพระธรรมกถึกนอกรีตนอกรอย ดังนี้. ในข้อนั้นท่านกล่าวไว้ว่า

ยเถว โลเก ปุริมา มเหสิโน สพฺพญฺญุภาวํ มุนโย อิธาคตา ฯเปฯ

ตถาคโต เตน สมงฺคิภาวโต

พระมุนีทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง ใหญ่แต่ก่อนมาสู่ความเป็นพระสัพพัญญูใน โลกนี้ฉันใด แม้พระศากยมุนีนี้ก็เสด็จมา ฉันนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต.

พระชินะทั้งหลาย ละมลทินมีกาม เป็นต้นโดยไม่เหลือแล้วไปด้วยสมาธิญาณ ฉันใด พระศากยมุนีผู้มีปัญญารุ่งเรือง แต่ก่อนเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต.

พระชินะผู้เป็นศากยะ ผู้เลิศตรัสรู้ ลักษณะมีธาตุ และอายตนะเป็นต้นอย่าง จริงแท้ โดยจำแนกเป็นสภาวะและสามัญ ด้วยพระสยัมภูญาณ เหมือนอย่างนั้นจึง ชื่อว่า ตถาคต.

 
  ข้อความที่ 36  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 262

พระชินะตรัสรู้สัจธรรมทั้งหลาย จริงแท้ด้วยสมันตจักษุ ทำให้แจ้งอิทัปปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นเหตุของสิ่งนี้) ที่แท้ จริงโดยประการทั้งปวง โดยที่ไม่มีผู้อื่น แนะนำ เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นจึง ชื่อว่า ตถาคต.

การเห็นอันแท้จริงของพระชินะ ใน โลกธาตุ แม้มีประเภทไม่น้อยในโคจรธรรมมีรูปายตนะเป็นต้น อันมีประเภท วิจิตร ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต ผู้เห็นโดยรอบ.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม อันแท้จริงเท่านั้น ทรงกระทำสมควรตาม พระดำรัสของพระองค์ ทรงปกครองโลก ให้ประพฤติด้วยคุณทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุ นั้น จึงชื่อว่า ตถาคต ผู้แนะนำโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรู้ด้วยการ กำหนดรู้เหมือนอย่างนั้น อย่างแท้จริงโดย ประการทั้งปวง ทรงก้าวล่วงโลกอันเป็น แดนเกิด ทรงถึงความดับด้วยการกระทำ อันประจักษ์ และทรงถึงอริยมรรค จึง ชื่อว่า ตถาคต.

 
  ข้อความที่ 37  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 263

พระนาถะเพราะเสด็จมาเพื่อประโยชน์แก่โลกด้วยปฏิญญา อันแท้จริง เหมือนอย่างนั้นโดยประการทั้งปวง และ เสด็จไปด้วยพระกรุณา อันแท้จริงในกาล ทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระชินะ จึงชื่อว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พระญาณ อันแท้จริงโดยตรัสรู้วิสัยตามความเป็นจริง เสด็จมาเหมือนอย่างนั้นตั้งแต่เกิด จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะยังประโยชน์ให้ถึงพร้อม.

ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ แต่- ก่อนเหล่านั้นเป็นอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ก็เป็นอย่างนั้น วาจาที่ เปล่งออกมาตามความพอใจ เหมือนอย่าง นั้น เพราะเป็นตัวของตัวเอง จึงชื่อว่า ตถาคต บุคคลผู้เลิศ.

การไปก่อนโดยเป็นข้าศึกแห่ง โพธิ- สมภาร ย่อมไม่มีหรือแม้การท่องเที่ยวไป ในสงสาร ของพระนาถะนั้นก็ไม่มี ทิฏฐิ ของพระนาถะผู้เห็นที่สุดภพ ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่านผู้ไม่ไปจากความจริงแท้ จึงชื่อว่า ตถาคต.

 
  ข้อความที่ 38  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 264

พระตถาคต ผู้ทรงธรรม ทรงละ มลทิน อันผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พึงละ อย่างใด ท่านผู้เป็นอริยะ ผู้แนะนำอย่าง วิเศษ ก็ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะความเป็นผู้มีความพร้อม เพรียง.

อธิบายบทว่า อรหา ในบทว่า อรหนฺตํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ นี้ ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้ว. ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง. ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะตรัสรู้ธรรมที่ควร แนะนำ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยพระองค์เอง โดยไม่วิปริต จากอาการทั้งปวง แห่งธรรมทั้งหมดนั้น. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านแสดงถึงการบรรลุสัพพัญญุตญาณ อันได้แก่ อนาวรณญาณ อันเนื่องด้วยความหวังสามารถให้บรรลุธรรมทั้งปวง โดยอาการทุกอย่าง เว้นการสอนผู้อื่น.

ถามว่า อนาวรญาณอื่นจากสัพพัญญุตญาณมิใช่หรือ คำที่ว่า อสาธารณญาณ ๖ เป็นพุทธญาณโดยประการอื่นก็ผิดน่ะซิ. ตอบว่า ไม่ผิด เพราะความที่ญาณเดียวเท่านั้นท่านกล่าวเป็นสองอย่าง เพื่อแสดงความไม่ทั่วไป ด้วยญาณเหล่าอื่น โดยประเภทอันเป็นไปแห่งวิสัย เพทะว่าญาณนั้นอย่างเดียว เท่านั้น ท่านกล่าวว่า เป็นสัพพัญญุตญาณ เพราะเป็นวิสัยแห่งธรรมที่สมมติ ว่าเป็นสังขตะและอสังขตะโดยไม่เหลือ และท่านกล่าวว่า เป็นอนาวรณญาณ อาศัยความประพฤติที่หมดความข้อง เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น เหมือน อย่างที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาเป็นอาทิว่า ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะ รู้สังขตะและอสังขตะทั้งหมดไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มี เครื่องกั้นในญาณนั้น. เพราะฉะนั้นโดยเนื้อความ ญาณทั้งสองนั้นจึงไม่มีความ

 
  ข้อความที่ 39  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 265

ต่างกัน พึงปรารถนาญาณนี้โดยส่วนเดียวเท่านั้น. ความที่สัพพัญญุตญาณและ อนาวรณญาณ เป็นญาณทั่วไป และไม่เป็นอารมณ์แห่งธรรมทั้งหมด พึงประสบ โดยประการอื่น. จริงอยู่ พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีเครื่องกั้น แม้ เพียงอณูหนึ่ง. อนึ่ง ความที่อนาวรณญาณเป็นโดยประการอื่นจากความไม่เป็น อารมณ์แห่งธรรมทั้งปวง เป็นไปไม่ได้ ความเป็นอนาวรณญาณ เพราะ ความเป็นเองโดยเป็นเครื่องกั้นในญาณก็จะมีไม่ได้.

อีกอย่างหนึ่ง อนาวรณญาณอื่นจากสัพพัญญุตญาณจงยกไว้. แต่ใน ที่นี้ท่านประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณเท่านั้นว่าเป็นอนาวรณญาณ เพราะเป็นไป โดยไม่มีอะไรกระทบในที่ทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ทรงรู้ทุกอย่าง เพราะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณนั้นนั่นเอง ท่านจึงกล่าวว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ. เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่คราวเดียวเท่านั้น. อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า บัญญัติมีวิโมกข์เป็นที่สุดนี้ พร้อมกับการ ได้การทำให้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ ณ โคนโพธิ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ เป็นพุทธะนี้ คือ พุทโธ ดังนี้. จริงอยู่ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง สมารถบรรลุธรรมไม่มีเหลือ ในพระสันดานย่อมมีได้ โดยการบรรลุญาณ อันสามารถให้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง. ในที่นี้ท่านกล่าวว่า ก็ญาณเมื่อเป็นไป ย่อมเป็นไปในวิสัยทั้งหมดคราวเดียวเท่านั้นหรือ หรือว่าเป็นไปตามลำดับ ดังนี้. ก็ในข้อนี้ ผิว่า ญาณเป็นไปในวิสัยทั้งหมดเพียงคราวเดียวเท่านั้น การตรัสรู้โดยจำแนก ดุจของผู้เพ่งจิตแต่ไกล ในการเข้าไปตั้งร่วมกันของ สังขตธรรมทั้งหลาย อันแตกต่างกัน มีอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน และภายนอกเป็นต้น และสมมติธรรมอันเป็นสังขตะ ก็ไม่พึงมีหรือ. ก็ เมื่อเป็นอย่างนั้น ญาณย่อมต้องกันในข้อว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเป็นวิสัย แห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยรูปที่สลายไป ดุจโดยอาการ

 
  ข้อความที่ 40  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 266

เป็นอนัตตาของผู้เห็นว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา ดังนี้. แม้ชนเหล่าใดกล่าวว่า พระญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เว้นการกำหนดอันเป็นวิสัยแห่งลักษณะไญยธรรมทั้งปวงดำรงอยู่ ย่อมเป็นไป ตลอดกาล ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า สพฺพวิทู ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว แม้คำว่า.

จรํ สมาหิโต นาโค ติฏฺนฺโตปิ สมาหิโต ผู้ประเสริฐ เมื่อ เดินไปก็มั่นคง แม้เมื่อยืนอยู่ก็มั่นคง ดังนี้ เป็นคำที่กล่าวถูกแล้ว แม้โทษ ที่กล่าวดังนั้นก็ไม่มีแก่ชนเหล่านั้น. พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเป็น วิสัยเฉพาะเท่านั้น เพราะลักษณะแห่งไญยธรรมที่ดำรงอยู่เป็นอารมณ์ และ เพราะไม่มีสมมติธรรมที่เป็นอดีตและอนาคต เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าพระญาณ ย่อมเป็นไปคราวเดียวเท่านั้นดังนี้ จึงไม่ถูก. แม้ถึงจะกล่าวว่า พระญาณย่อม เป็นไปในวิสัยทั้งปวง ตามลำดับอย่างนี้ก็ไม่ถูก. เพราะว่า เมื่อกำหนดเอา ไญยธรรมที่แตกต่างกันไม่น้อย โดยสภาพชาติและภูมิเป็นต้น และโดยทิศ ถิ่น และกาลเป็นต้น ตามลำดับ การตรัสรู้ไญยธรรมนั้นโดยไม่เหลือ ย่อมเกิดไม่ได้ เพราะไญยธรรมไม่มีสิ้นสุด. ก็ชนเหล่าใดกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น พระสัพพัญญู โดยกำหนดมุ่งหมายว่า กระทำไญยธรรมให้ประจักษ์เป็นเอกเทศ เพราะไม่พลาดประโยชน์ แม่ที่เหลือก็อย่างนั้น ดังนี้ ก็พระญาณนั้นไม่มีการ คาดคะเน เพราะหมดข้อสงสัย จริงอยู่ ญาณที่ยังมีการคาดคะเนในโลก ยังผูกพัน ด้วยความสงสัย ดังนี้ คำพูดของชนเหล่านั้น ไม่ถูก เพราะไม่มีการกำหนดมุ่ง หมายว่า กระทำให้ประจักษ์เป็นเอกเทศแห่งไญยธรรม โดยไม่พลาดประโยชน์ ในเมื่อไญยธรรมทั้งปวงไม่ประจักษ์ แม้ที่เหลือก็เป็นอย่างนั้น ดังนี้. เพราะ ญาณที่เหลือยังไม่ประจักษ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ญาณนั้นประจักษ์ ความที่ ญาณนั้นเหลือก็จะพึงมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ญาณทั้งหมดนั้นจึงไม่เป็นเหตุ.

 
  ข้อความที่ 41  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 267

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ใช่ที่จะต้องวิจาร. สมดังที่พระผู้มี พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พุทฺธวิสโย ภิกฺขเว อจินฺเตยฺโย น จินฺเตตพฺโพ โย จินฺเตยฺย อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยอันเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ผู้ใดคิด ผู้นั้นจะพึงเป็น ผู้มีส่วนแห่งความบ้าคลั่ง. ก็ข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้เป็นดังนี้. ญาณอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะทรงรู้ทั้งสิ้น หรือเอกเทศ พระญาณย่อมเป็นไปโดยประจักษ์ เพราะไม่มีอะไรทำให้ติดขัดในพระญาณนั้น อนึ่ง ความตั้งมั่นเป็นนิจ ก็จะพึงมีไม่ได้ เพราะเป็นไปเกี่ยวเนื่องด้วยความ ปรารถนาของท่าน โดยไม่ใช่วิสัยของญาณทั้งสิ้นอันผู้ปรารถนาจะรู้ เพราะ ไม่มีความฟุ้งซ่าน พึงปรารถนาความหวังนั้นโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เป็นวิสัยในอดีตและอนาคต ก็ เป็นพระญาณประจักษ์ เพราะเว้นจากการยึดถือโดยคาดคะเน และถือโดย การตรึกโดยบาลีว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเนื่องด้วยการพิจารณา เนื่องด้วย ความปรารถนา เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ. ถามว่า โทษของผู้ที่กล่าวว่า ก็ในฝ่ายหนึ่งปรารถนาจะรู้ญาณ ทั้งสิ้น เมื่อใด เมื่อนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นสกลวิสัย คราวเดียวเท่านั้น พึงเป็นไปโดยรูปอันสลายไปดังนี้ จึงไม่มีมิใช่หรือ ตอบว่า เพราะญาณนั้นยังไม่บริสุทธิ์. จริงอยู่ พุทธวิสัยนั้นเป็นอจินไตยบริสุทธิ์ ด้วย ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นอจินไตยแห่งพระญาณ ของพระผู้มี พระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ จะพึงมีไม่ได้ เพราะเป็นไปเสมอกับญาณของชนมาก โดยประการอื่น เพราะฉะนั้น แม้ธรรมทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ ก็กระทำธรรม เหล่านั้นที่ให้กำหนดไว้ดีแล้ว ให้เป็นไป ดุจธรรมนั้น มีธรรมอันเดียวเป็น อารมณ์ เพราะเหตุนั้น พระญาณนี้จึงเป็นอจินไตยในที่นี้.

 
  ข้อความที่ 42  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 268

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ตามสมควรแก่ความปรารถนา ต่างกรรมต่าง วาระกัน หรือตามลำดับ ในที่เดียวกันอย่างนี้ว่า ไญยธรรมมีประมาณเท่าใด ญาณก็มีประมาณเท่านั้น ญาณมีประมาณเท่าใด ไญยธรรมก็มีประมาณเท่านั้น ญาณมีไญยธรรมเป็นที่สุด ไญยธรรมก็มีญาณเป็นที่สุด. นั้นคือสัมมาสัมพุทธะ.

บทว่า เทฺว วิตกฺกา ได้แก่ วิตกชอบ ๒ อย่าง. ในวิตก ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า วิตก เพราะตรึกหรือเป็นเหตุตรึก หรือความตรึก. วิตกนั้น มีการ ปลูกฝังอารมณ์เป็นลักษณะ มีการกระทบกระทั่งเป็นรส มีการนำจิตมาใน อารมณ์เป็นเครื่องปรากฏ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เทฺว วิตกฺกา เพราะ ทำวิตกนั้นให้เป็นสอง โดยประเภทแห่งวิสัย. บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่ ย่อมเป็นไปเนืองๆ เสมอและโดยชอบ. ก็อาการนี้มีความว่า ขอบเขต. บทว่า ตถาคตํ อรหนฺตํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ นี้ โดยประโยคนั้นเป็นทุติยาวิภัตติลง ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. มีอธิบายว่า วิตก ๒ ประการ ของพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ก้าวล่วงขอบเขตกันและกันเอง และโดยชอบใน วิสัยของตนๆ ย่อมเป็นไปเนืองๆ ถามว่า ก็อะไรเป็นวิสัยของวิตกเหล่านั้น หรืออะไรเป็นขอบเขต และวิตกเหล่านั้นไม่ก้าวล่วงขอบเขต แล้วเป็นไป เนืองๆ อย่างไร. ตอบว่า วิตก ๒ อย่างเหล่านี้ คือ เขมวิตก ๑ ปวิเวกวิตก ๑ ชื่อว่าวิตก. ในวิตก ๒ อย่างนั้น เขมวิตกประกอบด้วยกรุณาอย่าง วิเศษของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยังได้ประกอบด้วยเมตตาและมุทิตาอีก เพราะ ฉะนั้น เขมวิตกนั้นพึงทราบว่า เป็นส่วนเบื้องต้น และประกอบด้วยสมาบัติ คือมหากรุณา และสมาบัติมีเมตตาเป็นต้น. ส่วนปวิเวกวิตกเป็นส่วนเบื้องต้น และประกอบด้วยผลสมาบัติ ยังได้รับทิพวิหารธรรมเป็นต้นอีก. วิตกเป็น วิสัยของวิตก ๒ อย่างแม้นั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น ความเป็น

 
  ข้อความที่ 43  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 269

ไปแม้เป็นไปอยู่มากในสันดานหนึ่ง ด้วยการแทรกซึมเข้าไปในขอบเขต ย่อม ไม่มี เพราะเป็นไปในวิสัยร่วมกันตลอดเวลา.

ในวิตก ๒ อย่างนั้น เขมวิตกพึงให้แจ่มแจ้ง ด้วยการหยั่งลงสู่พระกรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปวิเวกวิตกพึงให้แจ่มแจ้งด้วยสมาบัติทั้งหลาย. ต่อไปนี้เป็นความแจ่มแจ้งในเขมวิตกนั้น ควรกล่าวถึงเขมวิตก ด้วยอำนาจ ปฐมฌาน แม้ในสมาบัติในส่วนเบื้องต้น แห่งมหากรุณาสมาบัติ ด้วยการเห็น อาการมีความที่โลกสันนิวาสเป็นของร้อนเป็นต้น ด้วยไฟมีไฟ คือราคะเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า โลกนี้ถูกเผาให้ร้อน มีแต่ทุกข์ ดังนี้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายหยั่งลง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ ผู้ทรงเห็น โดยอาการเป็นอันมากว่า โลกสันนิวาสร้อน โลกสับสนวุ่นวาย เดินทางผิด ถูกชรานำเข้าไปไม่ยั่งยืน ไม่มีที่ต้านทาน. ไม่เป็นอิสระ ไม่เป็น เจ้าของ ละทุกสิ่งทุกอย่างไป พร่อง ไม่อิ่ม เป็นทาสของตัณหา โลกสันนิวาส ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อน ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ มี ลูกศร ถูกลูกศรเป็นอันมากทิ่มแทง ปิดกั้นด้วยความมืดคืออวิชชา ถูกล้อม ด้วยกรง คือกิเลส ตกอยู่ในอวิชชา มืดตื้อ ถูกร้อยรัด ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก ร้อยรัดเป็นกลุ่มก้อน เป็นดุจหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่พ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร.

ทรงเห็นว่า โลกถูกเสียบแทงโดยโทษอันมีพิษคืออวิชชา เป็นโทษ เพราะกิเลส รุงรังยุ่งเหยิงด้วยราคะ โทสะ โมหะ ถูกสวมมัดด้วยตัณหา ถูกตาข่ายคือตัณหาครอบ ถูกกระแสคือตัณหาพัดไป ประกอบด้วยเครื่องผูก คือตัณหา หมกมุ่นด้วยอนุสัยคือตัณหา ร้อนด้วยความร้อนคือตัณหา ถูกความ เร่าร้อนคือตัณหาเผาผลาญ สวมมัดด้วยทิฏฐิ ถูกตาข่าย คือ ทิฏฐิครอบถูก กระแส คือ ทิฏฐิพัดไป ประกอบด้วยเครื่องผูก คือ ทิฏฐิ หมกมุ่นด้วย

 
  ข้อความที่ 44  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 270

อนุสัย คือ ทิฏฐิ ร้อนด้วยความร้อน คือ ทิฏฐิ ถูกความเร่าร้อน คือ ทิฏฐิ เผาผลาญ เข้าถึงชาติ ติดตามด้วยชรา ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด ตกถึงทุกข์ ห่อหุ้มด้วยตัณหา ล้อมด้วยกำแพง คือ ชรา แวดวงด้วยบ่วง คือ มัจจุ มีเครื่องผูกพันมาก ผูกด้วยเครื่องผูก คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต เดินไปในที่คับแคบมาก หมกมุ่นด้วยเครื่องพัวพันมาก ตกลงไปในเหวใหญ่ เดินไปในที่กันดารมาก เดินไปสู่สงสารใหญ่ หมุนกลับ ลงไปในหลุมใหญ่ ตกลงไปในบ่อลึก โลกสันนิวาสถูกกำจัด ร้อนด้วยไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ชุ่มไปด้วย ชาติ ฯลฯ อุปายาส ย่อมลำบาก ไม่มี ที่ต้านทานเป็นนิตย์ ถูกลงอาชญา โจรชุกชุม ผูกพันอยู่ในวัฏฏะ ปรากฏใน ตะแลงแกง ไร้ที่พึ่ง น่าสงสารอย่างยิ่ง ถูกทุกข์ทิ่มแทง ถูกเบียดเบียนตลอด กาลนาน กำหนัดอยู่เป็นนิตย์ กระหายอยู่เป็นนิตย์ บอด มองไม่เห็น ตาเสีย ไม่เป็นผู้นำ แล่นไปนอกลู่ เดินไปผิดทาง ตกลงไปในห้วงใหญ่ หมกมุ่น ด้วยทิฏฐิ ๒ ปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓ ประกอบด้วยโยคะ ๘ ร้อยรัดด้วยเครื่อง ร้อยรัด ๔ ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔ เข้าถึงคติ ๕ กำหนัดด้วยกามคุณ ๕ ถูก นิวรณ์ ๕ ทับ ทะเลาะกันด้วยเหตุวิวาท ๖ กำหนัดด้วยหมู่ตัณหา ๖ หมกมุ่น ด้วยทิฏฐิ ๖ เสาะส่ายไปด้วยอนุสัย ๗ ประกอบด้วยสังโยชน์ ๗ เย่อหยิ่งด้วย มานะ ๗ หมุนไปตามโลกธรรม ๘ นำไปด้วยมิจฉัตตะ ๘ ประทุษร้ายด้วย บุรุษโทษ ๘ ผูกอาฆาตด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ เย่อหยิ่งด้วยมานะ ๙ กำหนัดด้วย ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ เศร้าหมองด้วยกิเลสวัตถุ ๑๐ ผูกอาฆาตด้วยอาฆาต วัตถุ ๑๐ ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประกอบด้วยสังโยชน์ ๑๐ นำไป ด้วยมิจฉัตตะ ๑๐ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ หน่วงเหนี่ยวด้วยธรรมทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา ๑๐๘ หมกมุ่น ด้วยทิฏฐิ ๖๒

 
  ข้อความที่ 45  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 271

ทรงเห็นว่า เราข้ามแล้ว โลกยังไม่ข้าม เราพ้นแล้ว โลกยังไม่พัน เราฝึกแล้ว โลกยังไม่ฝึก เราสงบแล้ว โลกยังไม่สงบ เราปลอดโปร่งแล้ว โลกยังไม่ปลอดโปร่ง เราดับกิเลสแล้ว โลกยังไม่ดับกิเลส เราข้ามแล้ว เพียงพอเพื่อให้โลกข้ามบ้าง เราพ้นแล้ว เพื่อให้โลกพ้นบ้าง เราฝึกแล้ว เพื่อให้โลกฝึกบ้าง เราสงบแล้ว เพื่อให้โลกสงบบ้าง เราปลอดโปร่งแล้ว เพื่อให้โลกปลอดโปร่งบ้าง เราปรินิพพานแล้ว เพื่อให้ผู้อื่นปรินิพพานบ้าง ดังนี้.

ก็การหยั่งลงสู่พระเมตตาในสัตว์ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงให้ แจ่มแจ้ง โดยนัยนี้แล. จริงอยู่ แม้เมตตาน้อมนำความสุข ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ ต่อทุกข์อันเป็นวิสัยแห่งกรุณาเข้าไปในสัตว์ทั้งหลาย ก็ยังเป็นไปได้ เพราะ เหตุนั้น อัพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตก จึงชื่อว่า เขมวิตกในบทนี้. ส่วน ปวิเวกวิตก ได้แก่ เนกขัมมวิตกนั่นเอง. อนึ่ง พึงทราบความเป็นไปด้วย อำนาจการพิจารณาปฐมฌานอันเป็นส่วนเบื้องต้นในทิพวิหารธรรม และอริยวิหารธรรมแห่งปวิเวกวิตกนั้น. ในปวิเวกวิตกนั้น สมาปัตติวิหารธรรมเหล่าใด อันนับได้สองล้านสี่แสนโกฏิ โดยใช้ทุกๆ วันของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระญาณอันเนืองด้วยสมาธิจริยาและญาณจริยาอันเป็นไปแล้วด้วยความประพฤติใน ก่อน และสมาบัติสองล้านสี่แสนโกฏิและปัญญาของสมาปัตติวิหารธรรมเหล่าใด ท่านกล่าวว่าเป็นมหาวชิรญาณ พึงทราบความเป็นไปเนืองๆ แห่งปวิเวกวิตก ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอำนาจแห่งสมาปัตติวิหารธรรมเหล่านั้น. อนึ่ง พึงชี้แจงเนื้อความนี้แม้โดยมหาสัจจกสูตร. ในสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล นั่งสงบจิตในภายใน ในสมาธินิมิต ก่อนนั้น เราอยู่เป็นสุขตลอดกัปเป็นนิตย์.

 
  ข้อความที่ 46  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 272

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระสูตรนี้เพื่อแสดงว่า เมื่อสัจจกนิคัณฐบุตรกล่าวว่า สมณโคดมมีรูปงาม น่าเลื่อมใส ช่องพระทนต์สนิทเป็น ระเบียบ พระชิวหาอ่อน พระสุรเสียงไพเราะ คงจะให้บริษัทพอใจด้วยเหตุ นั้นจึงเที่ยวไป แต่ในใจของสมณโคดมผู้เที่ยวประกาศให้รู้อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี สมาธิ ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ตถาคตมิได้เที่ยวประกาศให้บริษัทพอใจดุจจับโจร ได้พร้อมด้วยของกลางแน่นอน ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัทมีจักรวาลเป็นที่สุด ให้ความเหมาะสม ไม่ซ่อนเร้น ไม่ติด ประกอบผลแห่งผลสมาบัตินั้นนั่นเอง เพราะว่างจากการอยู่ผู้เดียว ดังนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดกาลโดยส่วนเบื้องต้นในขณะที่ บริษัทให้สาธุการหรือครองธรรมแล้วทรงเข้าผลสมาบัติในขณะหายใจเข้าหายใจ ออก อนึ่ง เมื่อหมดเสียงร้องสาธุการมิได้ทรงกำหนด ทรงออกจากสมาบัติ ในที่สุดการครองธรรมแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเริ่มตั้งแต่ตอนที่ทรงพักไว้. จริง อยู่การเข้าสู่ภวังค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเบาบาง. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง เข้าสมาบัติในขณะหายใจเข้า หายใจออก. พึงทราบความเป็นไปเนืองๆ แห่ง เขมวิตกและปวิเวกวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอำนาจสมาบัติตามที่กล่าว แล้วอันเป็นไปกับด้วยส่วนในเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้.

ในความเป็นไปเนืองๆ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีธรรมนั้นเป็น สมังคี และทรงบรรลุธรรมอันเกษมอยู่ เพราะไม่มีภัยแต่ไหนๆ ด้วยอานุภาพ แห่งอัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกอันละความมีพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก เป็นต้น. และแต่นั้น จิตก็มีความเกษมปลอดภัยตลอดกาล. เพราะฉะนั้น เขมวิตก แม้ทั้งสองอย่าง ก็ย่อมกระทำความเกษมแก่ทั้งสองอย่างด้วย. ก็วิเวก ๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑ และวิเวก ๕ อย่าง คือ ตทังควิเวก (สงัดชั่วขณะ) ๑ วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยการข่มไว้) ๑ สมุจ-

 
  ข้อความที่ 47  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 273

เฉทวิเวก (สงัดด้วยการตัดขาด) ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยการสงบระงับ) ๑ นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยการออกไป) ๑ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยอานุภาพ แห่งเนกขัมมวิตกอันละความเศร้าหมองมีกามวิตกเป็นต้น.

วิตกนั้นชื่อ ปวิเวกวิตก เพราะวิตกสหรคตด้วยความสงัดจากอารมณ์ และจากสัมปโยคะ ตามสมควร. ก็วิตก ๒ อย่างเหล่านั้น แม้มีลักษณะที่แยก ออกแล้ว ก็ยังเป็นไปเพื่อความเป็นอุปการะแก่กันและกัน ของผู้เป็นอาทิกรรมิก (ผู้ทำกรรมครั้งแรก).

จริงอยู่ ปวิเวกวิตกย่อมมีเพื่อเขมวิตกอันยังไม่เกิด ที่เกิดแล้วก็เพื่อ ความไพบูลย์ยิ่งขึ้น ฉันใด เขมวิตกก็ฉันนั้น ย่อมมีเพื่อปวิเวกวิตกอันยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็มี เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น. จริงอยู่ เมตตาวิหารธรรม เป็นต้น จะมีไม่ได้ในระหว่างที่กายและจิตหลีกออกไป เพราะเว้นจากการละ พยาบาทเป็นต้น จิตวิเวกเป็นต้นก็ไม่มี เพราะเหตุนั้น พึงเห็นธรรมเหล่านี้ว่ามี อุปการะแก่กันและกัน. ก็เขมวิตกและปวิเวกวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรง ละความเศร้าหมองได้โดยประการทั้งปวง ย่อมนำประโยชน์สุขแม้เพียงขณะ หายใจเข้าเพื่อประโยชน์แก่สัตวโลก. พึงเชื่อมบทว่า เขโม จ วิตกฺโก ปวิเวโก จ วิตกฺโก (เขมวิตก และปวิเวกวิตก) ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวคำเป็นอาทิว่า อพฺยาปชฺฌาราโม มีความไม่พยาบาทเป็นที่มายินดี ดังนี้ เพื่อทรงชี้แจงถึงวิตก ๒ อย่าง ที่ได้ ทรงยกขึ้นมาแสดงไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

การไม่พยาบาท การไม่ทำให้ใครๆ ได้ยาก ซึ่งว่า อัพยาปัชฌะ ในบทว่า อพฺยาปชฺฌาราโม นั้น. ความไม่พยาบาทนั้นชื่อว่า อพฺยาปชฺฌาราโม เพราะมีความไม่พยาบาทเป็นที่มายินดี. ชื่อว่า อพฺยาปชฺฌรโด ได้แก่ ยินดีแล้วในความไม่พยาบาท คือ ไม่ยินดีในการเสวนะ. บทว่า เอเสว

 
  ข้อความที่ 48  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 274

ตัดบทเป็น เอโส เอว. บทว่า อิริยาย คือ ด้วยการกระทำ. อธิบายว่า ด้วยความขวนขวายทางกายและวาจา. บทว่า น กิญฺจิ พฺยาพาเธมิ ได้แก่ เราจะไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ในบรรดาสัตว์ที่เลวเป็นต้น สัตว์ไรๆ ผู้สะดุ้ง เพราะประกอบด้วยความสะดุ้งคือตัณหาเป็นต้น ผู้มั่นคง เพราะละกิเลสทั้งปวง อันทำให้ดิ้นรนได้แล้ว เพราะไม่มีความพยาบาทนั้นให้ลำบาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระกรุณาเป็นอัชฌาสัยมากด้วยมหากรุณาสมาบัติ ตรัสไว้อย่างนี้ สมควรแก่พระกรุณาเป็นอัชฌาสัยที่พระองค์ทรง ปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงถึงอวิหิงสาวิตกและอัพยาบาทวิตก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อนี้ไว้ว่า เราปฏิบัติอย่างนี้ อยู่ด้วยสมาปัตติวิหารธรรมอย่างนี้ รับสักการะ ความเคารพ การนับถือ การไหว้ และการบูชา ที่ผู้ปรารถนาบุญทำอย่างนี้ ด้วยกิริยาท่าทางนี้ คือ ด้วยการปฏิบัตินี้ จึงไม่เบียดเบียนสัตว์ไรๆ. อีกประการหนึ่ง เราเพิ่มพูน ประโยชน์สุขทั้งที่เป็นทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์และ ปรมัตถประโยชน์แก่สัตว์เหล่านั้น ดังนี้. บทว่า ยํ อกุสลํ ตํ ปหีนํ ความ ว่า เราละคือถอนอกุศลหนึ่งพันห้าร้อย และมีประเภทมากมาย สัมปยุตอกุศลนั้นทั้งหมด ณ โคนโพธินั้นเอง. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง สมุจเฉทปหานวิเวก และปฏิปัสสัทธิวิเวก พร้อมกับนิสสรณวิเวกอันเป็นวิเวก ที่พระองค์ยกขึ้น แต่ในข้อนี้ อาจารย์บางพวกยกขึ้นแม้ในตทังควิเวกและวิกขัมภนวิเวก อันที่จริงในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความสิ้นกิเลสของ พระองค์พร้อมด้วยปฏิปทาที่พระองค์ทรงบรรลุ ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระอัธยาศัยในปวิเวกที่พระองค์ สั่งสมมาตลอดกัปอันนับไม่ได้ให้ถึงที่สุด พร้อมกับพระอัธยาศัยในการออกไป แล้วทรงเข้าผลสมาบัติอันมีการออกไปนั้นเป็นอัธยาศัย ทรงทำให้แจ้งด้วย

 
  ข้อความที่ 49  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 275

หัวข้อ คือ การละกิเลสและการพิจารณาของพระองค์ ก็ในข้อนี้พระศาสดาทรง ยกวิตก ๒ อย่างเหล่านี้ เพื่อเนื้อความอันใด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงเนื้อความ อันนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว ดังนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มพระธรรมเทศนานี้ อันว่าด้วยวิตก ๒ อย่างนี้ เพื่อให้ภิกษุ ทั้งหลายตั้งอยู่ในวิตกนั้นด้วยหัวข้อ คือ การแสดงถึงความเป็นไปเนืองๆ ของ พระองค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ได้แก่เพราะเขมวิตกและปวิเวกวิตกเท่า นั้นย่อมเป็นไปเนืองๆ แก่เราผู้ยินดีแล้ว ใน อัพยาปัชฌวิเวก (ความสงัดคือความมิใช่พยาบาท). บทว่า ติห เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อพฺยาปชฺฌารามา วิหรถ ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีด้วยเมตตาวิหารธรรมและกรุณาวิหารธรรมในสัตว์ทั้งปวงอยู่เถิด. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการ กระทำพยาบาทและกิเลส อันตั้งอยู่แห่งเดียวกันกับพยาบาทนั้นให้ไกลแสนไกล. บทว่า โว ในบทว่า เตสํ โว นี้เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ปวิเวการามา วิหรถ ความว่า พวกเธอจงกระทำวิเวก ทั้งหมด คือ วิเวกมีกายวิเวกเป็นต้น และวิเวกมีตทังควิเวกเป็นต้น ให้เป็นที่ ควรมายินดีอยู่เถิด. บทว่า อิมาย มยํ เป็นต้น เป็นบทแสดงถึงอาการเป็น ไปแห่งเขมวิตกของภิกษุเหล่านั้นฉันใด บทว่า กึ อกุสลํ เป็นต้นเป็นบท แสดงอาการเป็นไปแห่งปวิเวกวิตกฉันนั้น. ในบทนั้นมีความว่า อันผู้ใคร่จะ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ควรกระทำการแสวง หากุศลธรรม ฉันใด แม้อันผู้ใคร่จะละธรรมที่มีโทษ ก็ไม่ควรการทำการแสวง หาอกุศล ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กึ อกุสลํ เป็นต้น. จริงอยู่ ปริญญาภาวนา ปหานภาวนาและสัจฉิกิริยาภาวนา เป็นเบื้อง ต้นแห่งอภิญญา.

 
  ข้อความที่ 50  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 276

ในบทเหล่านั้น บทว่า กึ อกุสลํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงถึงวิธีพิจารณาอกุศลโดยกิจว่า อะไรชื่อว่าอกุศล โดยสภาวะ อะไรชื่อว่า เป็นลักษณะ หรืออะไรชื่อว่าเป็นรส เป็นเครื่องปรากฏ และเป็นปทัฏฐานแห่ง อกุศลนั้น. อนึ่ง วิตกนี้มาแล้วโดยอาทิกรรมิกะ (ผู้ทำกรรมครั้งแรก). บททั้ง สองนี้ว่า กึ อปฺปหีนํ กึ ปชหาม มาแล้วโดยพระเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา). เพราะฉะนั้น บทว่า กึ อปฺปหีนํ ได้แก่ ในบรรดาอกุศลทั้งหลายมีกามราคสังโยชน์เป็นต้น อกุศลอะไรที่เราทั้งหลายยังตัดไม่ได้ด้วยมรรค บทว่า กึ ปชหาม ได้แก่เราจะถอนอกุศลอะไร. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กึ ปชหาม ความว่า บัดนี้ เราจะละอกุศลส่วนอะไรในวิตก ปริยุฎฐาน และอนุสัย. แต่ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กิมปฺปหีนํ อกุศลอะไรที่เรายังละไม่ได้. ท่านอธิบาย ว่า บรรดาอกุศลหลายอย่าง เช่นทิฏฐิและสังโยชน์เป็นต้น อกุศลอะไรที่เรา ยังละไม่ได้โดยประการไร หรือโดยมรรคอะไร. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าว แล้วนั้นแล.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า พุทฺธํ ความว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะตรัสรู้ เพราะแทงตลอดธรรมไม่ผิดไปจากอริยสัจ ๔ ด้วยพระ สยัมภูญาณ คือ เพราะไม่มีไญยธรรมนอกจากสัจธรรม. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺยํ อภิญฺาตํ ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิตํ ปหาตพฺพํ ปหีนำ เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ

ดูก่อนพราหมณ์ กิจที่ควรรู้ยิ่งเรา รู้แล้ว กิจที่ควรเจริญเราเจริญแล้ว กิจที่ ควรละเราได้ละแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึง เป็นพุทธะ ดังนี้.

 
  ข้อความที่ 51  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 277

พระพุทธเจ้าชื่อว่า ผู้ข่มมารอันผู้อื่นไม่พึงข่มได้ เพราะอดกลั้น เพราะนำไป ซึ่งพระโพธิสัมภารและพระมหากรุณาคุณทั้งสิ้น อันผู้อื่นข่มไม่ได้ อนึ่ง เพราะอดกลั้น เพราะครอบงำมารทั้งหลาย ๕ อันผู้อื่นข่มไม่ได้ เพราะยาก เพื่อจะอดกลั้น เพื่อจะครอบงำ เพราะอดกลั้น เพราะนำไปซึ่งพุทธกิจอันผู้ อื่นข่มไม่ได้ อันได้แก่การพร่ำสอนด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์ สัมปรายยิกประโยชน์และปรมัตถประโยชน์ แก่เหล่าเวไนยสัตว์ ตามสมควร ด้วยการตรัสรู้ แจ้งมีอาสยะ (อัธยาศัย) อนุสยา (กิเลสอันนอนเนืองอยู่ในสันดาน) จริยาธิมุตติ (ความพอใจในความประพฤติ) เป็นต้น หรือเพราะประกาศสาธุการ ในพุทธกิจนั้น เฉพาะคนอื่นเว้นพระโพธิสัตว์ไม่สามารถ เพื่ออดกลั้น เพื่อ นำไปได้.

บทว่า นํ ในบทว่า สมุทาจรนฺติ นํ เป็นเพียงนิบาตหรือมี ความเท่ากับ นํ ตถาคตํ. พระมุนีชื่อ ตโมนุทะ เพราะบรรเทา คือ ซัด ไปซึ่งอันธการ คือ โมหะ กล่าวคือความมืดในสันดานของตนและผู้อื่น. พระ มุนีชื่อว่า ปารคตะ เพราะถึงฝั่ง คือ นิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปารคตะ เพราะถึงฝั่ง คือ ที่สุดแห่งสังสารทุกข์ทั้งสิ้น อันเป็นอภินิหารใหญ่ซึ่งเป็นไป แล้วโดยนัยมีอาทิว่า มุตฺโต โมเจสฺสามิ เราพ้นแล้วจักให้สัตว์พ้นบ้างดังนี้ หรือแห่งคุณ คือ พระสัพพัญญูทั้งหลาย. พระมุนีนั้นผู้บรรเทาความมืด ผู้ถึง ฝัง. อธิบายว่า พระพุทธเจ้าผู้ถึงคุณอันควรถึงจากการถึงฝั่งนั้นนั่นเอง คือ ถึง คุณทั้งปวงมีศีลเป็นต้นและมีทศพลญาณเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง หลายพึงถึง. บทว่า วสิมํ ความว่า พระมุนีชื่อว่า วสิมา เพราะมีความ เป็นผู้ชำนาญ มีอาวัชชนะเป็นต้นอย่างยิ่ง อันเนื่องด้วยความหวังในฌานเป็น ต้นและความเป็นผู้ชำนาญทางจิตอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ได้แก่ฤทธิ์อันเป็นอริยะ. พระมุนีนั้นผู้มีความชำนาญ. อธิบายว่า ผู้มีอำนาจ. พระมุนีชื่อว่า อนาสวะ

 
  ข้อความที่ 52  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 278

เพราะไม่มีอาสวะมีกามาสวะเป็นต้นทั้งหมด. พระมุนีชื่อว่า วิสันตระ เพราะ ละความไม่เป็นระเบียบมีความไม่เป็นระเบียบทางกายเป็นต้น หรือเพราะข้าม มลทิน คือ กิเลสทั้งปวง กล่าว คือยาพิษ หรือข้ามภัยอันเป็นทุกข์ในวัฏฏะทั้ง สิ้นอันเป็นยาพิษแล้วข้ามไป. พระมุนีนั้นผู้ข้ามวัฏทุกข์อันเป็นยาพิษ. พระ มุนีผู้น้อมไปแล้วในอรหัตตผล และนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา. ชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วยความดีเยี่ยมด้วยญาณ คือ ความเป็นผู้นิ่งหรือด้วยความเป็น ผู้นิ่งทางกายเป็นต้น เพราะไปในอรหัตตผลและนิพพาน.

ก็บทว่า มุนี ความว่า มุนีมีหลายอย่าง คือ อาคาริยมุนี ๑ อนาคาริยมุนี ๑ เสกขมุนี ๑ อเสกขมุนี ๑ ปัจเจกมุนี ๑ มุนิมุนี ๑. ในมุนี เหล่านั้น คฤหัสถ์ผู้บรรลุผล ผู้รู้แจ้งคำสอน ชื่อว่า อาคาริยมุนี. บรรพชิต เช่นเดียวกันนั้น ชื่อว่า อนาคาริยมุนี. พระเสกขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสกขมุนี. พระขีณาสพชื่อว่า อเสกขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ปัจเจกมุนี พระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี. ในที่นี้ประสงค์เอาพระมุนิมุนีนี้.

พระมุนีชื่อว่า อันติมเทหธารี เพราะเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมี ในที่สุด คือสุดท้าย เพราะไม่มีภพใหม่อีกต่อไป. พระมุนีนั้นผู้ทรงไว้ซึ่ง ร่างกาย้อนมีในที่สุด. พระมุนี ชื่อว่า มารชหะ เพราะสละกิเลสมารเป็นต้นได้ โดยชอบ. พระมุนี ชื่อว่า ปารคู เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชราทั้งปวง มีชรา ปรากฏเป็นต้น ด้วยบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน เพราะตัดขาดเหตุแห่งชราเสียได้. ก็ในที่นี้ พึงเห็นว่าท่านกล่าวการถึงฝั่ง แห่งชาติ มรณะ โสกะเป็นต้น ด้วยหัวข้อแห่งชรา. เชื่อมความว่า เรากล่าวว่าวิตก ๒ ประการ ของพระตถาคต ผู้เป็นอย่างนั้นๆ ย่อมเป็นไปเนืองๆ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงวิตก ๒ ประการ ด้วยคาถาที่ ๑ จากนั้นทรงแสดงปวิเวกวิตกด้วย

 
  ข้อความที่ 53  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 279

คาถาที่ ๒ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเขมวิตก จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า เสเล ยถา ดังนี้เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต ได้แก่ เปรียบเหมือนบุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาทึบลูกเดียว สำเร็จด้วยหิน. เมื่อยืนอยู่ บนภูเขานั้น ไม่มีการยกคอตั้ง และเหยียดมือเป็นต้น. บทว่า ตถูปมํ คือ เปรียบด้วยภูเขาหิน อันเทียบกันได้กับผู้มีปัญญานั้น. พึงทราบความสังเขปใน ข้อนี้ ดังต่อไปนี้ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหิน พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบได้ ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญางาม มีพระจักษุรอบคอบ ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม คือ สำเร็จด้วยปัญญา ผู้ปราศจากความโศก ย่อมพิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ถึงหมู่สัตว์ผู้ยัง ข้ามความโศกไม่ได้ ถูกชาติชราครอบงำ. ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ เหมือน อย่างว่า บุรุษกระทำนากว้างใหญ่โดยรอบที่เชิงภูเขา แล้วปลูกกระท่อมใน แนวทุ่งที่นานั้น พึงก่อไฟตอนกลางคืน ปรากฏความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ ที่นั้น เมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาแลดูภูมิประเทศ นาไม่ปรากฏ แนวทุ่งไม่ปรากฏ กระท่อมไม่ปรากฏ คนนอนในที่นั้นไม่ปรากฏ พึงปรากฏ เพียงเปลวไฟที่กระท่อมเท่านั้น ฉันใด เมื่อพระตถาคตขึ้นสู่ปราสาทสำเร็จ ด้วยธรรม ทางตรวจดูหมู่สัตว์ ก็ฉันนั้น สัตว์ที่มิได้ทำความดี แม้นั่งที่ข้างขวา ในวิหารเดียวกัน ก็มิได้มาสู่คลองแห่งพุทธญาณ เป็นดุจลูกศรที่ซัดไปในตอน กลางคืน แต่เวไนยบุคคลผู้ทำความดี แม้ยืนอยู่ในที่ไกล ก็มาสู่คลองของ พระตถาคตนั้น ดุจไฟ ดุจภูเขาหิมพานต์. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโต จ ปพฺพโต อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา

 
  ข้อความที่ 54  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 280

สัตบุรุษ ย่อมปรากฏในที่ไกล ดุจ ภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษย่อมไม่ปรากฏ ในที่นี้ เหมือนลูกศรที่ซัดไปในเวลา กลางคืน ฉะนั้น.

ในสูตรนี้ และในคาถาทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกระทำ พระองค์ดุจผู้อื่น.

จบอรรถกถาวิตักกสูตรที่ ๑